สสว. จับมือเครือข่าย ไทย-เทศ ตอบโจทย์ MSMEsโดยใช้ประโยชน์เวทีเอเปคจัดงานประชุม / สัมมนา / Workshop /Pitching ดึงต่างชาติยกระดับความรู้ดันSMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและเข้าสู่ตลาดโลก

04 Jun 2018
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่าในระหว่างวันที่ 4 – 7 มิถุนายน 2561สสว. ร่วมมือกับหลายเครือข่ายจากทั้งในและต่างประเทศ เช่น สถาบันคีนันแห่งเอเซีย / SMEA ไต้หวัน ฯลฯ จัดงานการประชุม / สัมมนา / Workshop / Pitching สำหรับกลุ่ม Start ups โดยทุกงานจะมีผู้แทนหน่วยงานส่งเสริม SMEs ตัวแทนผู้ประกอบการ SMEsไทย-ต่างประเทศและทีม Start ups จากเขตเศรษฐกิจต่างๆ จากเอเปครวมทั้งไทย เข้าร่วมด้วยตลอดทั้ง 4 วัน
สสว. จับมือเครือข่าย ไทย-เทศ ตอบโจทย์ MSMEsโดยใช้ประโยชน์เวทีเอเปคจัดงานประชุม / สัมมนา / Workshop /Pitching ดึงต่างชาติยกระดับความรู้ดันSMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและเข้าสู่ตลาดโลก

โดยในเวทีการประชุม Asia-Pacific Economic Cooperation: APECกรอบด้านSMEs ที่ สสว. เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมทุกๆ ปีนั้น ปีนี้ สสว. ได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตัล (Digital Economy) ของ SMEs ที่มีหลายมิติที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการใช้ประโยชน์จากการทำธุรกิจบน E-commerce ด้านการเงิน เช่น Transaction / Online Payment / ด้าน Logistics ด้านการขายOnline ด้านการประชาสัมพันธ์ การ Order สินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ สสว. ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพดำเนินการ และเสนอโครงการรับทุนจากAPEC เพื่อนำมาจัดทำโครงการตอบรับกับประเด็นดิจิตัลฯ ข้างต้น และรวมถึงการร่วมดำเนินงานกับเขตเศรษฐกิจต่างๆ เป็นเจ้าภาพร่วม เช่นกัน ทำให้ในปีนี้ สสว. สามารถนำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายตลอด 4 วัน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้

1. วันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 –การสัมมนา / การประชุมเชิงปฏิบัติการ "APEC Riding the Wave of the E-commerce Trend: Emerging and Expanding Business Options for MSMEs" (Micro, Small, and Medium Enterprises)

2. วันที่ 6 มิถุนายน 2561 - การจัดประชุมเสวนา "APEC SME O2O (Online-to-Offline) Forum" ที่รวมการ Pitching ของ Start up จากไทยและต่างประเทศ ในช่วงบ่าย

3. วันที่ 7 มิถุนายน 2561 –กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "APEC SME Digital Resilience Training Workshop"

สำหรับงานแรก คือ งาน "APEC Riding the Wave of the E-commerce Trend: Emerging and Expanding Business Options for MSMEs"ในวันที่ 4-5 มิถุนายนฯ เป็นการร่วมจัดงานของ สสว. กับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ภายใต้งบประมาณการสนับสนุนจากAPEC ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานฯ และกล่าวบรรยายในหัวข้อ "ความสำคัญของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อยในกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก"

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองการเข้าถึงเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและการยกระดับเข้าสู่ตลาดโลกสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) และการยกระดับธุรกิจสู่สากล โดยการระบุความต้องการของกิจการ MSME เพื่อให้เข้าถึงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลได้ดีขึ้น ขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาดโลก และจัดทำข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อใช้ในการพัฒนานโยบายส่งเสริมกิจการ MSME เพื่อนำเจ้าของกิจการ MSME นักธุรกิจ และผู้กำหนดนโยบายมารวมกันเพื่อเรียนรู้และสร้างเครือข่ายร่วมกันกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอาทิ นายรวิศ หาญอุตสาหะ- บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด / นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุจาก TARAD.comผู้ดำเนินรายการมากด้วยประสบการณ์ และนายเฉลิมพล ตู้จินดาผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย - Software Park เข้าร่วมอภิปรายกลุ่ม รวมถึงจะมีการศึกษาดูงานที่บริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำอย่าง JD Central ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง JD.comและบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ด้วย ทั้งหมดนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารวมงานได้เข้าใจถึงการตลาด โลจิสติกส์ ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ และสภาพแวดล้อมทางนโยบายรัฐ

"การเข้าสู่ E-Commerce นั้นมีความสำคัญต่อกิจการ MSME อย่างมาก ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านตระหนักถึงดีแต่อาจไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐเองก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการส่งเสริม E-Commerce แบบตรงวัตถุประสงค์ ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับทั้งผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงสอดคล้องกับโครงการ SMEs Go Online และประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลชุดปัจจุบันด้วย ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นมากกว่าความพยายามส่งเสริมกันและกันให้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเชิงการแข่งขัน เพราะจะเป็นการเสริมสร้างรากฐานสู่อนาคตแห่งความเจริญมั่งคั่งร่วมกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค APEC " นายสุวรรณชัยฯ กล่าว

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า "จากการทำงานวิจัยของสถาบันคีนันฯ พบว่า ปัจจุบัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้น มีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่องและมากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจในเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นกิจการ MSME ทำให้การสนับสนุนให้กิจการ MSME สร้างฐานลูกค้าออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการในการขยายธุรกิจของตนเองไปยังช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ จากการทำวิจัย พบว่า ร้อยละ 72ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้โซเชียลมีเดีย และร้อยละ 71 ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น แนวทางการขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Facebook หรือการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้น จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของธุรกิจที่ดำเนินกิจการโดยเยาวชนและผู้หญิง

โลกดิจิตอล คือ ตลาดขุมทรัพย์ของผู้ประกอบการ SMEs เพราะเป็นแหล่งชุมนุมของผู้บริโภค (Digital Consumers) ที่มีอัตราเติบโตสูงมากและมีอนาคตที่ยั่งยืน โดยที่ผู้คนกว่า 3.6 พันล้านคน หรือ 51% ของประชากรโลกพากันใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง และมากกว่า 1.8พันล้านคน กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคตามผลสำรวจของ Euro Monitor International เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในเวลาเดียวกัน คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมหาศาล จำนวนมากกว่า 57 ล้านราย และใช้โทรศัพท์มือถือ Smart Phone มากถึง 40 ล้านรายตามผลสำรวจของ Hootsuitและ Wearesocial เมื่อปลายเดือนมกราคมปีนี้"

ดังนั้น โลกดิจิตอลจึงเป็นแหล่งชุมนุมของผู้บริโภคจากทั่วโลก ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ต้องรุกเข้าไป โดยจะต้องเร่งปรับกระบวนธุรกิจของตนให้หยั่งรากลึกในโลกดิจิตอล (Digitalization) และต้องผนวกตัวเข้าอย่างแนบเนียน ซึ่งการเน้นที่จะทำให้ Platform ทั้ง Online และOffline มีความเชื่อมโยงอย่างไร้ตะเข็บรอยต่อ คือโมเดลธุรกิจที่ทรงคุณค่า เพื่อเพิ่มความสนุกแก่ Journey ของผู้บริโภคที่เข้ามาเพลิดเพลินกับการจับจ่ายใช้สอยในจักรวาลแห่งไซเบอร์ ให้สมกับที่โลกดิจิตอลเป็นสวรรค์ของนักช้อป เพราะมีระดับราคาที่แสนถูก มีความสะดวก มีขั้นตอนซื้อขายที่ง่ายๆ แถมด้วยข่าวสารข้อมูลและเกร็ดความรู้

สำหรับกิจกรรมที่ 2 และ 3 เป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. และ SMEA ไต้หวัน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมวันที่ 6 มิถุนายนฯ การจัดประชุมเสวนา "APEC SME O2O (Online-to-Offline) Forum"และวันที่ 7 มิถุนายนฯ กิจกรรมเวิร์คช็อปหัวข้อ "APEC SME Digital Resilience Training Workshop"สสว. ได้เตรียมโปรเจ็กต์ Digitalization มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในไทยผ่านกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการตื่นตัวรุกเข้าปักหลักในโลกดิจิตอล อันจะช่วยลดต้นทุนการค้าขายและค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงลูกค้าโดยให้บริการที่ดีเด่นและโดนใจ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถให้แข่งกับรายใหญ่ได้ทั่วโลก โดยใช้โมเดลธุรกิจ O2O (Online to Offline)

นางสาวเป่ยตี้ อู้ รองผู้อำนวยการใหญ่ SMEAกล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมว่า"การรับเทคโนโลยีดิจิตอลไปใช้นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของ SMEsขณะที่ Platform ของเครือข่ายแห่งโลกไซเบอร์ช่วยเชื่อมโยงตลาดโลกและสังคมทั้งมวล SMEs จะได้รับโอกาสมากมาย พร้อมกับต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน"

"ผู้ที่ทำ Digital Transformation เปลี่ยนแปลงกระบวนธุรกิจเข้าสู่โลกไซเบอร์ จะได้รับประโยชน์ตั้งแต่การลดต้นทุนในการค้าขาย และต้นทุนในการติดต่อลูกค้า ไปจนถึงการได้รับโอกาสดีขึ้นในอันที่จะแข่งกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า ในอีกด้านหนึ่ง ในเมื่อฝ่ายลูกค้ามีทางเลือกที่มากขึ้นเมื่อมีการซื้อขายในเครือข่ายดิจิตอลซึ่งไปถึงกันได้ทั่วโลก ความต้องการบริการที่ดีขึ้น มีความสะดวกมากขึ้น ก็จะขยายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้การเปลี่ยนแปลงกระบวนธุรกิจเข้าสู่โลกไซเบอร์ นอกจากจะเป็นยุทธศาสตร์ที่เสริมแกร่งให้แก่ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแล้ว ยังเป็นทิศทางที่ SMEs ต้องทำเพื่อรักษาธุรกิจให้รุ่งเรืองและยั่งยืน" นางสาวเป่ยตี้ อู้กล่าว

สำหรับการประชุมเสวนา APEC SME O2O (Online-to-Offline) Forum ถือว่าเป็นกิจกรรมไฮไลต์ เน้นในส่วนของการอภิปรายกลุ่มเพื่อเจาะลึกถึงโอกาสและความท้าทายที่ SMEs จะได้รับและจะต้องเผชิญเมื่อปรับเปลี่ยนกระบวนธุรกิจเข้าสู่ตลาดดิจิตอลในโลกไซเบอร์ ตลอดจนมาตรการที่จะต้องดำเนินการเพื่อนำศักยภาพทางธุรกิจของผู้ประกอบการและตัววิสาหกิจมาใช้ในสภาพแวดล้อมใหม่ซึ่งมีโอกาสความสำเร็จรออยู่อย่างมากมาย ผู้ประกอบการกลุ่ม Startup จากประเทศสมาชิก APEC ที่เข้ามาแบ่งปันเคล็ดลับความสำเร็จด้วยโมเดลธุรกิจออนไลน์สู่ออฟไลน์ ในเวทีการ Pitching จะได้ให้ความรู้และมุมมองอันยอดเยี่ยมว่า SMEs จะรุกเข้าถึงตลาดโลกจนประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

กิจกรรมทั้งหมดมีเป้าหมายหลักที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเข้าร่วมในกระแสการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีดิจิตอล โดยในแต่ละกิจกรรมจะมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100-200 ราย ซึ่งมาจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ฝ่ายกำหนดนโยบาย ตัวแทนประเทศสมาชิกกลุ่ม APEC ไปจนถึงผู้นำด้านธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจในระดับสูง ตลอดจนผู้ประกอบการ SMEs ที่แข็งแกร่งแล้ว และผู้ประกอบการหน้าใหม่ ทุกกิจกรรมเต็มไปด้วยสาระอันเป็นประโยชน์ทั้งการแบ่งปันประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ความสำเร็จในการเร่งอัตราเติบโตทางธุรกิจ การสร้างความตระหนักถึงเสถียรภาพแห่งโลกไซเบอร์ อีกทั้งการเสริมแกร่งให้แก่ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ทั่ว APEC

สสว. จับมือเครือข่าย ไทย-เทศ ตอบโจทย์ MSMEsโดยใช้ประโยชน์เวทีเอเปคจัดงานประชุม / สัมมนา / Workshop /Pitching ดึงต่างชาติยกระดับความรู้ดันSMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและเข้าสู่ตลาดโลก สสว. จับมือเครือข่าย ไทย-เทศ ตอบโจทย์ MSMEsโดยใช้ประโยชน์เวทีเอเปคจัดงานประชุม / สัมมนา / Workshop /Pitching ดึงต่างชาติยกระดับความรู้ดันSMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและเข้าสู่ตลาดโลก สสว. จับมือเครือข่าย ไทย-เทศ ตอบโจทย์ MSMEsโดยใช้ประโยชน์เวทีเอเปคจัดงานประชุม / สัมมนา / Workshop /Pitching ดึงต่างชาติยกระดับความรู้ดันSMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและเข้าสู่ตลาดโลก