"คนเราเกิดมามีการสั่งสมสันดานจนเป็นคนนั้นๆ เช่น เกิดมาก็มีสันดานของตัวเอง ซึ่งทุกคนล้วนมีสันดานและตายไปกับสันดานนั้น ถือว่าไม่บรรลุธรรม เพราะไม่มีเปลี่ยนแปลงและไม่มีธรรมในใจ"
เฉลิมชัย กล่าวพร้อมอธิบายเสริมว่า แม้จะนั่งสวดมนต์ นั่งหลับตา รู้แต่บทสวด บทท่อง หลับตา แต่ไม่รู้จักคำว่า'ปัญญา' ก็หลุดพ้นทุกข์ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องย่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าพูดให้น้อยที่สุด และปฏิบัติหรือทำแต่สิ่งดี สร้างการเปลี่ยนแปลงให้มากที่สุดแทน การบรรลุธรรม คือ การที่เราต้องรู้การเปลี่ยนแปลงตัวเรา รู้ธรรมชาติในใจ พัฒนาปัญญา กำหนดรู้สติ นั่นคือการมีธรรมในใจมนุษย์เรานั้นมีสันดาน 2 อย่าง ได้แก่ สิ่งที่ดีที่สุดในภพชาติ และสิ่งที่ไม่ดีที่ติดตัวมา แต่จะทำอย่างให้สิ่งที่ไม่ดีหลุดไป เพื่อย่นเวลาไปสู่การนิพพาน เพื่อลบล้างบาปและกิเลสนั้น แต่ทุกคนมีอัตตาจึงมองไม่เห็น และพยายามมองไม่เห็นด้วย จึงต้องฆ่าตัวตนของเราก่อน
โดยจะต้องลืมตาและฆ่า ในการกำจัดความอยากลงไปหรือไม่ตั้งความหวังกับคนอื่นมากเกินไป และการเข้าใจผู้อื่น ผ่านการเข้าใจธรรมชาติของผู้อื่น โดยการ 'ฆ่าตัวเอง' ให้ได้ก่อน ซึ่งตนใช้ชีวิตตามความเป็นจริงในทุกภาวะ ก็จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการนั่งสมาธิแล้วชนะ แต่เรานั่งสมาธิจะหาทางชนะได้ยาก ยกเว้นนักบวช ตนจึงเลือกลืมตาแล้วชนะแทน ในการตรวจสอบและจัดการตัวเอง
นอกจากนี้เราต้องรู้จักจัดการตัวเองในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาธรรมะของตัวเองให้สูงขึ้น เช่น นอนหัวค่ำ อย่างน้อยๆสุขภาพจะดีขึ้น ร่างกายของเราจะได้พักผ่อน ส่วนตัวตื่นตอนตี 2 แล้วรู้สึกสดชื่น แล้วมานั่งสมาธิ เมื่อลืมตาเจอโลก จึงหลับตาเพื่อเจอธรรม เกิดความสงบให้ใจ ก่อนจะไปอาบน้ำแล้วทำงาน ตั้งแต่ตี 3 ถึง ตี 5 ครึ่ง แล้วไปออกกำลังกายเพื่อยิงธนู เพราะการยิงธนูเป็นธรรมะ ผ่านจิตและการบริหารร่างกายผ่านกล้ามเนื้อแขน เป็นวิธีการที่ตนชอบที่สุด ได้สมาธิผ่านการยิงธนู และต้อนรับมิตรสหายตอน 6 โมงเช้า ความสุขจึงมาจากใจเป็นสุข อยู่กับความโล่งและเข้าใจโลก
อย่างไรก็ตาม ความตายเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ ความตายเป็นความงดงาม คนเรียนธรรมะต้องรู้จักความตาย แบบที่ท่านพุทธทาสภิกขุพูด จงตายซะก่อนที่จะตาย จงตายให้เรียบร้อยก่อนความตายจริงจะมา เราต้องชนะมันให้ได้ และวิปัสสนาของตนคือ การวิเคราะห์และจัดการความคิดของตัวเอง ข้อคิดธรรมะง่ายๆ ของศิลปินแห่งชาติ ที่ได้ให้ไว้ในเวทีเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ สำหรับผู้ที่สนใจข้อคิดดีๆ แบบนี้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.cpall.co.th
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit