“อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ดันคุณภาพเกลือไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก พร้อมส่งเสริมแปรรูปเกลือทะเลผลิตสารทำฝนหลวงเพิ่มขึ้น หวังเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร

05 Mar 2018
"อาจารย์ยักษ์" เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ดันคุณภาพเกลือไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก พร้อมส่งเสริมแปรรูปเกลือทะเลผลิตสารทำฝนหลวงเพิ่มขึ้น หวังเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร
  “อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ดันคุณภาพเกลือไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก พร้อมส่งเสริมแปรรูปเกลือทะเลผลิตสารทำฝนหลวงเพิ่มขึ้น หวังเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด ตำบลบ้านแหลมอำเภอบ้านแหลม จังหวัด เพชรบุรี ว่า สินค้าเกษตรที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน คือ เกลือ และข้าว ในจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ในการทำนาเกลือของเกษตรกรผู้ผลิตเกลือทะเล รวมทั้งสิ้น 32,000 ไร่ โดยเกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด มีพื้นที่ทำนาเกลือ จำนวน 16,286 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 45.24 ของพื้นที่ทำนาเกลือทั้งหมดของ จ.เพชรบุรี โดยเกษตรกรผู้ทำนาเกลือได้รวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร ชาวนาเกลือบ้านแหลม จำกัด ซึ่งมีจุดเด่น คือ ขบวนการผลิตเกลือทะเลสหกรณ์จากการรวบรวมผลผลิตเกลือทะเลของสมาชิกผ่านชุมชนสหกรณ์ ฯ และนำมาแปรรูปเกลือทะเล มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 261 คน

ในด้านผลผลิต สหกรณ์ได้กำหนดแผนรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก โดยการทำMOU กับสมาชิกสหกรณ์ฯ รวบรวมเกลือผ่านชุมนุมสหกรณ์เกลือทะเลไทย จำกัด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม 2561 ดังนี้ 1.เกลือขาว จำนวน 2,423 ตัน 2.เกลือกลาง จำนวน62,579 ตัน 3.เกลือดำ จำนวน 3,432 ตัน รวมทั้งสิ้น 68,434 ตัน ปัจจุบันสหกรณ์รวบรวมเกลือจากสมาชิก จำนวน 614,310 กิโลกรัม และส่งผ่านชุมนุมฯ ไปแล้ว 469,950 กิโลกรัม

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดำเนินการช่วยเหลือสมาชิกของสถาบันเกษตรกรที่ทำนาเกลือ ของ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยจัดทำโครงการ "โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือ ทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน" กำหนดให้สหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการผลิตเกลือคุณภาพมาตรฐานและรักษาระดับราคาเกลือให้กับสมาชิกในช่วงฤดูแล้งของทุกปีที่มีเกลือทะเลมากที่สุดประมาณ 3 – 4 เท่า ของช่วงปกติ โดยใช้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงิน 52.5 ล้านบาท เป็นเงิน ปลอดดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี ระยะเวลาเริ่มโครงการ ตั้งแต่ปีการผลิต พ.ศ. 2559 ถึงปี พ.ศ.2563

อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ได้หารือร่วมกับสมาชิกสหกรณ์ฯ พบว่ายังมีปัญหาในการดำเนินงานหลายด้าน อาทิ 1. เรื่องต้นทุนการผลิตเกลือที่สูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตเกลือให้ต่ำลง 2.ส่งเสริมคุณภาพเกลือ ภาครัฐต้องเร่งรัดให้มีการจัดทำมาตรฐานของสินค้าเกลือทะเล จำแนกเกลือให้มีหลายระดับ เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สามารถสร้างตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างถาวร และเป็นที่รู้จักและต้องการของตลาดโลก ซึ่งต้องมีการระดมความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ผลักดันเกลือไทยเป็นที่รู้จักในสังคมโลก เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีอาชีพที่มั่นคง 3. การแปรรูปผลผลิตเกลือให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น สนับสนุนการนำเกลือทะเลมาใช้ในการผลิตสารฝนหลวง เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นโดยยังคงคุณภาพและคุณสมบัติของเกลือทะเลที่ทำการผลิตสารฝนหลวงให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ทำการศึกษาวิจัยการพัฒนาเกลือทะเล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อย่างกว้างขวาง และ 4. ส่งเสริมยกระดับระบบสหกรณ์นาเกลือให้เกิดความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะต้องหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาต่อไป

"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงวางรากฐานรักษาอาชีพทำนาเกลือไว้ให้คนไทย ทรงพระราชทานพื้นที่ที่สำคัญในการทำนาเกลือจนเกิดประโยชน์ต่อคนไทยมาช้านาน ไม่ใช่เฉพาะทำให้คนไทยไม่เป็นโรคคอหอยพอกเท่านั้น แต่ยังนำเกลือไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นเราจะรักษาอาชีพทำนาเกลือไว้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย เชื่อว่าความร่วมมือและความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถสืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ให้คงอยู่กับคนไทยได้นานเท่านาน" นายวิวัฒน์กล่าว

HTML::image(