1. ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ไปพิจารณาบทบาท อำนาจหน้าที่ ของสหกรณ์ทั้ง 7 ประเภท ว่าเป็นไปตามกลไกของกฎหมาย หรือมีข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ เพื่อเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประกอบการปรับปรุงกฎหมายสหกรณ์ฉบับใหม่ ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารสถาบันการเงิน เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานฯ เพื่อติดตาม ปรับปรุงและช่วยเหลือการบริหารงานของสหกรณ์บางแห่ง ที่มีบทบาทหน้าที่คล้ายกับสถาบันการเงิน แต่ไม่ได้ใช้กฎหมายของสถาบันการเงินมาควบคุม
2. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ ได้เน้นให้สหกรณ์การเกษตรจำนวน 4,000 กว่าแห่ง เข้ามามีบทบาทในการดูแลเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง และยืนหยัดในอาชีพได้อย่างยั่งยืน เช่น นโยบายการปลูกพืชหลังการทำนา ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำการเกษตร เพื่อช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต การขนส่งหรือรวบรวมผลผลิต ช่วยให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อขาย เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการจัดอบรมความรู้แก่สมาชิก ทั้งนี้สหกรณ์บางแห่งยังพัฒนาตนเองเป็นหน่วยธุรกิจที่สามารถเจรจาซื้อขายผลผลิตแทนเกษตรกรได้ด้วย
และ 3. เตรียมประสานภาคเอกชนเข้ามาเช่าช่วงหรือใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเครื่องจักร โรงแปรรูปผลผลิตของสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ ที่ได้รับอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ แต่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเตรียมมอบหมายให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไปตรวจสอบและประสานภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าเช่า มีเงินหมุนเวียนเข้าสหกรณ์ ต่อยอดกิจการสหกรณ์ต่อไปด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit