ในปีนี้ โครงการ "Sahapat Admission" จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 21 ในระหว่างวันที่ 1-6 ตุลาคม 2561 ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งเป็นการติวสดพร้อมถ่ายทอดสดการสอนตลอดทั้ง 6 วัน ผ่านสัญญาณบรอดแบนด์ไปยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ โดยมีเนื้อหาการติวที่เน้นเจาะลึกเพื่อตอบโจทย์ทุกสนามสอบ ทั้ง O-NET, GAT, PAT และสอบตรงวิชาสามัญ รวมทั้งเทคนิคพิชิต TCAS 62 ซึ่งเป็นการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ เรียกได้ว่ายังคงความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาการเช่นทุกปีที่ผ่านมา ทั้งยังพัฒนาเทคนิคต่างๆให้สอดรับกับระบบการศึกษารูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
"รัฐบาลมีความยินดี และขอขอบคุณที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญต่อการเปิดโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ซึ่งจากการศึกษาและวิจัยพบว่า เด็กที่มีการทบทวนความรู้ก่อนลงสนามสอบจะสามารถทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีการทบทวนความรู้ ดังนั้นโครงการดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำให้เด็กที่ไม่มีโอกาสสามารถเข้าถึงติวเตอร์ชั้นนำระดับประเทศ จึงขอฝากให้เด็กๆทุกคนตั้งใจเรียนและเก็บเกี่ยวความรู้จากการติวในครั้งนี้ให้มากที่สุด" นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในฐานะประธานเปิดโครงการ "Sahapat Admission" ครั้งที่ 21
"เรายังคงตอกย้ำเป้าหมายที่จะให้เยาวชนไทย ได้มีโอกาสทางการศึกษาจากติวเตอร์ระดับแนวหน้าของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งตลอดทั้ง 6 วันของการจัดการติว น้องๆทุกคนจะได้เรียนเนื้อหาที่เข้มข้นครบทุกสาขาวิชา รวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับการลงสนามสอบ และขออวยพรให้น้องๆทุกคนสามารถทำตามฝันและไปสู่เป้าหมายเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในคณะที่ใช่สำหรับตนเองได้สำเร็จ ซึ่งสหพัฒน์ยังคงเดินหน้าที่จะจัดโครงการดีๆอย่างนี้ต่อเนื่องไปอีกทุกปี เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเยาวชนไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต"เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวตอกย้ำเป้าหมายของการจัดโครงการ "Sahapat Admission" ในครั้งนี้
นอกจากมุมมองของผู้ใหญ่ใจดีแล้ว ยังมีมุมมองจากติวเตอร์ชั้นนำระดับประเทศ ที่ตบเท้าเข้าร่วมถ่ายทอดเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ สำหรับน้องๆในการลงสู่สนามสอบ ซึ่งทุกคนต่างก็ได้นำเทคนิคดีๆและมีประโยชน์มาถ่ายทอดกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้น้องๆก้าวลงสู่สนามสอบได้อย่างมั่นใจไร้กังวล
"กฤติกา ปาลกะวงศ์" หรือ ครูพี่หนู กล่าวว่า "เทคนิคและเคล็ดลับที่จะบอกกับน้องๆทุกคนที่เข้ามาติวนั่นคือ เหลือระยะเวลาอีกไม่ถึง 5 เดือนจะเข้าสู่ช่วงเวลาของการสอบแล้ว อยากให้จัดลำดับความสำคัญในการอ่านหนังสือและหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ และเมื่ออยู่ในสนามสอบขอให้มีสติอย่าตื่นเต้น เพราะเวลาในสนามสอบมีไม่มาก ดังนั้นอยากให้ใช้เวลาในการทำข้อสอบอย่างคุ้มค่าที่สุด สิ่งสำคัญคือการตีโจทย์ของข้อสอบให้ละเอียด รวมไปถึงเทคนิคในการเข้าถึงคำตอบ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงคำตอบได้เร็วที่สุด และใช้เวลาอ่านโจทย์ให้น้อยที่สุดเพื่อที่เราจะได้มีเวลาทำข้อสอบให้ได้มากๆ"
"ดร.พยุงศักดิ์ แก่นจันทร์" หรือ ครูยุง กล่าวว่า "สำหรับตนเองแล้วจะใช้ความรู้จากที่ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทยาลัยและในฐานะการเป็นติวเตอร์มาแนะนำเทคนิคให้กับน้องๆว่า ในสนามสอบก่อนเข้ารั้วมหาวิทยาลัยเราจะต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน และหลังจากที่เราก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้วเราจะเจอกับข้อสอบแบบไหน เป็นการแชร์สิ่งที่น้องๆทุกคนจะได้เจอหลังกำแพงรั้วมหาวิทยาลัยนั่นเอง และอยากฝากน้องๆทุกคนให้เตรียมตัวก่อนลงสนามสอบ ขอให้พยายามดูแนวข้อสอบเก่าๆที่ผ่านมา และหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ดูแนวคำถามและตีโจทย์ให้ออก จัดการคำถามให้เร็ว บริหารเวลาให้เป็น เพื่อที่จะได้ทำข้อสอบได้ทันในเวลาที่กำหนด"
"พิมพ์พิชชา บุนนาค" นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร กล่าวว่า "ในปีนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมติวกับโครงการ "Sahapat Admission" ซึ่งตนเองนั้นได้ทราบข่าวจากคุณแม่ว่ามีการเปิดสอนฟรีจากติวเตอร์ชั้นนำระดับประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงชวนเพื่อนๆมาเรียนด้วยกัน และวิชาที่สนใจคือภาษาอังกฤษ โดยเมื่อได้รับเทคนิคจากติวเตอร์ที่มาถ่ายทอดความรู้ ทำให้ตนได้เคล็ดลับและวิธีการที่จะทบทวนและสามารถจดจำแกรมม่าได้ง่ายขึ้น ขณะนี้ตนยังอยู่ในระหว่างการค้นหาตัวตนว่าต้องการเรียนต่อในสายไหนและประกอบอาชีพใด ซึ่งหลังจากได้ติวในปีนี้แล้วคาดว่าจะได้รับความรู้และมองเห็นตัวตนที่ชัดเจนขึ้น และในปีหน้าจะกลับมาติวอีกเพื่อเติมความรู้ให้กับตนเองอย่างแน่นอน"
"ปรมาภรณ์ จันทร์วงษ์" นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว กล่าวว่า "จากที่ได้เข้าร่วมติวกับโครงการ"Sahapat Admission"ในปีนี้ นับว่าได้เก็บเกี่ยวความรู้จากติวเตอร์ไปอย่างมากมาย โดยเฉพาะเทคนิคในการท่องจำคำศัพท์ในรูปแบบของเนื้อเพลง รวมทั้งเทคนิคในการอ่านคีย์เวิร์ดและการอ่านตัวเลือกคำตอบในข้อสอบที่ทางติวเตอร์แนะนำ ตนมองว่าจะทำให้สามารถจดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งนอกจากการออกไปหาที่ติวข้างนอกแล้วยังมีการแบ่งเวลาสำหรับการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง โดยจัดทำเป็นแผนตามรายวิชาต่างๆ และหากช่วงไหนที่ไม่สามารถทบทวนตามแผนที่ตนเองวางไว้ได้ ก็จะมีการเพิ่มเวลาทบทวนเพื่อเป็นการชดเชยอีกด้วย"
นอกจากการติวในเนื้อหาวิชาที่เข้มข้นแล้ว ปีนี้ยังมีบูธ"ให้คำปรึกษาค้นหาตัวตนเพื่อเป็นอะไรที่ใช่" โดยมีรุ่นพี่มาร่วมบอกเล่าประสบการณ์ให้คำแนะนำกับน้องๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้สามารถค้นหาตัวตนได้อย่างชัดเจนขึ้น
สำหรับน้องๆที่ติวจบในแต่ละวันแล้ว ยังสามารถเข้าไปดูย้อนหลังเพื่อทบทวนซ้ำได้ที่ www.sahapatadmission.com ส่วนน้องๆในรุ่นถัดไป สามารถร่วมติวกับโครงการ Shapat Admission ที่จะจัดครั้งต่อไปในปีหน้า
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit