สำหรับไฮไลท์ที่จะเกิดขึ้นในรายการฯ นายพีรธัช สุขพงษ์ ในฐานะผู้จัดฯ เผยว่า เราตั้งใจที่จะทำให้รายการ "อะเมซิ่งมวยไทยแชมป์เปี้ยน 2018 " เป็นเวทีแข่งขันมวยไทยเชิงอนุรักษ์ เน้นการต่อสู้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยอย่างแท้จริงและถูกต้อง จุดเด่น คือ เผยแพร่ทักษะขั้นสูงของมวยไทยก่อนที่จะเลือนหายไป เรียนว่าเป็นความตั้งใจของทุกฝ่าย ซึ่งเวทีนี้ไม่ใช่เล็กๆ เป็นเวทีระดับชาติ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากนักมวยทีมชาติ มาเป็นโค้ชฝึกสอน โอกาสนี้ หาไม่ได้ง่ยๆ สำหรับยอดนักสู้ 1 เดียวในสังเวียน รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัล 100,000 บาท แข่งขันทั้งสิ้น 6 รุ่น ฉะนั้นเงินรางวัล รวมกว่า 600,000 บาท ซึ่งหลังจากนี้ นักมวยที่ชนะเลิศจะทำหน้าที่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์และครูสอนมวยไทยที่มีมาตรฐานรองรับ"
พบกับการแข่งขัน "รายการ อะเมซิ่งมวยไทยแชมป์เปี้ยน 2018 " ตั้งแต่ วันที่ 21—31 มีนาคม 2561 ททบ. 5 เวลา 16.00 น.-16.30 น. และ TGN 23.30 น. – 24.00 น. (จันทร์-ศุกร์)" และร่วมลุ้นว่านักมวยคนใดจะเป็นสุดยอดหนึ่งเดียวบนสังเวียน ในการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม เวลา 14.00 น.- 16.00 น. (LIVE) สถานที่ ลานพาร์คพารากอนติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.facebook.com/amazingmuaythaichampion/ โทรศัพท์ 095-539 5518, 064-165 4964
สำหรับความสำคัญ "รูปปั้นนายขนมต้ม" สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ พร้อมจัดให้ทุกวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันนักมวย หรือ วันนายขนมต้ม ที่ถูกกำหนดไว้ให้ไว้เป็นเกียรติแก่ นายขนมต้ม และ ตำนานแม่ไม้มวยไทย ที่ปัจจุบันสร้างชื่อเสียงไปก้องโลก เราควรสดุดีในวีรกรรม น้อยคนจะรู้ว่ามวยไทยนี่แหล่ะ เคยปลดแอกเชลยไทยจากพม่ามาได้
นายขนมต้ม เป็นนักมวยคาดเชือก ชาวกรุงศรีอยุธยา ที่ เกิดที่ตำบล บ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเกิดและ นางอี มีพี่สาวชื่อ เอื้อย แต่หลังการบุกของทัพพม่าได้ทำให้พ่อแม่และพี่สาวถูกพม่าฆ่าตายทั้งหมด มีเพียงแต่นายขนมต้มคนเดียว ที่รอดชีวิตมาได้ จากการถูกจับเป็นเชลยในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และได้ไปอาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก ก็ได้เรียนรูวิชาการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงเป็นที่เลืองลือ ดังปรากฎในพงศาวดารว่า
" เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัส สรรเสริญนายขนมต้มว่า "คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ "
หลังจากที่นายขนมต้มเอาชนะนักมวยพม่าได้แล้ว พระเจ้ามังระ ได้ปูนบำเหน็จให้เป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะ แต่นายขนมต้มปฏิเสธ แต่ขอเป็นการปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมดเพื่อเป็นอิสระ พระเจ้ามังระ จึงยอมทำตามคำขอ ในที่สุดนายขนมต้มและเชลยไทยได้เดินทางกลับบ้านเกิด คือ กรุงธนบุรี ที่เป็นราชธานีสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ ตากสินมหาราช
เหตุการณ์ที่นายขนมต้มสามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2317 นี้เอง ทำให้ได้มีการกำหนดให้วันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมวยไทย เพื่อเป็นเกียรติต่อนักมวยไทย นอกจากนี้ ชาวพระนครศรีอยุธยาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นายขนมต้ม ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลาง จังหนัดพระนครศรีอยุธยา อีกด้วย
เมื่อปี 2539 ได้มีการทำละคร นายขนมต้ม รับบทโดย สมรักษ์ คำสิงห์ ซึ่งสร้างกระแสโด่งดังในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก อีกด้วยและล่าสุด 2561 มีการจัดแข่งขัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit