คุณอรนุช อิติโกศิน กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจพรีเมียมแนวสูง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแนวคิดการออกแบบแชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง ว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดจากการที่เราต้องการสร้างความแตกต่างให้กับโครงการ และความแตกต่างนั้นต้องสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งเราพบว่าเทรนด์เรื่องอีโคลิฟวิ่งกำลังได้รับความสนใจ เราจึงได้สร้างสรรค์พื้นที่ 13 ไร่ ของแชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง ให้เป็นอีโคโลจีคอนโดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยคำนึงในทุกๆ มิติ ทั้งเรื่องการวางผังโครงการ การออกแบบอาคาร รวมทั้งการใช้อุปกรณ์และนวัตกรรมต่างๆ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเราหวังว่าผลลัพธ์ที่จะได้นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้อยู่อาศัยแล้วยังเป็นการอนุรักษ์พลังงานให้กับโลกด้วย
แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง เป็นการรวมความเป็นธรรมชาติและแนวคิดการประหยัดพลังงานเข้าไว้ในที่อยู่อาศัย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยมีการวางผังอาคารเพื่อรับลมและแสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศและไฟฟ้า ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทุกอาคารเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า มี BIKE CLUB หรือจุดจอดจักรยานพร้อมอุปกรณ์ที่ครบครันเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานแทนรถยนต์ มีพื้นที่สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ พร้อมทั้งสร้างพื้นที่สีเขียวทั่วโครงการ รวมทั้งการเลือกใช้หลอดไฟ LED และใช้สีอ่อนเพื่อสะท้อนความร้อนและทำให้ห้องสว่างซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้า
"จากการสำรวจพบว่าการติดหลอด LED และการออกแบบอาคารให้ลมพัดผ่านได้ดี ช่วยให้ค่าไฟของผู้อยู่อาศัยลดลงถึง 22% ส่วนโซล่าเซลล์ก็ช่วยประหยัดค่าไฟของโครงการ ทำให้ผู้อยู่อาศัยประหยัดค่าส่วนกลาง ซึ่งเราประเมินว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโซล่าเซลล์จะคืนทุนประมาณ 7 ปี เมื่อถึงเวลานั้น ยิ่งจะทำให้ค่าไฟส่วนกลางลดน้อยลงมาก และจากการที่เราใส่ใจในทุกๆ เรื่องเพื่อลดการใช้พลังงานทำให้แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงาน ปี 2561 ในระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งการมอบรางวัลนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานเห็นความสำคัญ และดำเนินการออกแบบให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคาร Building Energy Code ซึ่งกำหนดเกณฑ์ไว้ว่าอาคารที่จะได้รับฉลากในระดับดีมาก จะต้องใช้พลังงานโดยรวมลดลง 50-70%" คุณอรนุช กล่าว
ทางด้าน คุณธนพงศ์ วิชคำหาญ หัวหน้าสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการแชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง กล่าวเสริมว่า "เราพยายามทำให้โครงการประหยัดพลังงานได้ทั้ง Passive และ Active ส่วนที่ Passive คือ การวางผังโครงการและการออกแบบอาคาร ส่วน Active คือการนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ LED หรือโซล่าเซลล์ เหล่านี้คือสิ่งที่จับต้องได้และสามารถมองเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมว่าช่วยลดการใช้พลังงานลงไปเท่าไหร่ แต่สิ่งที่นอกเหนือจากนี้คือเราได้สร้างสภาวะน่าสบายให้ผู้อยู่อาศัยเพื่อให้เขารู้สึกเต็มใจและสบายใจที่จะเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของตัวเองให้ประหยัดพลังงานโดยไม่รู้สึกว่าต้องพยายามหรือฝืน"
"เราออกแบบให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าการปั่นจักรยานเป็นสิ่งที่ง่ายๆ ถ้าจะไประยะใกล้ๆ ใช้จักรยานที่เราเตรียมให้แทนที่จะขับรถยนต์ มีการสร้าง space outdoor ที่เดินก็สบายเพราะโครงการมีลมพัดเย็น มีร่มเงาจากต้นไม้ หรือเรื่องการประหยัดไฟฟ้า แทนที่จะต้องมีแคมเปญรณรงค์ให้ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้หรือลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ก็ทำให้เขารู้สึกเองว่ายังไม่ต้องเปิดไฟก็ได้เพราะห้องยังสว่างอยู่ หรือเลื่อนเวลาการเปิดเครื่องปรับอากาศออกไปอีกสักหน่อย เพราะห้องยังมีลมเย็นพัดเข้ามา สภาวะน่าสบายนี้จะทำให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตแบบอีโคได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องฝืน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะยั่งยืนมากกว่า และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงงาน ในระดับดีมาก จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน" คุณธนพงศ์ กล่าวในตอนท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมโครงการแชปเตอร์วัน อีโค รัชดา–ห้วยขวาง ได้แล้ววันนี้ เริ่มเพียง 2.4 ล้านบาท สอบถามเพิ่มเติมที่ 1739 หรือ www.pruksa.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit