พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังจากเป็นประธานพิธีมอบรางวัลดังกล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทักษะฝีมือแรงงาน โดยสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพนักงานของตนเองให้มีทักษะฝีมือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ดำเนิน "โครงการสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน" เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบกิจการที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาพนักงานของตนเอง ส่งเสริมให้นายจ้างตระหนักถึงการมีพนักงานที่มีฝีมือมีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงได้ และพนักงานที่ได้รับการยกระดับมาตรฐานฝีมือสามารถเพิ่มรายได้ อีกทั้งมีความก้าวหน้าด้านอาชีพด้วย
ตามที่คณะอนุกรรมการคัดเลือกสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี พ.ศ. 2561 กำหนดสถานประกอบกิจการที่ได้รับโล่และใบเกียรติบัตรในครั้งนี้มีคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการพัฒนากำลังแรงงานครบทั้ง 5 ด้าน หรืออย่างน้อยดำเนินการครบ 3 ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป มีการพัฒนาฝีมือแรงงานครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี (พ.ศ. 2558 – 2560) ด้านที่ 2 กรณีสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 100 คน มีการพัฒนาฝีมือแรงงานครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี (พ.ศ. 2559 – 2560) ด้านที่ 3 เป็นสถานประกอบกิจการที่รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถานศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงานตามหลักสูตรที่ขอรับรอง โดยจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการ ในรอบปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560) ด้านที่ 4 เป็นสถานประกอบกิจการที่จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของตนหรือนำมาตรฐานของกพร. ไปจัดทำเป็นมาตรฐานของสถานประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่า 1 สาขาในรอบปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560) พร้อมกับนำมาตรฐานฝีมือแรงงานที่จัดทำขึ้นไปกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมและมีการนำหลักสูตรนี้ไปจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงาน และด้านที่ 5 เป็นสถานประกอบกิจการที่มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อรองรับ Thailand 4.0 ของรัฐบาล ในรอบปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560) หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานจัดทำสมรรถนะของตำแหน่งงาน (Competency)
"สำหรับในปีนี้ (2561) มีสถานประกอบกิจการดีเด่นได้รับโล่และใบเกียรติบัตร จำนวน 59 แห่ง เป็นสถานประกอบกิจการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 18 แห่ง และภูมิภาคจำนวน 41 แห่ง การดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการส่งเสริมขีดความสามารถตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบกิจการอื่นๆ ได้มีการพัฒนาทักษะฝีมือของพนักงานด้วย" รมว.แรงงาน กล่าว
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit