ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. มีภารกิจในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยบริการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ ที่ผู้เข้าชมสามารถมาเรียนรู้และค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ชวนค้นพบ ทดลอง และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่เป็นทั้งศูนย์วิจัย ศูนย์ข้อมูลอ้างอิงวัสดุตัวอย่างทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไทย ตลอดจนจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีการสื่อสาร การคำนวณ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ที่ตั้งอยู่ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ศูนย์รวมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ที่ให้ความรู้ ประสบการณ์ สร้างจินตนาการ แรงบันดาลใจให้กับเด็ก เยาวชน รวมทั้งเป็นทางเลือกให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจ อย่างมีคุณภาพ และเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน ซึ่งตั้งอยู่ ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ
สำหรับในช่วงปิดเทอมนี้ อพวช. ยังได้เข้าร่วมกิจกรรม "ปิดเทอมสร้างสรรค์" (เปิด) หน้าต่างสู่การเรียนรู้ ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยการนำตัวอย่างกิจกรรมบางส่วนจัดแสดงให้กับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล อาทิ ค่าย "นักประดิษฐ์พิชิตมหันตภัย" และ "นักประดิษฐ์ของเล่นภูมิปัญญาไทย" กิจกรรม enjoy science maker space ที่เน้นให้เยาวชนได้ลงมือทำ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานจากจินตนาการด้วยตนเองปลูกฝังความเป็นนักประดิษฐ์ หรือที่เราเรียกกันว่า Maker ให้กับเยาวชน ในรูปแบบสะเต็มศึกษา กิจกรรม ปฏิทินจันทรคติไทย 200 ปี ฝึกใช้ปฏิทินจันทรคติไทย 200 ปี และสามารถใช้ปฏิทินจันทรคติในการบอก วันข้างขึ้น-ข้างแรม เรียนรู้การสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า และเข้าใจการกำหนดวันปฏิทินแบบไทย กิจกรรม แผนที่ดาว ศึกษาการเคลื่อนที่ของท้องฟ้าการขึ้น และตกของดวงดาว ฝึกการสังเกตและรู้จักกลุ่มดาวเด่นและการบอกทิศทาง กิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ IT LAB กิจกรรมที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้และสนุกสนาน ไปกับการทดลองควบคุมหุ่นยนต์ด้วยตนเอง IT walk rally ตะลุยพิพิธภัณฑ์เพื่อค้นหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ IT Workshop Activity เรียน รู้ เล่น อย่างเป็นระบบ กับกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ ความรู้ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของวิทยากร ชมตัวอย่างสัตว์สตัฟฟ์ ด้วยเทคนิคระดับสากลเพื่อการจัดแสดง ให้มีอิริยาบถการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ คล้ายมีชีวิต (Modern Technique on Taxidermy for Displaying) พร้อมเปิดตัวนิทรรศการชุดใหม่ล่าสุด Spy : Code Breaker เรียนรู้บทบาท หน้าที่ และความสำคัญของสายลับ ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลกสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาการรหัส (Cryptography) ที่ครอบคลุมทั้งการสร้างชุดรหัสลับเพื่อเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นความลับ และการถอดรหัสเพื่อให้ได้มาซึ่งความลับของฝ่ายศัตรู รวมทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรหัสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยสวมบทบาทเป็นสายลับ จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และร่วมเรียนรู้ไปกับนิทรรศการที่มองไม่เห็น "บทเรียนในความมืด : Dialogue in the Dark" นิทรรศการจากประเทศเยอรมนี นิทรรศการที่สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากการมองเห็น และเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่อย่างมีคุณค่า จัดแสดงที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพ
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2122, 2123 เว็บไซต์www.nsm.or.th เฟซบุ๊ก www.facebook.com/NSMthailand
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit