ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ส่งผลให้ราคา ICE Brent แตะระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 61 และ NYMEX WTI สูงสุดตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค. 61 เนื่องจากนักลงทุนตอบรับคาดการณ์อุปสงค์ปี พ.ศ. 2561 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดรายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 800 แท่น ด้านความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบียเจ้าชาย Mohammed bin Salman ให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ของสหรัฐฯ โดยเจ้าชายMohammed bin Salman เปรียบ Ayatollah Ali Khamenei ผู้นำสูงสุดของอิหร่านเสมือน Adolf Hitler โดยต้องการเป็นผู้นำเผด็จการในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ สงครามในซีเรียทวีความรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต โดยบริเวณเขต Ghouta ใกล้กรุง Damascus เกิดเหตุโจมตีระหว่างรัฐบาลซีเรียซึ่งมีรัสเซียและอิหร่านให้การสนับสนุน กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซาอุดิอาระเบียและสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน ส่งผลให้ประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ อีกทั้งบริเวณเมือง Afrin ชายแดนตุรกีและซีเรีย กองกำลังตุรกีเข้าโจมตีกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 คน และมีผู้อพยพออกจากพื้นที่กว่า 25,000 คน ให้จับตาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย กับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และประเทศในแถบยุโรป ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศจะตอบโต้การคว่ำบาตร โดยการขับไล่นักการทูตอังกฤษจำนวน 23 คนออกจากรัสเซีย และตอบโต้ข้อกล่าวหาว่ารัสเซียวางยาพิษอดีตสายลับชาวรัสเซียและบุตรสาวในประเทศอังกฤษ ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICEBrent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 64.0-68.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 60.5-64.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบDubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 60.0-64.0เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินรายสัปดาห์ลดลงจาก โรงกลั่นน้ำมัน Hainan (กำลังการกลั่น 184,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Sinopec ตั้งเป้าส่งออกน้ำมันเบนซินเดือน มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 33% มาอยู่ที่ 5.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเบาบางตามยอดขายรถยนต์ที่ลดลงโดย China Association of Automobile Manufacturing (CAAM) รายงานยอดขายรถยนต์ เดือน ก.พ. 61 ลดลงจากปีก่อน 11.1 % อยู่ที่ 1.7 ล้านคัน ด้านปริมาณสำรอง International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 290,000 บาร์เรล มาอยู่ที่14.87 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง และ Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่ญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มี.ค.61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 100,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามอุปสงค์น้ำมันเบนซินในหลายประเทศแข็งแกร่ง อาทิสหรัฐฯ โดย EIAรายงานความต้องการใช้น้ำมันเบนซิน ในช่วง 4 สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.5% มาอยู่ที่ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 7 เดือน และPetroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานอุปสงค์น้ำมันเบนซินเดือน ก.พ. 61 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 50,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 630,000 บาร์เรลต่อวัน และ Korea Energy Economics Institute (KEEI) ของเกาหลีใต้ คาดความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี พ.ศ. 2561จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.0% จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและความต้องการใช้จากภาคปิโตรเคมีอยู่ในระดับสูง KEEI คาดความต้องการใช้ Naphtha จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.3% มาอยู่ที่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 74.0-78.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
PPAC ของอินเดียรายงานยอดขายน้ำมันดีเซล ในเดือน ก.พ. 61 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 1.75 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ โรงกลั่นน้ำมันKawasaki (กำลังการกลั่น 235,000 บาร์เรลต่อวัน) ของ JXTG Nippon Oil & Energy Corp. ในญี่ปุ่น ปิดซ่อมบำรุงหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Unit: CDUกำลังการกลั่น 65,000 บาร์เรลต่อวัน) ตามแผน ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 61 จนถึงต้น เม.ย. 61 ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 370,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 8.96 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่ญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มี.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 400,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 7.5 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติของมาเลเซียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซล เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ 258,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.5 % (มาเลเซียมีโรงกลั่นในประเทศ 5 แห่ง กำลังการกลั่นรวม 560,000 บาร์เรลต่อวัน) และ กระทรวงพลังงานของไต้หวันรายงานปริมาณการส่งออกดีเซล เดือน ม.ค. 61 เพิ่มจากเดือนก่อน 24.4 % อยู่ที่ระดับ6.68 ล้านบาร์เรล ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 75.5-79.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล