ทั้งนี้ การแข่งขัน CIMB 3D Conquest เป็นการแข่งรูปแบบทีม (3 ถึง 4 คนต่อทีม) การแข่งขันระดับประเทศจะจัดขึ้นในเดือนพ.ย.61 และรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคที่มาเลเซียในเดือนม.ค.62 ชิงเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 120,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 3.9 ล้านบาท นอกจากนี้ ทีมผู้ชนะจะได้เดินทางไปท่องเที่ยวดูงานที่ซิลิคอนวัลเลย์ และได้รับโอกาสร่วมงานกับซีไอเอ็มอีหลังจบการศึกษา ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าแข่งขันได้ที่ https://3dconquest.cimb.com เปิดรับสมัครวันนี้ – 14 ต.ค. 61
"CIMB เป็นกลุ่มการเงินระดับภูมิภาค เราสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของภูมิภาคมาโดยตลอด การแข่งขันนี้จะเป็นหนึ่งในหลายๆโครงการที่เราทำ และในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ได้รับประโยชน์คือลูกค้า เรามองว่าในอนาคตอันใกล้ลูกค้าจะมีส่วนในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เข้ากับความต้องการแต่ละคน ผ่านเครื่องมือของการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI การเติบโตของซีไอเอ็มบีจะอยู่บนทฤษฎีของผู้คน ลูกค้าและความยั่งยืน พร้อมกับมีดิจิตอลทั้ง 3 แกน เราเชื่อว่าการแข่งขันนี้ และการมี CIMB's 3D Academy ควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล มูลค่ารวมกัน 111 ล้านริงกิต จะถูกใช้จ่ายเพื่อติดปีกทักษะดิจิตอลให้พนักงาน กลุ่มซีไอเอ็มบีจะเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลมาเป็นลำดับแรก" ดาโต๊ะ ฮามิดะห์ นาไซอะดิน กล่าว
น.ส.สราญรัตน์ ศรีจิรารัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารดิจิตอลและบริหารจัดการข้อมูลเชิงธุรกิจ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผู้เข้าแข่งขันทุกคนและทุกทีม มีสิทธิ์เลือกแข่งขันได้เพียงสนามแข่งเดียวจากสามสนามที่กำหนดให้ โดยสนามแข่ง Data Science จะมอบโจทย์ปัญหาให้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกแก้ แล้วนำเสนอโซลูชั่นทางธุรกิจ ทดสอบไหวพริบและความรู้ของทีมผู้เข้าแข่งขันในด้าน Data Preparation และ Data Mining
สนามแข่ง FinTech จะมองหาไอเดียนวัตกรรมดิจิตอล ที่จะมาช่วยพัฒนาศักยภาพในการบริการลูกค้าให้วงการธนาคาร ขณะที่สนามแข่ง Coding คือสนามที่เฟ้นหาโปรแกรมเมอร์ระดับท้อป ผู้ที่สามารถเขียนแอปพลิเคชั่นที่ทั้งตอบโจทย์ด้านธุรกิจและอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามีประสบการณ์การธนาคารอันไร้รอยต่อไปพร้อม ๆ กัน ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับโจทย์ปัญหาบนธีม 'แอพพลิเคชั่นดิจิตอลกับการจ่ายเงิน' โดยโจทย์จะให้ผู้เข้าแข่งขันคิดหาไอเดียเพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นต้นแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้
"การเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากห้องเรียนกับธุรกิจธนาคาร โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องตีโจทย์ให้แตก และเสนอไอเดียที่สามารถปฏิบัติได้จริงตามกรอบกติกาของเรา ได้เรียนรู้การทำงานแบบทีมเวิร์ค ใช้ทักษะและพรสวรรค์ที่มี ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้วงการธนาคาร ให้มีความแตกต่าง นอกจากนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะมีโอกาสเข้าเวิร์คชอปออนไลน์ เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ จากผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันอีกด้วย"น.ส.สราญรัตน์ กล่าว
การแข่งขัน CIMB 3D Conquest ในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (NIA-National Innovation Agency) และผู้สนับสนุนระดับภูมิภาคได้แก่ สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ กระทรวงศึกษาประเทศมาเลเซีย Malaysia Digital Economy Corporation (MDEC), Big Community Amazon Web Services, Cloudera, Fusionex, Oracle และ SAS Malaysia.
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit