ก.แรงงาน จับมือ 16 หน่วยแกนนำ ยกระดับกุ๊กไทยไปนอก

26 Jun 2018
ก.แรงงาน ร่วมกับ 16 หน่วยงาน ระดมความคิดเห็น หาแนวทางผลิต และยกระดับฝีมือกุ๊กไทย ขับเคลื่อนครัวไทยสู่ครัวโลก
ก.แรงงาน จับมือ 16 หน่วยแกนนำ ยกระดับกุ๊กไทยไปนอก

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกในวันนี้ (26 มิถุนายน 2561) ณ ห้องปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่า รัฐบาลมีนโยบายพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก โดยมุ่งให้มีการบริหารจัดการที่ดี และมีมาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ อีกทั้งลักษณะอาหารไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะ และประเทศแถบยุโรปเริ่มรู้จักอาหารไทยมากขึ้น

กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญ ในการดูแลคนไทยให้มีอาชีพ มีงานทำ และมีทักษะฝีมือได้มาตรฐาน ในส่วนการขับเคลื่อนครัวไทย สู่ครัวโลก ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บูรณาการร่วมกันรวม 16 ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) กระทรวงอุตสาหกรรม (สถาบันอาหาร) กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมการกงสุล) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวิทยาเขตโชติเวช วิทยาลัยดุสิตธานี โรงเรียนสอนอาหารครัววันดี บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โรงเรียนการอาหาร เอ็มเอส ซี ภัตตาคาร บลูเอเฟ่นท์ บริษัท เอสแอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) โรงเรียนการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ และโรงแรมการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อผลิตแรงงานด้วยโภชนาการให้ตรงกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ

รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า ได้เสนอแนะในที่ประชุมว่าจะต้องฝึกอบรมกุ๊กไทยให้มีมาตรฐานสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการ และร้านอาหารในต่างแดน จากข้อมูลกระทรวงพานิชย์ ระบุว่าร้านอาหาร

ในต่างประเทศมีกว่า 13,000 แห่ง ทั่วโลก อัตราค่าจ้างในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่ 20,000 – 90,000 บาท และฝึกงานในสถานประกอบกิจการเพื่อขึ้นบัญชีเข้าทำงานในสถานทูต และสถานกงสุลในต่างประเทศ จากการสำรวจความต้องการของกรมการจัดหางาน พบว่า มีความต้องการในตำแหน่งพ่อครัวแม่ครัวกว่า 15,000 คน โดยแบ่งออกเป็นความต้องการภายในประเทศกว่า 11,000 คน และต่างประเทศกว่า 4,000 คน ระหว่างเดือน มกราคม 2560 – พฤษภาคม 2561 มีผู้แจ้งการเดินทางเพื่อไปทำงานตำแหน่งกุ๊ก จำนวน 3,628 คน โดยไปทำงานในกลุ่มประเทศเอเชียมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มประเทศยุโรป และตะวันออกกลาง เป็นอันดับ 3

การยกระดับทักษะพ่อครัว แม่ครัวไทยให้มีมาตรฐานเทียบสากลได้นั้น ต้องมีกระบวนการ หลักเกณฑ์ การทดสอบมาตรฐาน การบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้จะสามารถช่วยสร้างความเข้มแข็งต่ออุตสาหกรรมครัวไทย ช่วยยกระดับฝีมือพ่อครัวแม่ครัวให้ตรงต่อความต้องการของตลาด และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่สากลโลกต่อไป คาดว่าปลายปี 2561 จะมี MOU ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รมว.แรงงาน กล่าว

HTML::image(