นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยเมื่อปี 2559 รัฐบาลได้จัดโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ภายในวงเงินงบประมาณ 35,000 ล้านบาท สำหรับให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจัดทำโครงการเพื่อนำไปลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ขยายโอกาสทางการตลาดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนกองทุนละไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการกว่า 66,000 กองทุน วงเงินงบประมาณกว่า 33,000 ล้านบาท ต่อมาในปี 2560 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินงานภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ สนับสนุนงบประมาณกองทุนละไม่เกิน 200,000 บาท มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับการอนุมัติโครงการ กว่า 61,000 กองทุน วงเงินงบประมาณกว่า 12,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวทำให้หกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองก่อเกิดโครงการต่างๆ ทั่วประเทศ อาทิ โครงการร้านค้ชุมชน น้ำดื่มชุมชน บริการประปาหมู่บ้าน/ชุมชม โรงสีข้าวชุมชน บริการเค้าเตอร์เซอร์วิส บริการน้ำมันเชื้อเพลิง บริการตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ โครงการร้านปุ๋ยชุมชนประชารัฐ ยุ้งฉางข้าวชุมชน เป็นต้น
ทั้งนี้การขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐจึงเป็นมาตรการที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่า และภูมิปัญญาของตนเอง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วม อีกทั้งยังเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต และสวัสดิการของสมาชิกในชุมชน โดยปรากฏว่ามีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการร้านค้าชุมชนถึง 19,270 แห่ง ซึ่งแสดงถึงความสำคัญและความต้องการของร้านค้าชุมชน ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ ที่จะสร้างอาชีพและตลาดในชุมชน สร้างเวทีให้สินค้าชุมชนมีช่องทางการจำหน่าย เพื่อเติบโตก้าวหน้าเป็นสินค้าอนาคตประเทศ(New S-Curve) ลดรายจ่ายให้ประชาชนในทุกพื้นที่จากการเข้าถึงแหล่งสินค้าราคายุติธรรมและคืนกำไรจากการดำเนินการกลับสู่ชุมชนเพื่อนำไปจัดสวัสดิการชุมชน พัฒนาท้องถิ่นและต่อยอดการสร้างโอกาสต่อไป ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมร้านค้าสะดวกซื้อปรับรูปแบบการดำเนินการไปอย่างมาก ธุรกิจขายปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาจำนวนมากอย่างรวดเร็วและแพร่หลายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนารูปแบบธุรกิจเฟรนไชส์ที่มีประสิทธิภาพ มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ทำให้มีต้นทุนต่ำลง การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมร้านค้าประชารัฐ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ต้องแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ โดยมีข้อเสียเปรียบด้านขนาดและอำนาจในการต่อรอง ขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีขาดช่องทางในการนำสินค้าที่มีความหลากหลายและคุณภาพ มาจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิก อีกทั้ง ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคเอกชนให้สามารถอยู่รอด เติบโตเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายสินค้าราคายุติธรรม รักษาสมดุลของกลไกตลาดไม่ให้เกิดการผูกขาดของธุรกิจจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ สร้างกลไกในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศในอนาคต
นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญของร้านค้าประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อมอบเครื่องรับชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์ หรือ EDC ภายใต้โครงการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยให้ติดตั้งเครื่องรับชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์ ให้กับร้านค้าประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 10,000 เครื่องโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมบัญชีกลาง ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) และกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกันส่งเสริมดำเนินงานตามความประสงค์ของรัฐบาล จากประมาณการณ์เบื้องต้น ร้านค้าประชารัฐกองทุนหมู่บ้านที่ติดตั้งเครื่อง EDC จะมียอดขายต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100,000-200,000 บาท เชื่อว่าจะสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากหมุนเวียนได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 ล้านบาท โดยยังไม่นับรวมถึงการสร้างอาชีพ การพัฒนาสินค้าและอื่นๆ
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า จะติดตั้งเครื่อง EDC 10,000 ร้านค้าแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้โดยรายได้ที่เกิดจากการรูดซื้อสินค้าผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะมีการประมวลผลแบบวันต่อวันและกรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าประชารัฐในวันรุ่งขึ้น ยกเว้นกรณีติดวันหยุดราชการ ยอดโอนก็จะรวมอยู่ในวันเปิดทำการวันแรกนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บทบาทของธนาคารฯในโครงการนี้ นอกเหนือจากพัฒนาและบริหารจัดการระบบประมวลผลรองรับการทำธุรกิจกรรมการรูดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อสินค้า และจัดอบรมการใช้งานเครื่อง EDC ให้กับร้านค้าประชารัฐแล้วในระยะต่อไปจะขยายไปถึงการให้คำปรึกษา และสนับสนุนดก้านเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดหาสินค้ามารองรับความต้องการของคนในชุมชนด้วย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit