เต็ดตราแพ้คแท็กทีมองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ชวน “มองตรา”บนกล่องเครื่องดื่ม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าปลูกอย่างรับผิดชอบ

04 Jun 2018
เต็ดตราแพ้คผู้นำด้านกระบวนการผลิตและบรรจุอาหารระดับโลกร่วมกับองค์การจัดการด้านป่าไม้ (Forest Stewardship Council(TM))หรือFSC(TM)และ WWF ประเทศไทยชักชวนคนไทย มองตรา ร่วมค้นหาป่า FSCณ จังหวัดราชบุรี เน้นสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญต่อการจัดการป่าไม่อย่างรับผิดชอบพร้อมพูดคุยกับเกษตรกรไทยสมัยใหม่ถึงประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ว่า"ปกป้องทุกคุณค่า(TM)"หรือ(PROTECTS WHAT'S GOOD(TM)) เพียงแค่มองหาตรา"เต็ดตราแพ้ค" (Tetra Pak) และฉลาก FSC บนกล่องเครื่องดื่มผู้บริโภคก็สามารถมั่นใจได้ว่าได้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดต่อตนเองคนที่รักและสิ่งแวดล้อม
เต็ดตราแพ้คแท็กทีมองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ชวน “มองตรา”บนกล่องเครื่องดื่ม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าปลูกอย่างรับผิดชอบ

เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ด้วยวิกฤตการณ์โลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันทำให้เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปไม่ว่าอยู่ที่ไหนทั้งในเมืองหรือต่างจังหวัดต่างได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งทั้งฝนหลงฤดูกาลอากาศร้อนจนแทบละลายอุทกภัยร้ายแรงและอีกมากมายที่มากระตุ้นเตือนให้ทุกคนหันมาตระหนักว่าหากไม่เลือกทำอะไรในวันนี้อนาคตอาจไม่มีโลกที่น่าอยู่ให้แก่ลูกหลาน

เต็ดตรา แพ้ค เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงร่วมมือกับลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, หน่วยงาน, องค์กร, ภาครัฐ, ชุมชนริเริ่มโครงการรณรงค์ต่างๆ ทั้งการสร้างความตระหนักถึงเรื่องการใช้วัตถุดิบในการทำกล่องเครื่องดื่ม ที่มาจากป่าที่ผ่านการจัดการอย่างรับผิดชอบ ไปจนถึงโครงการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วเป็นหลังคาบ้านเพื่อมอบแก่ผู้ขาดแคลน (http://www.tetrapak.com/th/thaigreenroof)มาเป็นเวลาหลายปี ด้วยความเชื่อมั่นว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ย่อมมาจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่าย

นอกจากการความร่วมมือของผู้ประกอบการและภาครัฐแล้ว ผู้บริโภคเองก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนวาระเพื่อสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ เต็ดตรา แพ้ค ได้เปิดตัวแคมเปญมองตรา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อชักชวนให้ทุกคนที่อยากทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายๆหันมามองตรา เต็ดตรา แพ้คก่อนเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มครั้งนี้บริษัทได้เจาะลึกเพื่อสร้างความเข้าใจว่า นอกจากตรา เต็ดตรา แพ้ค บนกล่องเครื่องดื่มที่ผลิตโดยบริษัทฯแล้ว ยังมีฉลากFSC ซึ่งได้มาจากองค์การจัดการด้านป่าไม้ (Forest Stewardship Council) ซึ่งได้รับการยอมรับในฐานะมาตรฐานรับรองการบริหารจัดการป่าไม้ระดับสากลที่เข้มแข็งที่สุดในโลก

ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC จะต้องผ่านเกณฑ์ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ FSC Chain of Custody ในทุกแหล่งผลิต จึงเป็นหนึ่งในเครื่องยืนยันที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่ากล่องบรรจุอาหารและเครื่องดื่มในมือมาจากผู้ผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากป่าไม้ที่ผ่านการบริหารจัดการอย่างรับผิดชอบ และเต็ดตรา แพ้ค ได้รับการรับรองดังกล่าวสำหรับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์และบริษัทสาขาที่ดำเนินการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกทำให้สามารถจัดสรรบรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ได้จากทั่วทุกมุมโลกบริษัทฯ ได้แนะนำระบบการติดฉลาก FSC บนกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารเหลว เป็นครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2550 และได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญในปีพ.ศ. 2560 ด้วยการส่งมอบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC จำนวนกว่า 3แสนล้านกล่องสู่มือผู้บริโภคทั่วโลกสำหรับประเทศไทยบริษัทฯ ทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด จนทำให้ช่วง 3 ปีที่ผ่าน มีกล่องเครื่องดื่มแบรนด์ต่างๆที่ผลิตโดยเต็ดตรา แพ้ค นั้นติดฉลาก FSCเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนเกือบถึง 90 เปอร์เซ็นต์

นอกจากความร่วมมือกับลูกค้าในการส่งเสริมการติดฉลากFSC แล้ว เต็ดตราแพ้คยังร่วมกับองค์กรFSC ในภูมิภาค และ WWF ประเทศไทยอีกหนึ่งองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศในการทำการสื่อสารเชิงรุก รณรงค์สร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของฉลาก FSC ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงให้ความรู้ว่าการจัดการป่าอย่างรับผิดชอบตามมาตรฐาน FSC นั้นต้องผ่านหลักการถึง 10 ข้อ และต้องมีองค์กรอื่นๆที่ร่วมนำหลักการมาแปลงเป็นภาคปฏิบัติ แม้ประเภทกระดาษที่สามารถนำมาใช้ทำกล่องอาหารและเครื่องดื่มยังต้องนำมาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์หลักๆในยุโรปและอเมริกา แต่ในประเทศไทยก็ได้มีการนำหลักการและมาตรฐานของFSC มาใช้บริหารจัดการป่าปลูกชุมชน และป่าปลูกเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆอย่างประสบความสำเร็จแล้ว

พนมศักดิ์ พรสุขสว่าง เกษตรกรชาวจังหวัดราชบุรีเจ้าของป่าปลูกเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน FSC บอกว่า เริ่มปลูกต้นยูคาลิปตัสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพราะประสบปัญหาเรื่องแรงงาน คนส่วนมากเดินเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเป็นหลัก บวกกับวิกฤตการณ์ภัยแล้ง พอทราบว่ายูคาลิปตัสทนแล้ง ปลูกง่าย ขายได้ จึงใช้ที่ดินประมาณ 150 ไร่ ปลูกยูคาลิปตัสเกือบทั้งหมด ผสมผสานกับปลูกอ้อย เขายอมรับว่าช่วงแรกไม่เข้าใจหลักการ FSC ยังลองผิดลองถูกจนต้องเจอปัญหาต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตไม่ดี มีโรคของพืช จนกระทั่งได้ร่วมงานกับบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ธุรกิจแพคเกจจิ้งในเอสซีจี (SCG)ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์กรในประเทศไทยที่ร่วมใช้หลักการ FSC ในการจัดการบริหารป่า ที่เข้ามาให้ความรู้ และช่วยเหลือภาคปฏิบัติ ทำให้การจัดการและผลผลิตดีขึ้นเป็นลำดับ

"ทั้งสองหน่วยงานก็ให้ข้อมูลและลงมือร่วมกับเรา แล้วมีเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศมาประเมิน ในตอนแรกๆ ผมคิดเองแบบไม่วางแผน แต่เมื่อเริ่มปฏิบัตตามหลักการของFSC จึงได้รู้ว่าต้องมีแผนที่เหมาะสม ตอนไหนควรทำอะไร ผลผลิตที่ได้ก็ดีขึ้นมาก อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง เช่น ใส่ปุ๋ยสองรอบ แต่พอถัวเฉลี่ยกับปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นเยอะก็ถือว่าดี

ส่วนเรื่องคุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นแน่นอนครับ เรื่องแรกเมื่อเรามีแผนการจัดเวลาได้ เวลาส่วนที่เหลือก็ไปทำอย่างอื่นได้ พักผ่อนได้ อีกเรื่องสำคัญมากคือเมื่อก่อนผมใช้รถไถเล็กตัดหญ้า ส่วนตรงโคนต้นยูคาลิปตัสที่รถตัดมันตัดไม่ได้ ผมจะใช้ยาฆ่าหญ้าฉีด หลังจากมีความรู้เรื่องหลักการ FSC จึงเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีมาเป็นใช้แรงงานคนแทน สุขภาพเราก็ดีขึ้นเพราะไม่ได้ใช้สารเคมี สมัยก่อนไร่ของผมไม่มีผึ้ง ไม่มีแมลงเลยนะ สัตว์ใหญ่ก็ไม่มี หลังๆ ก็มีแล้ว ดีต่อทั้งผม ทั้งลูกน้อง และสิ่งแวดล้อม"

"วันนี้เราได้เห็นแล้วว่า เกษตรกร องค์กร และผู้ประกอบการ พร้อมร่วมมือกันดูแลป่าและสิ่งแวดล้อมแต่พลังนี้จะยิ่งใหญ่และยั่งยืน เพียงแค่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ซึ่งมาจากป่าที่ผ่านการจัดการอย่างรับผิดชอบซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ยังช่วยดูแลสังคม และเสริมสร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนอีกด้วยมร. เจฟ ฟิลโคว รองประธานบริหารฝ่ายสิ่งแวดล้อม บริษัท เต็ดตรา แพ้คเอเชีย กล่าว

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามได้ที่ www.tetrapak.com/th/about/cases-articles/what-is-fsc

เกี่ยวกับ เต็ดตรา แพ้ค

เต็ดตรา แพ้ค เป็นบริษัทผู้นำของโลกในด้านกระบวนการผลิตและบรรจุอาหาร เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ขายสินค้าและลูกค้าของเรา ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตอบสนองความต้องการของผู้คนนับล้านในกว่า 170 ประเทศ ด้วยพนักงานมากกว่า24,000 คน ทั่วโลก เต็ดตรา แพ้ค เชื่อมั่นในความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน คำขวัญของเต็ดตรา แพ้ค ที่ว่า "ปกป้องทุกคุณค่า(TM)"(PROTECTSWHAT'SGOOD(TM)) นั้นสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของเราที่จะทำให้อาหารปลอดภัยและมีอยู่พร้อมสำหรับการบริโภคในทุกๆ ที่ทั่วโลก

สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "เต็ดตรา แพ้ค" ได้ที่ www.tetrapak.com/th

หรืออ่านเรื่องราวของเราได้ที่www.tetrapak.com/th/unpacking-opportunities/

เต็ดตราแพ้คแท็กทีมองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ชวน “มองตรา”บนกล่องเครื่องดื่ม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าปลูกอย่างรับผิดชอบ เต็ดตราแพ้คแท็กทีมองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ชวน “มองตรา”บนกล่องเครื่องดื่ม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าปลูกอย่างรับผิดชอบ