เบทาโกรจับมือสถาบันอิสรา ผลักดัน Your Voice, We Care ช่องทางรับฟังเสียงสะท้อนจากแรงงาน สร้างความเข้าใจ ยกระดับมาตรฐานแรงงานในฟาร์มไก่สู่ความยั่งยืน

03 Apr 2018
เครือเบทาโกร จัดสัมมนา "ยกระดับมาตรฐานแรงงานไก่ประกันสู่ความยั่งยืน" ครั้งที่ 2 โดยมีผู้ร่วมสัมมนา ประกอบด้วย เจ้าของฟาร์มและผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านแรงงานในฟาร์มไก่ประกัน ซึ่งเป็นเกษตรกรคู่สัญญาของเครือเบทาโกรจากจังหวัดต่างๆ ผู้บริหาร นักวิชาการจากเครือเบทาโกร และสถาบันอิสราเข้าร่วม เพื่อรับฟังข้อมูล สร้างความเข้าใจ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการด้านแรงงานในฟาร์มไก่ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมผลักดัน "Your Voice, We Care" อีกหนึ่งช่องทางการรับฟังเสียงสะท้อนจากแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทยในสถานประกอบการ
เบทาโกรจับมือสถาบันอิสรา ผลักดัน Your Voice, We Care ช่องทางรับฟังเสียงสะท้อนจากแรงงาน สร้างความเข้าใจ ยกระดับมาตรฐานแรงงานในฟาร์มไก่สู่ความยั่งยืน

นายสมศักดิ์ บุญลาภ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจอาหาร เครือเบทาโกร กล่าวว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมการส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสสร้างรายได้และกำไรที่ดีให้กับภาคปศุสัตว์ไทย ปัจจุบัน ลูกค้าในต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับที่มาของผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพของสินค้าในทุกกระบวนการผลิต มากไปกว่านั้นคือการดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบทางสังคมของผู้ประกอบกิจการ โดยเฉพาะเรื่องสภาพการจ้างงานและการจัดการด้านแรงงานใน ซัพพลายเชน (Supply Chain) เครือเบทาโกรให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคน จึงมุ่งมั่นปรับปรุงการบริหารจัดการและมาตรฐานแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ปีพ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับสถาบันอิสรา จัดทำโครงการ "Your Voice, We Care" การรับฟังเสียงสะท้อนและความคิดเห็นจากแรงงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ปัญหาด้านแรงงานในระยะยาว

"เบทาโกรเริ่มโครงการ Your Voice, We Care กับพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานผลิตเนื้อไก่ สำหรับปีนี้ จึงขยายสู่ฟาร์มไก่เนื้อของเกษตรกรคู่สัญญา เพราะฟาร์มคือจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตที่สำคัญ เบทาโกร มีนโยบายด้านแรงงานที่ยึดปฏิบัติ คือ แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ของภาครัฐ และ มาตรฐานแรงงานเบทาโกร (BETAGRO Labor Standard: BLS) ซึ่งกำหนดใช้ทุกบริษัทในเครือและขยายไปสู่ผู้ผลิตในซัพพลายเชน ดังนั้น เจ้าของฟาร์มและคนงานในฟาร์ม ซึ่งมีวัฒนธรมและภาษาที่แตกต่างกัน มีการเรียนรู้ระหว่างกัน ลดช่องว่างระหว่างกัน เกิดความเข้าใจกัน นโยบายดังกล่าวจะสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม พนักงานทุกระดับได้รับการดูแลที่ดี นอกจากนี้ การบริหารจัดการด้านแรงงานจะไม่ใช่อยู่แค่ฟาร์มเพราะห่วงโซ่การผลิตอาหารเป็นห่วงโซ่ที่ยาว การผลักดันให้ทุกสถานประกอบกิจการนำมาตรฐานด้านแรงงานไปปฏิบัติ จะทำให้เป็นสถานที่ทำงานที่ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างเป็นสุขและมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ดี นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานแรงงานของภาคอุตสาหกรรมไก่ไทย" นายสมศักดิ์ กล่าว

นายมาร์ค เทย์เลอร์ Director of Strategy & Global Partnerships สถาบันอิสรา กล่าวว่า อิสรามีประสบการณ์การทำงานกับฟาร์มไก่ และทราบดีว่ามีอุปสรรคและปัญหาหลายด้านที่ทั้งเจ้าของฟาร์มและแรงงานต้องเผชิญ เนื่องจากลักษณะการทำงานในฟาร์มไก่ มีความแตกต่างจากการทำงานในโรงงาน ทำให้ชั่วโมงการทำงาน ระบบการจ่ายค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด แตกต่างจากระบบการทำงานที่ปฏิบัติใช้ในโรงงานทั่วไป นอกจากนี้ อิสรายังช่วยให้คำปรึกษาเรื่องการหาแรงงาน และช่วยทำความเข้าใจกับแรงงานตั้งแต่ประเทศ ต้นทางก่อนเดินทางมาประเทศไทย สิ่งสำคัญคือ มีช่องทางการรับฟังเสียงสะท้อนที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ ได้แก่ สายด่วน 24 ชั่วโมงที่รองรับการใช้งานหลายภาษา แอพพลิเคชั่น Golden Dreams ผ่านสมาร์ทโฟน รวมถึงช่องทางการรับส่งข้อความส่วนตัวอื่นๆ เช่น LINE Viber และ Facebook Messenger เป็นต้น ช่องทางเหล่านี้จะช่วยให้แรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย สามารถส่งคำถามและข้อเสนอแนะต่างๆ โดยตรงถึงสถาบันอิสรา ซึ่งร่วมกับเครือเบทาโกร เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา ยกระดับสภาพการทำงานของแรงงาน และเสริมความแข็งแกร่งในการผลิตให้กับเจ้าของฟาร์ม

เกี่ยวกับเครือเบทาโกร

เครือเบทาโกร เป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของประเทศที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่อาหารสัตว์ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพเพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ มุ่งผลิตและพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัย จากฐานอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทันสมัยเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ภายใต้แนวคิด "เพื่อคุณภาพชีวิต" (Quality for Life) ที่สำคัญ เบทาโกร เป็นบริษัทของคนไทยที่ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้เกิดการร่วมลงทุนในการผลิตและพัฒนาคุณภาพอาหารปลอดภัย เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฮ่องกง ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย และยุโรป

HTML::image( HTML::image(