ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร โดย นายแอนโธนี บอร์น ประธาน บริษัท ไอเอฟเอส อินดัสทรีส์

27 Sep 2018
ธุรกิจต่างๆ มักจะพูดอยู่บ่อยครั้งว่า พวกเขาจะล้มละลาย ถ้าหากไม่เปลี่ยนไปเป็นดิจิทัลอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับบรรดาผู้ผลิตแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้าหากต้องหยุดการผลิตแม้จะเพียงแค่วันเดียว ก็อาจเกิดความเสียหายที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียรายได้หลายล้าน
ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร โดย นายแอนโธนี บอร์น ประธาน บริษัท ไอเอฟเอส อินดัสทรีส์

จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดวางรูปแบบของที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น โรงงานอัจฉริยะได้รับการยกย่องว่า เป็นวิธีที่เหล่าผู้ผลิตจะสามารถประสบความสำเร็จในการมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยในโรงงานเหล่านี้ หุ่นยนต์ และเครื่องจักร จะรับข้อมูลที่ถ่ายทอดตามเวลาจริงจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเอาไว้ เพื่อเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความต้องการใหม่ พร้อมบริหารจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดแบบอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม สำหรับหลายคนแล้ว โรงงานอัจฉริยะยังเป็นดินแดนในฝันที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของแคปเจมิไน แสดงให้เห็นว่า 76% ของผู้ผลิตกำลังริเริ่มโรงงานอัจฉริยะ หรือกำลังทำงานเพื่อมุ่งตรงสู่ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง มีเพียง 14% เท่านั้นที่มีความพึงพอใจอย่างแท้จริงกับระดับความสำเร็จของพวกเขา

กระนั้นก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตไม่ควรรู้สึกว่าถูกครอบงำจนเกินไป และกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องโรงงานอัจฉริยะนี้ ก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงมากเกินไป เร็วเกินไป หรือลงมือทำโดยไม่ได้รับคำปรึกษาอย่างเหมาะสมเสียก่อน สำหรับเรื่องที่ผู้ผลิตทุกรายจำเป็นที่จะต้องพิจารณาหากต้องการเปิดตัวโรงงานอัจฉริยะ สามารถติดตามได้ตามข้างล่างนี้ หรือผ่านทางคอมพิวเตอร์วีคลีที่ตีพิมพ์บทความนี้เป็นครั้งแรก

1.การเข้าถึงครั้งแรกของธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้จัดการโครงการ และผู้อำนวย ที่ต้องการจะเริ่มต้นทำโรงงานอัจฉริยะ ไม่ควรบอกลูกค้า หรือคณะกรรมการบริหารบริษัทว่า พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล แต่การประสบผลทางธุรกิจที่ดีกว่าเดิมในอนาคต จะเป็นการพิสูจน์ถึงการคงอยู่ของธุรกิจ และการได้รับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากโรงงานผลิตและระบบนิเวศโดยรวม สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ในโรงงานอัจฉริยะควรสร้างการเชื่อมต่อระบบไอที/โอทีในวงกว้าง และนำทุกอย่างมารวมไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์

โรงงานอัจฉริยะจะช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งด้วยข้อมูลเหล่านี้ พวกเขาสามารถ

  • ระบุและแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพ
  • เรียนรู้และปรับเข้ากับความต้องการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

-คาดการณ์ถึงความไร้ประสิทธิผลในการดำเนินงาน หรือความผันผวนในการจัดหาและความต้องการที่เกิดขึ้น

  • ตอบสนองต่อความต้องการได้ทันเวลา

2. เชื่อมต่อเทคโนโลยีทางกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน

ผู้ผลิตบางรายมีระบบจักรกลที่ใช้มานานกว่า 50 ปี ซึ่งการที่เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ระบบกระบวนการทำงานโดยอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Processing Automation: RPA) นำเสนอโอกาสที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ผลิตจะต้องเปลี่ยนเครื่องจักรที่ล้าสมัยในทันทีที่ทำได้ ไม่ใช่เพียงแค่การปรับปรุงเครื่องจักรเท่านั้น

เทคโนโลยีหนึ่งที่จำเป็นสำหรับโรงงานอัจฉริยะทุกแห่งและอยู่กึ่งกลางระหว่างโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและดิจิทัล ก็คือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) โดยประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม (IIoT) ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย ซึ่งอุปกรณ์ IoT จะรับข้อมูลมาจากเซ็นเซอร์ที่อยู่นอกโรงงานผลิตและจากเครื่องจักรในโรงงาน แต่ที่สำคัญก็คือ แนวทางนี้ยังช่วยธุรกิจขยายการดำเนินงานและนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่บริการภิวัฒน์จะขึ้นอยู่กับตัวเรา และบรรดาผู้ผลิตที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มบริการให้กับผลิตภัณฑ์ตัวเอง เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ได้มากขึ้นจากความช่วยเหลือของโซลูชัน IoT ก็มีสิทธิ์ที่จะพลาดโอกาสทางธุรกิจที่มีค่าหรืออาจแย่กว่านั้นก็เป็นได้

3. มุ่งเน้นในเรื่องผู้คนและการสร้างพันธมิตร

โฉมหน้าภายในโรงงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึงในช่วงไม่กี่ปีที่จะถึงนี้ หุ่นยนต์จะทำงานอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง 7 วัน ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีหน้าต่างและมีแสงน้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไป ก็คือคนจะยังเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของผู้ผลิต

การปรับทักษะใหม่และเพิ่มทักษะให้กับลูกจ้างถือเป็นการเปิดวิสัยทัศน์พวกเขาให้เห็นถึงศิลปะของความเป็นไปได้ และทำให้พวกเขาอยู่รอดบนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปรับเป้าหมายในสถานที่ทำงาน แม้จะเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบที่จำเป็นต้องทำ

4. เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยๆ ปรับขยาย การลงทุนด้านโรงงานอัจฉริยะจำเป็นต้องแย่งย่อยการทำงานให้มีขนาดเล็กลง โดยคำนึงถึงโอกาสในลักษณะที่จำเพาะเจาะจงเป็นอย่างแรก จะเห็นได้ว่ามูลค่าและการเติบโตนั้นสามารถสร้างขึ้นมาได้จากการปรับขนาดสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว รวมถึงดำเนินการทดสอบกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีที่อยู่รายล้อมอย่างละเอียด ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ทดสอบที่น่าทึ่งและพร้อมให้บริการอยู่ทั่วโลก (อย่างเช่น "แคตาปุลท์" ในสหราชอาณาจักร) ที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทดสอบแนวคิดนี้ได้อย่างปลอดภัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่บริหารจัดการได้

อำนาจที่แท้จริงของโรงงานอัจฉริยะ คือความสามารถในการปรับตัวและเติบโตไปพร้อมกับความต้องการที่ปรับเปลี่ยนไปขององค์กร ผู้ผลิตจำเป็นต้องก้าวไปทีละขั้นเพื่อเดินหน้าสู่อนาคตและต้องตระหนักว่า มีความเชี่ยวชาญที่ถูกต้องเหมาะสมรออยู่ข้างนอกเพื่อช่วยเหลือพวกเขาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้จากการปรับใช้แนวทางโรงงานอัจฉริยะที่มีความเข้ากันได้ดีกับระบบปัจจุบัน ทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ และมีความยืดหยุ่นสูง นี่เป็นเรื่องที่คุณเห็นด้วยใช่ไหม

ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติม ที่ไอเอฟเอสได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ที่https://www.ifsworld.com/corp/industries/industrial-manufacturing/

# # #

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส (IFS) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.comติดตามเราทาง Twitter: @ifsworldเยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/

ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร โดย นายแอนโธนี บอร์น ประธาน บริษัท ไอเอฟเอส อินดัสทรีส์ ยุคของโรงงานอัจฉริยะ: เหล่าผู้ผลิตจะมุ่งสู่อนาคตให้เร็วขึ้นได้อย่างไร โดย นายแอนโธนี บอร์น ประธาน บริษัท ไอเอฟเอส อินดัสทรีส์
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit