ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกพันธบัตรสีเขียว (green bond) โดยมีไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุน

12 Jun 2018
ทีเอ็มบี ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และได้กำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนไว้แล้ว โดยครอบคลุม 4 แกนหลัก ได้แก่ แกนด้านองค์กร (organization) ด้านภาคธุรกิจการธนาคาร (industry) ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) และด้านสังคม (social) และล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทีเอ็มบีเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออก "พันธบัตรสีเขียว" (green bond) อายุ 7 ปี มูลค่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,850 ล้านบาท โดยไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด เพื่อนำเงินไปสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-smart project) และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกพันธบัตรสีเขียว (green bond) โดยมีไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุน

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การออกกรีนบอนด์ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยนี้ นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทีเอ็มบีในการขับเคลื่อนธุรกิจโดยดำเนินการตามกรอบการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของธนาคาร ทั้งในด้านองค์กร ภาคธุรกิจธนาคาร สิ่งแวดล้อม และด้านสังคม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และจะส่งผลดีทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังมีแผนการที่จะออกกรีนบอนด์เพื่อนำเสนอต่อนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพื่อสนับสนุนการลงทุนส่งผลดีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อสีเขียวของธนาคารมีมูลค่า 9,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับไอเอฟซี ซึ่งเป็นผู้นำของโลกในด้านสินเชื่อสีเขียว นับว่าสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามกรอบที่ทีเอ็มบีได้วางไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ความร่วมมือดังกล่าวยังได้ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของตลาดการลงทุนในกรีนบอนด์อีกด้วย"

สำหรับ "โครงการที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ" (climate-smart project) ที่จะได้รับการสนับสนุนตามวัตถุประสงค์ของกรีนบอนด์ที่ออกในครั้งนี้ ได้แก่ โครงการพลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการขยายสินเชื่อสีเขียวของทีเอ็มบี นอกจากนี้ การบุกเบิกตลาดกรีนบอนด์ยังก่อให้เกิดทางเลือกใหม่ของแหล่งเงินทุนสีเขียวระยะยาวในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2573 และยังช่วยลดปัญหาการขาดเงินทุนเพื่อสนับสนุนด้านภูมิอากาศ (climate-change finance) ของประเทศไทยซึ่งมีการประเมินไว้ที่กว่า 31,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จนถึงปี 2573 อีกด้วย

นายวิเวก พาทัค ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ไอเอฟซี กล่าวว่า "กรีนบอนด์ของธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรก ซึ่งออกโดยทีเอ็มบีนี้ นับได้ว่าเป็นกรีนบอนด์ชุดที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ไอเอฟซีลงทุน และจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเร่งพัฒนาตลาดกรีนบอนด์ที่เพิ่งเริ่มตั้งตัวในประเทศไทย ซึ่งเราหวังว่า ผู้ระดมทุนรายอื่นๆจะให้ความสนใจ และหันมาออกกรีนบอนด์เพื่อสนับสนุนโครงการที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-smart project) เพิ่มมากขึ้นต่อไป"

นอกจากความร่วมมือในการออกกรีนด์บอนด์แล้ว ทีเอ็มบีมีแผนที่จะออกพันธบัตรอีกชุดหนึ่ง ในวงเงิน 90 ล้านเหรียญสหรัฐ กับไอเอฟซี เพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สูงขึ้น เพราะเอสเอ็มอีเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

นายวิตทอริโอ ดิ เบลโล หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอุตสาหกรรมภูมิภาคเอเชีย กลุ่มสถาบันการเงิน ของไอเอฟซี กล่าวเสริมว่า "กรีนบอนด์จะส่งผลดีต่อเป้าหมายของรัฐบาลไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เอื้อต่อการเติบโตของโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกันเอสเอ็มอีบอนด์ซึ่งทีเอ็มบีจะออกในเวลาต่อไป จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญ รวมทั้งช่วยในการพัฒนาโซลูชั่นส์ทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอีกด้วย"

อนึ่ง ทีเอ็มบีและไอเอฟซีมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด โดยก่อนหน้านี้ เคยร่วมกันให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อปี 2555 และได้ร่วมมือกันในด้านการกระจายความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนทีเอ็มบีในการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในปี 2557

เกี่ยวกับไอเอฟซี

ไอเอฟซี หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่ ด้วยการร่วมมือกับบริษัท 2,000 แห่งทั่วโลก ไอเอฟซีได้นำเงินทุน ความเชี่ยวชาญ และศักยภาพ ที่มีอยู่มาใช้เพื่อการสร้างตลาดและโอกาสในพื้นที่ที่ยากที่สุดของโลก ในงวดการเงินปี 2560 ไอเอฟซีได้สนับสนุนเงินทุนระยะยาวในประเทศที่กำลังพัฒนาในมูลค่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 19,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อผนึกกำลังของภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขจัดความยากจนและเสริมสร้างการแบ่งปันความมั่งคั่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม. For more information, visit www.ifc.org.

www.facebook.com/IFCeap

www.twitter.com/IFC_EAP

www.youtube.com/IFCvideocasts

www.ifc.org/SocialMediaIndex

www.instagram.com\ifc_org

เกี่ยวกับทีเอ็มบี

ทีเอ็มบีเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งดำเนินงานโดยยึดมั่นในปรัชญาองค์กร Make THE Difference…เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ซึ่งมุ่งสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและมอบประโยชน์ที่มากกว่าจากผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ทีเอ็มบีเป็นผู้ดำเนินการ ทีเอ็มบีเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งให้บริการครอบคลุมทั้งลูกค้าบุคคล เอสเอ็มอี และบรรษัทธุรกิจ ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยผ่านช่องทางการให้บริการทั้งออฟไลน์และออนไลน์แบบเชื่อมต่อกันทุกช่องทางเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าของธนาคาร รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาเข้าเยี่ยมชม www.tmbbank.com, Facebook: @TMB, Twitter: @TMB_Bank

ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกพันธบัตรสีเขียว (green bond) โดยมีไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุน ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกพันธบัตรสีเขียว (green bond) โดยมีไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุน ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกพันธบัตรสีเขียว (green bond) โดยมีไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก เป็นผู้ลงทุน