ชาวบ่อเกลือ จ.น่าน รวมพลังสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรฯ นำทีมร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม

18 Jun 2018
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดงานโครงการรณรงค์เพื่อการขยายผลการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน กิจกรรม "เอามื้อสามัคคี พลังหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ" บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สร้างตัวอย่างการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติและปัญหาความยากจนของเกษตรกรด้วยการจัดรูปที่ดินปรับแปลงพื้นที่เกษตรกรรมด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สร้างระบบฝายกักน้ำระหว่างช่องเขา กระจายน้ำในพื้นที่ด้วยระบบคลองไส้ไก่ ปรับรูปแบบคันนาด้วยการทำนาขั้นบันไดยกหัวคันนาสูงเพื่อปลูกพืช ผักสวนครัว ปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างบนคันนาเสริมด้วยแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และเก็บน้ำไว้ในนาเพื่อทำประมงท้องนาเพิ่มอาหารโปรตีน ลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้เสริม
ชาวบ่อเกลือ จ.น่าน รวมพลังสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรฯ นำทีมร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม

นายวิวัฒน์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดรูปที่ดินใหม่ว่า ปัญหาของชาวบ้านที่บ่อเกลือมีการผลิตข้าวไม่พอกิน ในขณะเดียวกันก็ทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินตามมา ส่งผลให้ข้าวโพดก็ปลูกไม่ได้เพราะหน้าดินถูกชะล้างพังทลายไปหมด ต้องเพิ่มปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ต้นทุนการผลิตจึงเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น สะสมสารเคมีในดินและน้ำทำลายพืชพันธุ์สัตว์น้ำในระยะยาว

ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องปรับทั้งระบบการผลิต เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน ปรับพื้นที่แล้วปลูกกล้วยปลูกป่า 5ระดับเพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ ขุดหนอง ขุดคลองไส้ไก่เก็บน้ำฝนเพิ่มความชื้น ปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ รากหญ้าแฝก 3 เดือนยาว 3 เมตรจะช่วยเก็บกักน้ำไว้ในดิน ซึ่งพบว่าผลผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้นโดยใช้พื้นที่น้อยลง เช่นที่ห้วยกระทิง จ.ตาก พบว่าผลผลิตข้าวเพิ่มถึง 3 เท่า จึงอยากให้เกษตรกรทดลองทำหลายๆแบบเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบการเรียนรู้ใหม่ตามศาสตร์พระราชา และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมวิจัย จนกลายเป็นตัวอย่างให้คนในพื้นที่ โดยการจัดรูปที่ดินกักน้ำ กักตะกอนไว้แบบนี้เชื่อมั่นว่าเกษตรกรจะสามารถเพิ่มผลผลิตมากขึ้นจากที่ได้ไร่ละ 400 กิโลกรัม เป็นมากกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่

ทั้งนี้ ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ 9 หน่วยงานได้อาสาเป็นทีมงานวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าวในรูปแบบที่เหมาะสมต่อวิถีวัฒนธรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว เจ้าหน้าที่กรมประมง เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ นักวิชาการในมหาวิทยาลัย ตัวแทนศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านคั๊วะ (ชุมชนต้นน้ำน่าน) เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองในพื้นที่ และเกษตรกรเจ้าของพื้นที่ คาดว่าจะได้แนวทางการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชาจนเป็นต้นแบบการแก้ปัญหาทั้งระบบด้วยความสามัคคคีและมีส่วนร่วมได้ในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือในฤดูกาลผลิตนี้เพื่อเป็นการขยายผลศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วมตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี

ชาวบ่อเกลือ จ.น่าน รวมพลังสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรฯ นำทีมร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม ชาวบ่อเกลือ จ.น่าน รวมพลังสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรฯ นำทีมร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม ชาวบ่อเกลือ จ.น่าน รวมพลังสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรฯ นำทีมร่วมแก้ปัญหาทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม