"เราอาจจะคิดว่าแอนตาร์กติกอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีสิ่งแวดล้อมที่บริสุทธิ์" ฟริดา เบงส์สัน ผู้ประสานงานรณรงค์ปกป้องแอนตาร์กติก กรีนพีซกล่าว "แต่จากมลภาวะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังการจับเคยในเชิงอุตสาหกรรม ล้วนเป็นกิจกรรมที่มนุษยชาติทิ้งร่อยรอยไว้ทั้งนั้น ผลกระทบที่เห็นแม้แต่ในถิ่นที่อยู่ห่างไกลของแอนตาร์กติกยังพบไมโครพลาสติก หรือเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็ก และสารเคมีอันตรายที่ไม่ย่อยสลายปนเปื้อนอยู่ เราทุกคนต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อไม่ให้มีมลสารเหล่านี้ที่แอนตาร์กติก เราต้องการให้เขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติกเป็นพื้นที่สำหรับเพนกวิน วาฬ และให้ระบบนิเวศได้ฟื้นตัวจากมลภาวะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน"
ตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณพื้นผิวที่ทีมสำรวจเก็บมานั้น เจ็ดในแปดตัวอย่างพบไมโครพลาสติก จำพวกไมโครไฟเบอร์ (มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติกอย่างน้อยหนึ่งส่วนต่อตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร) และอีกเก้าตัวอย่างเก็บโดยใช้อวนแมนต้า หรือ ตาข่ายลากเพื่อการสำรวจใต้น้ำ(manta trawl) และ การวิเคราะห์หาไมโครพลาสติก ทีมสำรวจพบเศษชิ้นส่วนไมโครพลาสติกในสองตัวอย่างน้ำ และการวิเคราะห์เจ็ดในเก้าตัวอย่างหิมะพบร่องรอยของวัตถุเคมีที่ย่อยสลายไม่ได้ จำพวกโพลีฟลูโอริเนท อัลคาเลท หรือ PFAS ที่ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม และ ผลิตภัณฑ์อุปโภค เป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์และการพัฒนาชีวิตสัตว์ป่า ทีมสำรวจยังพบสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในบรรยากาศ จากตัวอย่างหิมะที่เก็บในระยะที่เพิ่งตก อ่านรายงานฉบับเต็มของกรีนพีซสากลได้ที่นี่
ทีมสำรวจได้เปรียบเทียบข้อมูลบางส่วนของไมโครพลาสติกที่พบในน่านน้ำของมหาสมุทรแอนตาร์กติก และผลการวิเคราะห์ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ถึงสถานะปัจจุบันและการปนเปื้อนในพื้นที่
"เราได้เห็นของเสียหลายประเภทจากอุตสาหกรรมประมงที่ทิ้งลงมหาสมุทรแอนตาร์กติก" เบงส์สัน กล่าวเพิ่มเติม "ตามยอดน้ำแข็งมีทั้งทุ่น แห และผ้าใบ ติดอยู่ มันน่าเศร้ามากที่เห็นเช่นนี้ เราเอาขยะพวกนี้ออกจากน้ำ และได้คิดถึงวิธีที่เราต้องปกป้องพื้นที่ใหญ่โตนี้จากกิจกรรมที่เกินขอบเขตของมนุษย์ หากเราต้องการปกป้องชีวิตสัตว์ที่น่าเหลือเชื่อเหล่านั้นในแอนตาร์กติกอย่างจริงจัง"
"เราเจอพลาสติกอยู่แทบทุกที่ในมหาสมุทร จากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และแม้แต่ในจุดลึกสุดของมหาสมุทรอย่าง มาริอาน่า เทรนช์ เราต้องเริ่มปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนที่จะลดขยะพลาสติกในทะเล และต้องขยายพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันเขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก ที่เกิดขึ้นได้เพราะผู้คนทั่วโลก 1.6 ล้านคน ช่วยกันเรียกร้อง เพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเล และมหาสมุทรของเราให้คนรุ่นหลัง"
ตัวอย่างต่างๆที่เก็บได้ในช่วงสามเดือนที่กรีนพีซออกสำรวจมหาสมุทรแอนตาร์กติก ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 กรีนพีซได้เริ่มสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึง การดำน้ำสำรวจระบบนิเวศทางทะเลในบริเวณก้นมหาสมุทรแอนตาร์กติก ที่แทบไม่มีใครรู้จัก โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก ครอบคลุมพื้นที่ 1.8 ตารางกิโลเมตร หรือ มีขนาดห้าเท่าของประเทศเยอรมนี และเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สหภาพยุโรปได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) และจะมีการลงมติในเดือนตุลาคม 2561 นี้
หมายเหตุ
รายงานฉบับเต็มการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ตัวอย่าง ดูได้ที่: https://act.gp/AntarcticPlastic
ฟริดา เบงส์สัน เป็นผู้ประสานงานรณรงค์อาวุโสด้านมหาสมุทร ประจำกรีนพีซ นอร์ดิก
ไมโครพลาสติก คือ พลาสติกขนาดเส้นรอบวงเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร จำนวนหลายๆชิ้น ส่วนใหญ่ไมโครพลาสติกผลิตออกมาประเภทเดียวกับไมโครบีดส์ แต่ไมโครพลาสติกจะผลิตเป็นพลาสติกชิ้นใหญ่กว่า เช่น ขวดหรือกระเป๋า ที่ทนทานเป็นเวลานาน เส้นใยของไมโครพลาสติกอยู่ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอด้วยเช่นกัน
อวนแมนต้า คือตาข่ายลากเพื่อการสำรวจใต้น้ำ(manta trawl) ที่ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทร
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit