ดร.ประสารกล่าวว่าที่ผ่านมาแผนเศรษฐกิจของไทยเราให้ความสำคัญกับเรื่องของปริมาณมากกว่าการพัฒนาในเชิงคุณภาพ ทำให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีปัญหาในเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะภายใต้ความพยายามขับเคลื่อนประเทศของภาครัฐ และเอกชน กลับเดินหน้าได้ช้ากว่าที่คาด และมีอาการไม่ต่างอะไรกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องรีบเร่งรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
"ทศวรรษก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง เราเคยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี แต่ระยะหลังเราโตเฉลี่ยแค่ร้อยละ 4 นั่นเพราะผลประโยชน์จากการพัฒนายังไม่กระจายไปสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง ประเทศไทยติดอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระดับต้น ๆ ของโลก เป็นความเหลื่อมล้ำทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา ทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำลง ซึ่งส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อผลิตภาพคนไทย และศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ต่ำลงตาม โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ แม้จะเป็นสัญญาณที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วถือเป็นการขยายตัวตามวัฎจักรเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้มาจากศักยภาพทางการแข่งขันที่แท้จริงของไทย ดังนั้นภาครัฐ และเอกชนควรมองไปข้างหน้าอย่างระมัดระวัง เพื่อพยายามแก้ปัญหาโครงสร้างดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกอันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ทำให้โครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจที่เคยออกแบบไว้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อหลายสิบปีก่อน กลายเป็นความล้าสมัยที่ไม่สามารถตอบโจทย์ประเทศ และปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ซึ่งถือเป็นมิติที่มีความสำคัญ เพราะภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกา ซึ่งจะมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจ และระบบนิเวศ ที่เอื้อให้เศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ"
"3 เรื่องหลักที่เราควรทำพร้อมกันนับจากนี้ คือ เรื่องของคุณภาพคน ต้องเน้นการเพิ่มทักษะความสามารถของคนทำงานทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือแรงงาน และคนทำงานในด้านอื่นๆ ทำให้คนของเรามีความรู้ ในเชิงของความสามารถในการใช้เทคโนโลยีซึ่งจะยกระดับความสามารถของภาคธุรกิจไทย เราต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา เพื่อให้เด็กไททุกคนไม่พลาดโอกาสในการเติบโตขึ้นมาเป็นคนระดับคุณภาพของประเทศ ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานด้านสถาบันต่างๆ ซึ่งอดีตได้ออกแบบไว้ดีแต่ใช้ได้ดีในอดีตต้องปรับปรุงให้เข้ากับบริบทในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่น การวางทิศทางนโยบายประเทศ หรือการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ หากทำทั้งสามอย่างนี้ได้ดี ก็จะทำให้การเติบโตของไทยเป็นไปอย่างมีศักยภาพ"
ทั้งนี้ ดร.ประสารกล่าวว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่เพียงเป็นช่องทางยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศเท่านั้น แต่ยังมีนัยถึงการปลดล็อคศักยภาพลูกหลานไทยให้สามารถเดินหน้าได้เต็มศักยภาพ และเป็นความหวังของประเทศได้อย่างเต็มภาคภูมิ และช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ โดยในการปฏิรูปการศึกษาจะต้องดำเนินการใน 4 มิติพร้อมกันคือ การสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษา การสร้างคุณภาพไม่ใช่เน้นแค่ปริมาณ การปฏิรูปการศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม การนำความรู้ไปพัฒนาสังคม
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit