นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้าน
ตลาดตราสารหนี้ ได้รายงาน
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2561 มีจำนวน 6,486,711.48 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.04 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้
รัฐบาล 5,182,896.20 ล้านบาท หนี้
รัฐวิสาหกิจ 914,646.77 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน* (รัฐบาลค้ำประกัน) 379,903.38 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 9,265.13 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 32,879.78 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- หนี้รัฐบาล จำนวน 5,182,896.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 37,902.50 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหนี้รัฐบาล ดังนี้
- เงินกู้ภายใต้แผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 และการบริหารหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นสุทธิ 36,089 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ จำนวน 49,410 ล้านบาท และการลดลงของตั๋วเงินคลัง 13,321 ล้านบาท
- เงินกู้เพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,817.26 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,119.33 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจำนวน 532.60 ล้านบาท สายสีส้มจำนวน 403.55 ล้านบาท และ สายสีน้ำเงินจำนวน 183.18 ล้านบาท (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,607.39 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 772.51 ล้านบาท โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย จำนวน 643.68 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วง มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ จำนวน 87.58 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 77.44 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 26.18 ล้านบาท และ (3) การเคหะแห่งชาติเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 90.54 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการอาคารพักอาศัยแปลง G ตามแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง
- เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ลดลง 516.67 ล้านบาท จากกการชำระคืนต้นเงินกู้
- หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน หมายถึง หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน บริหารสินทรัพย์ และทำธุรกิจประกันสินเชื่อ
- การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 250 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
- หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 737.90 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินเยนและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 914,646.77 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 3,949.48 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 2,010.89 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ ที่ลดลงของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และการประปานครหลวง
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 1,938.59 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 379,903.39 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,143.56 ล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 9,265.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 70.32 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากหนี้ที่ลดลงของสำนักงานธนานุเคราะห์
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 จำนวน 6,486,711.48 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,221,797.99 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.92 และหนี้ต่างประเทศ 264,913.49 ล้านบาท (ประมาณ 8,219.86 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 4.08 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,873,148.14 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.54 และหนี้ระยะสั้น 613,563.34 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.46 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด