ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า "รัฐบาลไทย และกระทรวงพลังงานเร่งผลักดันนโยบายพลังงาน 4.0 เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart Cities) โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งพลังงานและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน ภายในปี 2579 ได้ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปพึ่งพาพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการสร้างมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และ 'ยานยนต์ไฟฟ้า' ถือเป็นหนึ่งในแผนนโยบายที่ภาครัฐกำลังเร่งผลักดัน ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มทางเลือกการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยขณะนี้ได้เร่งขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2579 ประเทศไทยจะต้องมียานยนต์ไฟฟ้าให้ได้มากถึง 1.2 ล้านคัน"
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า "ปัจจุบันกระแสการใช้ "รถยนต์ไฟฟ้า" กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันทั่วโลกมียานยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 2 ล้านคัน โดยเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ประมาณ 1.2 ล้านคัน สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันเริ่มตื่นตัวและมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมียานยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศไทย 103,702 คัน แบ่งเป็น ยานยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทั้งแบบไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริด(Plug-in Hybrid Electric Vehicle) 102,308 คันและยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) 1,394 คัน
โดยคาดการณ์ในอนาคตจะมีประชาชนหันมาใช้มากขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งขณะนี้ได้เร่งขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังขยายตัวและจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนงานวิจัยแบตเตอรี่ สนับสนุนการนำร่อง
ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถสาธารณะ อาทิ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง เช่น เตรียมความพร้อมระบบไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) เป็นต้น"ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยต่อว่า "ขณะนี้สถานีอัดประจุไฟฟ้าที่แล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการแล้ว ขณะนี้สถานีอัดประจุไฟฟ้าที่แล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการแล้ว จำนวน 15 หัวจ่าย จาก 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1.กรมควบคุมมลพิษ 2.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ 3.บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด ปทุมวัน 4.บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) 5.บริษัท เค.อี.รีเทล จำกัด (CDC) 6.ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
แอลเอชช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ สาขา 001 (ศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 อโศก) 7.บริษัท แรบบิท ออโต้ คราฟท์ จำกัด 8.บริษัท ทีเอสแอล ออโต้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 9.บริษัท ทีเอสแอล ออโต้ เซอร์วิส 2016 จำกัด 10.บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ราชพฤกษ์ 2) 11.บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 12.บริษัท สแตนดาร์ด เอ็นจีวี จำกัด 13.บริษัท เกษรเรียลตี้ จำกัด (ศูนย์การค้าเกษร)
นอกจากนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยยังได้ริเริ่มโครงการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีอยู่หลากหลายเครือข่ายและบริษัทรถยนต์ที่จำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊ก-อินไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) โดยได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าในแต่ละแห่งได้โดยไม่ต้องพกบัตรผู้ใช้บริการหลายใบ โดยในเบื้องต้น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ 1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด 4. บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด 6. บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท จีแอลที กรีน (ประเทศไทย) จำกัด 8. บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด 9. บริษัท เดอะ ฟิฟท์ อีลีเมนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 10. บริษัท วอลโว่คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 11.บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด 13. บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด 14. บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด 15. บริษัท อี.วี.เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด 16. บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด 17. บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด 18. บริษัท อินช์เคป (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นสักขีพยาน เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบที่จะรองรับการใช้งานของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทุกประเภทและในแต่ละสถานีอัดประจุไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้
พร้อมกันนี้ ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้จัดทำบัตรสำหรับชาร์จประจุไฟฟ้าในโครงการฯ (RFID) ซึ่งมีโลโก้ของโครงการฯพิมพ์บนบัตร จำนวน 1,000 ใบ และจะเปิดให้ผู้ที่สนใจสมัครรับบัตรสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์และFacebook ของสมาคมฯ โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ
ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล พร้อมทั้งข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ทะเบียนรถ ยี่ห้อและรุ่น ซึ่งบัตร RFID นี้มีความพิเศษคือ ผู้ใช้สามารถนำบัตรไปใช้ได้กับทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่อยู่ในโครงการฯ ในรูปแบบ One Card All Stationทั้งนี้ จากการเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรอบที่ 1-4 ที่ผ่านมา มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าจำนวนทั้งสิ้น 93 หัวจ่าย จาก 76 หน่วยงาน และในขณะนี้ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกำลังเปิดรับสมัครรอบที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 -30 มีนาคม 2561 จำนวน 32 หัวจ่าย โดยสนับสนุนการลงทุนหัวจ่ายแบบ Quick Charge ไม่เกิน 1,000,000 บาท/หัวจ่าย และแบบ Normal Charge ไม่เกิน 100,000 บาท/หัวจ่าย ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานราชการ จะให้การสนับสนุนการลงทุนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าพร้อมค่าติดตั้ง 100% ทั้งสถานีแบบ Quick Charge และแบบ Normal Charge ส่วนรัฐวิสาหกิจ ให้การสนับสนุนการลงทุนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าไม่รวมค่าติดตั้ง 100% สำหรับแบบ Quick Charge และแบบ Normal Charge และภาคเอกชน ให้การสนับสนุน 30% สำหรับแบบ Quick Charge สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย www.evat.or.th โทร. 08 6390 3339
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit