นาย
สุรพล เพชรวรา กรรมการสภา
มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีต
เอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก ชิลี กล่าวว่า ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ติดตามการดำเนินงานมาโดยตลอด พบว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวอีสานได้ดีขึ้นจริง ผ่านหลากหลายโครงการวิจัย อาทิ โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลี่อมล้ำทางสังคม โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังฯ โครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียง โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เชื่อมั่นว่าองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะไม่เพียงช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวอีสานดีขึ้น แต่ยังหมายรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนบ้านในทุกภูมิภาคใกล้เคียงให้ดียิ่งขึ้นด้วย การจัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศเพื่อนบ้าน CLMV (CLMV : Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam) หรือ
กลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงมาก และประสบปัญหาหลายด้านใกล้เคียงกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถนำเทคโนโลยีองค์ความรู้ที่มีอยู่ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะนำองค์กรทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ การรักษาโรคเฉพาะทาง เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ การเกษตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ ห้องสมุดดิจิทัล คอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสู่ภายนอกไปยังประเทศดังกล่าว เพื่อเป็นการพัฒนาธุรกิจ สร้างเครือข่ายทั้งด้านวิชาการ และพัฒนาภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า "ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกไปเผยแพร่ยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ต่างได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ทั้งนี้นอกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะมีความพร้อมด้านวิชาการแล้ว ยังมีความพร้อมด้านศักยภาพบุคลากร ทั้งอาจารย์และนักศึกษา ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ภายนอกไปยังประเทศดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทั้งด้านวิชาการ และธุรกิจ รวมไปถึงการสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ"
นางสาวภรภัทร มีอภิรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มข. กล่าวว่า การเดินทางไปแลกเปลี่ยนวิชาชีพกับประเทศเพื่อนบ้านครั้งนี้ คาดว่าจะได้นำความรู้ในห้องเรียน และประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาไปช่วยพัฒนางานด้านกายภาพบำบัด โดยเฉพาะในเรื่องของนักกายภาพกีฬา ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก โดยในประเทศไทยนับว่ามีความก้าวหน้ากว่าหลายๆกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้เชื่อว่าตนจะได้รับประสบการณ์แปลกใหม่และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างคุ้มค่าแน่นอน
HTML::image(
HTML::image(
HTML::image(