ภาพข่าว: สยามไฟเบอร์กลาส นำฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ขึ้นรับรางวัลฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ตอกย้ำศักยภาพมาตรฐาน ฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดของคนไทย

28 Sep 2018
นายสลิล กันตนฤมิตรกุล ผู้จัดการส่วนการตลาด บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Cement-Building Materials) ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ฉนวนประเภทใยแก้ว ทั้งฉนวน กันความร้อนเอสซีจี สเตย์ คูล (STAY COOL) แผ่นโปร่งแสงเอสซีจี และวัสดุอะคูสติกเอสซีจี ไซเลนส์ (Cylence) ขึ้นรับมอบประกาศนียบัตรฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือฉลากลดโลกร้อน ตอกย้ำมาตรฐานสูงสุดของผลิตภัณฑ์ "ฉนวนกันความร้อน" รายแรก และรายเดียวในประเทศไทย จาก พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในงาน "ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน" ประจำปี 2561 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
ภาพข่าว: สยามไฟเบอร์กลาส นำฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ขึ้นรับรางวัลฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ตอกย้ำศักยภาพมาตรฐาน ฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดของคนไทย

ข้อมูลประกอบ

ข้อมูลจาก : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/reduction_is/reduction_is.pnc

ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และฉลากลดโลกร้อน หรือ ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในอาเซียนที่มีระบบการรับรองสอดคล้องตามหลักสากล มีผลิตภัณฑ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 2 ฉลากคาร์บอนรวมจำนวน 606 ผลิตภัณฑ์สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 179,027 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า

เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน คือ ฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้ โดยมีรูปแบบสำหรับการประเมินประกอบด้วย การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบัน การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน (Base Year) การเปรียบเทียบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบันกับปีฐาน และนำผลการเปรียบเทียบพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถติดเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ บนผลิตภัณฑ์ หรือเผยแพร่บนสื่อ ต่าง ๆ