เนื่องด้วยประเทศไทยคือแหล่งเพาะปลูกสมุนไพรจำนวนหลายสายพันธุ์ จึงมีการคัดเลือกเพื่อเฟ้นหาสมุนไพรที่มีสรรพคุณโดดเด่น ให้นำไปสู่การส่งเสริมพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการค้า ตามมาตรการที่ถูกกำหนดไว้ในแผนแม่บทและกำหนด 6 สมุนไพรไทยให้เป็น Product Champion สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยมีการวิจัยรับรองแล้ว ดังนี้
1. ขมิ้นชัน สรรพคุณ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สมานแผล
2. กราวเครือขาว สรรพคุณ บำรุงฮอร์โมนเพศหญิง บำรุงเลือดและสมอง ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งกระจ่างใสกระตุ้นระบบขับถ่าย และช่วยการมองเห็น
3. กระชายดำ สรรพคุณ แก้โรคบิด แก้ปวดท้อง เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ ขับลม
4. ใบบัวบก สรรพคุณ ลดความดันโลหิต ให้พลังงาน บำรุงหัวใจขับปัสสาวะ ช่วยการแข็งตัวของเลือดบรรเทาอาการจากน้ำร้อนลวก และช่วยแก้อาการช้ำใน
5. ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ รักษาอาการหวัด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ เจ็บคอ แก้ท้องเสีย
6. มะขามป้อม สรรพคุณ รักษาอาการท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้ไอขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ อุดมด้วยวิตามินซีสูงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
จากแผนแม่บทการสนับสนุนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสมุนไพรดังกล่าว ภาครัฐได้มีการวางแผนดูแลตั้งแต่กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูก ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มต้นน้ำของอุตสาหกรรม โดยมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูกให้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเช่น แมลงศัตรูพืช ผลิตผลที่น้อยกว่าความต้องการหรือผลผลิตล้นตลาดก็ขายไม่ได้ราคา โดยปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุผลว่าทำไมเกษตรกรจะต้องมีความรู้ ทั้งด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูก รวมถึงความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับพืชที่ต้องการปลูก เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพของตัวสมุนไพร และความแตกต่างในแต่ละภูมิภาคเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณผลผลิตต่างกันพืชแต่ละตัวมีความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกที่ต่างกันออกไป เช่นขมิ้นชันที่ดีต้องปลูกโซนภาคใต้ ผักเชียงดาควรปลูกทางภาคเหนือ เพราะฉะนั้นการจะปลูกพืชให้ได้คุณภาพ เกษตรกรต้องรู้จักพืชที่ตนเองปลูกหรือภูมิภาคที่จะปลูกว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อได้ผลผลิตจากการเพาะปลูกกระบวนการถัดมาคือการส่งต่อไปยังกลุ่มกลางน้ำ ของวงจรอุตสาหกรรมสมุนไพร คือโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งทำหน้าที่แปรรูปสมุนไพรให้กลายเป็นวัตถุดิบซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมนำออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ซึ่งมีทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรแผนโบราณ เครื่องสำอาง โดยทั่วไป ณ ปัจจุบันกลุ่มกลางน้ำมักเป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME ซึ่งภาครัฐมีการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจ การตลาด รวมไปถึงการส่งออกสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้สินค้าไทยเทียบเท่าในระดับสากล และสุดท้ายกลุ่มปลายน้ำ คือผู้บริโภค ซึ่งภาครัฐมีการสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพร อย่างเช่นถ้ามีอาการไข้หวัด ก็สามารถรับประทานฟ้าทะลายโจร ถ้าท้องอืดท้องเฟ้อ ให้รับประทานขมิ้นชัน หรือหากมีอาการเจ็บคอให้จิบยาแก้ไอจากมะขามป้อม กล่าวคือสื่อสารให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสรรพคุณที่โดดเด่นเพื่อให้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการบรรเทา รักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายก่อนตัดสินใจพบแพทย์แผนปัจจุบันหรือใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งมีเคมีเป็นส่วนใหญ่ ตามสโลแกนของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่บอกว่า "เจ็บป่วยคราใด ใช้ยาไทยก่อนไปพบแพทย์"เมื่อผู้บริโภคหันมาใช้สมุนไพรมากขึ้น ก็ถือว่าภาครัฐได้ช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมสมุนไพรเกิดอุปสงค์และอุปทาน(Demand & Supply) ที่สอดคล้องซึ่งกันและกันเมื่อความต้องการซื้อจากกลุ่มปลายน้ำเกิดขึ้นก็จะช่วยกระตุ้นกลุ่มต้นน้ำมาจนถึงกลางน้ำให้มีแรงผลักดันที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพออกสู่ท้องตลาดต่อไป
จะเห็นได้ว่าธุรกิจเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มของสมุนไพรแปรรูป ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกไกล ด้วยกระแสความใส่ใจดูแลสุขภาพของผู้บริโภคที่ยังเชื่อในสรรพคุณ คุณภาพและความปลอดภัยของสมุนไพรไทย สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เล็งเห็นโอกาสจากการลงทุนในธุรกิจเพื่อสุขภาพ นี่ถือเป็นโอกาสทองและไม่ช้าเกินไปที่จะเริ่ม เพียงแค่มีไอเดียและเล็งเห็นประโยชน์ของการวิจัยเพื่อเฟ้นหาสรรพคุณของสมุนไพรที่ต้องการลงทุนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพออกสู่ท้องตลาดก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นก้าวแรกที่มั่นคงให้กับธุรกิจสมุนไพรของท่านอย่างแน่นอน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit