และในวันนี้ หลายชีวิตในตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็กำลังจะกลับคืนสู่ความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เมื่อเอสซีจีผนึกกำลังกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ เดินหน้า โครงการรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที จัดกิจกรรม รักษ์น้ำ "จากภูผา สู่มหานที"... เรียนรู้วิถีคนต้นน้ำชุมชนถ้ำใหญ่ สร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ตำบลถ้ำใหญ่เพิ่ม 100 ฝาย เพื่อรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช อันเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง
การสร้างฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ มีแกนนำชุมชนบ้านน้ำพุและชุมชนเครือข่ายของมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นแกนนำในการขยายพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำในชุมชนบ้านวังไทร 20 ฝาย และชุมชนบ้านนาตาแย้ม 80 ฝาย โดยมี ดร.รอยล จิตรดอน ให้เกียรติลงพื้นที่มาให้กำลังใจแก่ชุมชนและภาคีเครือข่ายที่มาร่วมกิจกรรมกว่า 380 คน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนจาก จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ตรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้องๆ เยาวชนจิตอาสาจากหลากหลายกลุ่ม อาทิ เยาวชนจากค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากโรงเรียนรอบโรงงาน บ.ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จก. เยาวชนกลุ่มพนาดร จ.นครศรีธรรมราช เยาวชนกลุ่มพิทักษ์ดุหยง เกาะลิบง จ.ตรัง และเยาวชนในพื้นที่ตำบลถ้ำใหญ่ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการต่อยอดแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนหันมาร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โดย ดร.รอยล จิตรดอน เลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า "รู้สึกดีใจมาก เมื่อเห็นเยาวชนในพื้นที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกันเยอะขนาดนี้ เพราะการแก้ปัญหาจะดีขึ้นได้ในวันนี้เพราะชุมชนหันมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และจะดีขึ้นในอนาคตก็ด้วยจากเยาวชนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา"
ในขณะที่ นายสุทิน พรชัยสุรีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวเพิ่มเติมว่า "เป็นความร่วมมือที่น่าภาคภูมิใจที่คนในพื้นที่มาร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติอย่างยั่งยืน"
"การได้เห็นชุมชนในพื้นที่ทุกๆ ชุมชนลุกขึ้นมาฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างความอุดมสมบูรณ์ด้วยฝายชะลอน้ำจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ทำให้ผมภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก" นายอนุวัตร นาคฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลถ้ำใหญ่ กล่าวปิดท้าย
ซึ่งโครงการรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที เป็นโครงการที่เอสซีจีน้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2550 และมุ่งมั่นสืบสาน รักษา ต่อยอด การบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผ่านกระบวนการ สร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน ให้เกิดความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมืออย่าง ฝายชะลอน้ำ คืนสมดุลให้ระบบนิเวศป่าต้นน้ำสระพวงเชิงเขา และแก้มลิง ให้เป็นแหล่งสำรองน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค รวมถึง บ้านปลา แหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็กเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืนตลอดเส้นทางน้ำ นับจากภูผา สู่มหานที โดยที่ผ่านมา มีตัวอย่างความสำเร็จของโครงการเกิดขึ้นมากมาย อาทิ
การสร้างฝายชะลอน้ำกว่า 75,500 ฝายในพื้นที่ต้นน้ำทั่วประเทศ ซึ่งช่วยฟื้นฟูป่าชุมชนให้คืนความสมดุลกว่า 240,000 ไร่ ลดการเกิดไฟป่าจากปีละ300 ครั้ง จนแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ชุมชนมีน้ำใช้ในหน้าแล้งและน้ำไม่ท่วมในหน้าฝน อีกทั้งชุมชนยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการหาของป่าและทำเกษตร 9,200 บาท/ครัวเรือน/เดือน และมีรายได้จากการเปิดบ้านเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์รวม 10 ชุมชนกว่า 2.5 ล้านบาท
การสร้างบ้านปลา ในพื้นที่ภาคตะวันออก ที่สร้างบ้านปลาจากท่อ PE100 ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อแรงดันและการกัดกร่อนสูง มีอายุการใช้งานนานกว่า50 ปี และไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย เป็นการช่วยเพิ่มแหล่งทำประมงใกล้ชายฝั่ง สร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชนประมงในทะเลระยองและชลบุรี พร้อมๆ ไปกับฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ท้องทะเล เห็นได้จากการที่พบสิ่งมีชีวิตในทะเลบริเวณบ้านปลาเพิ่มขึ้นเป็น 120 ชนิด (ในปี 2560) จากเดิมที่พบเพียง 23 ชนิด (ในปี 2559) เท่านั้น หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน กับการสร้างบ้านปลาจำนวน 100 หลังบริเวณคลองลัดเจ้าไหม ใน พื้นที่ภาคใต้ ที่ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ที่มีการปรับประยุกต์วัสดุให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของชุมชน โดยใช้ปูนทนน้ำทะเลที่ทนทานต่อน้ำกร่อย มาออกแบบเป็นวงกลมเพื่อให้แข็งแรงทนทาน เคลื่อนย้ายสะดวก และสวยงามตามธรรมชาติ เป็นต้น
และเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำ สร้างความมั่นคงด้านน้ำให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน เอสซีจีเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมครั้งต่อไปในโครงการรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที กับ โครงการบ้านปลา ที่เอสซีจี จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เดินหน้าสานต่อ จิตอาสาสร้างบ้านปลา เอสซีจี ที่ จ.ระยอง ในช่วง 22-24 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ ร่วมคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศทางทะเล เพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน พร้อมส่งเสริมให้กลุ่มประมงพื้นบ้านประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยสามารถติดตามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scg.com/lovewater/
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit