บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ คาดวิกฤตค่าเงินตลาดใหม่ยืดเยื้อถึงปลายก.ย. ระบุอินเดีย-อินโดนีเซียยังเสี่ยง ส่วนไทยเศรษฐกิจแกร่งเงินไหลเข้าเงินบาทแข็งในกรอบ32.20-33.50

14 Sep 2018
บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ มองวิกฤตค่าเงินตลาดใหม่ไม่รุนแรงเท่าวิกฤตหนี้สินยุโรปช่วงปี 2553-2555 มีแนวโน้มลุกลามถึงปลายเดือนกันยายน ชี้อินเดีย-อินโดนีเซียมีความเสี่ยง ส่วนจีนส่งออกกระทบไปอีก 2-3 ไตรมาส แต่มั่นใจรัฐบาลจีนยังพยุงเงินหยวนไม่ให้หลุด 7 หยวนต่อดอลลาร์เพื่อป้องกันการลุมลามบานปลาย ส่วนไทยความเสี่ยงต่ำทุนสำรองแข็งแกร่งเป็นอันดับ 13 พื้นฐานเศรษฐกิจดีส่งผลเงินไหลเข้าต่อเนื่อง ล่าสุดพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ผลตอบแทน 2.76% ดึงดูดใจนักลงทุนใกล้เคียงผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ คาดปีนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ คาดวิกฤตค่าเงินตลาดใหม่ยืดเยื้อถึงปลายก.ย. ระบุอินเดีย-อินโดนีเซียยังเสี่ยง ส่วนไทยเศรษฐกิจแกร่งเงินไหลเข้าเงินบาทแข็งในกรอบ32.20-33.50

นายจิมมี่ ซู หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของ บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศนิวซีแลนด์) เปิดเผยบทวิเคราะห์สาเหตุเบื้องหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลให้ค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ต่างร่วงลงทั่วโลกกว่า 13% ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้นและเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดที่พัฒนาแล้ว การเสื่อมค่าของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่รอบนี้เริ่มเมื่อค่าเงินลีราของตุรกีร่วงลงเมื่อเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตามตุรกีไม่ใช่ตลาดเกิดใหม่เจ้าเดียวที่ประสบกับแรงกดจากภาวะเสื่อมค่าของเงินนี้ ตลาดเกิดใหม่อื่นๆในโลกก็กำลังจะพบกับปัญหาเดียวกัน ที่เป็นไปได้มีสองประเทศซึ่งจะเจอกับแรงกดดันในตอนนี้ คืออินโดนีเซียและอินเดีย และคาดว่าวิกฤตครั้งนี้จะยังเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนกันยายนนี้

โดยวิกฤตค่าเงินในครั้งนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและแนวโน้มการเติบโตการส่งออกของจีนให้มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 2-3 ไตรมาสถัดไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในระดับปานกลางท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ซึ่งรัฐบาลจีนกำลังดำเนินการมาตรการต่างๆเพื่อลดความอ่อนแอของค่าเงินหยวน โดยการกำหนดความต้องการสำรองในการซื้อขายล่วงหน้า หนึ่งในเหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังคือการป้องกันไม่ให้สกุลเงินหยวนร่วงลงจาก 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ หากค่าเงินหยวนต่อดอลล่าร์สหรัฐร่วงลงถึงระดับสำคัญที่ 7 หยวนต่อดอลล่าร์ จะเป็นการสร้างแรงกดดันอย่างมหาศาลให้กับค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ที่เหลืออย่างแพร่กระจายรวมไปถึงตลาดหุ้น

อย่างไรก็ตามมองว่าวิกฤตค่าเงินครั้งนี้จะไม่เกิดเป็นวงกว้าง เนื่องจากความรุนแรงยังน้อยกว่าสมัยวิกฤติหนี้สินของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2553 -2555 การเทขายสินทรัพย์บางประเภทของตลาดเกิดใหม่เกิดจากปัจจัยไม่กี่อย่าง นั่นคือความพยายามที่จะทำให้นโยบายการเงินของสหรัฐฯเป็นไปตามปกติหลังจากกว่าทศวรรษที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพิเศษซึ่งส่งผลต่อประเทศอื่น ๆ อีกมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมถึงหนี้ต่างประเทศประการที่สองแม้ว่านโยบายแบบกระชับซึ่งเป็นที่ถูกใจของหลายๆกลุ่มทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแต่ก็สร้างความลำบากทำให้ประเทศอื่นๆเช่นอาร์เจนตินาในการขายหรือกู้ยืมเป็นสกุลเงินดอลลาร์ได้ยากขึ้น

สำหรับวิธีการแก้ปัญญาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยอย่างเช่นที่หลายประเทศกำลังทำอยู่นั้น ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนักแต่จากทางเลือกที่เหลือไม่มากเพราะประเทศตลาดเกิดใหม่เพียงไม่กี่ประเทศที่ถือทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ดังนั้นหากไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเทขาย ระบบการเงินของพวกเขาจะอ่อนแอลง แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อและลดความกดดันด้านการเสื่อมค่าของสกุลเงินทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเศรษฐกิจอยู่หลายอย่าง หากธนาคารกลางออกนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ไหว อีกทางเลือกหนึ่งคือสร้างความแข็งแกร่งให้กับการจัดการเงินทุนระหว่างประเทศ (cross-broader capital management) แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีต่อประเทศนักเนื่องจากมันจะไปลดบทบาทการทำงานของระบบตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพและบิดเบือนการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ต่างๆในประเทศของตนเอง

อย่างไรก็ตามในส่วนของผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินที่มีต่อประเทศไทยนั้นถือว่าไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีงบเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ในตอนนี้ค่าเงินบาทเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดในกลุ่มเพื่อนบ้านในภูมิภาคเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งค่าของไทยและการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลจำนวนมากช่วยปกป้องสกุลเงินบาทจากความวุ่นวายที่เลวร้ายที่สุดของตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้พบว่าวิกฤตินี้ทำให้กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์ของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างดี ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปี ของไทยอยู่ที่ 2.76% ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าของสหรัฐที่ 2.87% ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยวิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2558 ผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงนั่นหมายความว่ามีการซื้อพันธบัตรของไทยมากขึ้น อีกทั้งรายงาน GDP ไตรมาส 2/2561 ที่แข็งแกร่งน่าจะเพียงพอที่จะโน้มน้าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการกระชับนโยบาย การเติบโตที่แข็งแกร่งและการส่งออกที่แข็งแกร่งส่งผลให้สินทรัพย์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจโดยรวมของไทยนั้นยังมีการฟื้นตัวจากแรงหนุนจากความได้เปรียบทางด้านการค้าและการท่องเที่ยว ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนเป็นเหมือนการคุกคามห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค แต่ก็อาจทำให้บางบริษัทเปลี่ยนฐานการผลิตไปยังที่อื่นๆ เช่นมาที่ไทยซึ่งอาจทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ประเทศได้มากอีกทางหนึ่ง อีกทั้งวิกฤตครั้งนี้ยังทำให้ไทยมีโอกาสจัดส่งสินค้าไปจีนมากขึ้นหลังจากจีนได้เรียกเก็บภาษีศุลกากรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเกษตรของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดีในส่วนของทิศทางค่าเงินบาทนั้น สภาพการเติบโตของค่าเงินบาทไทยตอนนี้เปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่ให้ความปลอดภัยในช่วงการเทขายของตลาดเกิดใหม่ นั่นหมายความว่าค่าเงินบาทของไทยจะยังคงมีเสถียรภาพแบบนี้ไปจนถึงสิ้นปี ณ.ตอนนี้แนวรับของค่าเงินบาท จะยืนพื้นที่ 32.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐและแนวต้านจะอยู่ที่ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ คาดวิกฤตค่าเงินตลาดใหม่ยืดเยื้อถึงปลายก.ย. ระบุอินเดีย-อินโดนีเซียยังเสี่ยง ส่วนไทยเศรษฐกิจแกร่งเงินไหลเข้าเงินบาทแข็งในกรอบ32.20-33.50