สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

27 Jun 2018
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 นี้ ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.96)
สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI) ประจำเดือนพฤษภาคม 2561 มีการขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 เป็นผลจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 2561 MPI ขยายตัวร้อยละ 3.8 (5 เดือนแรกปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 0.4) โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกประจำเดือนพฤษภาคม 2561 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำตาลทราย เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ยา Hard Disk Drive และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สินค้าในอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนพฤษภาคม มีการขยายตัวได้แก่

รถยนต์และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.89 จากรถปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1,800 cc. เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่กลับมาขยายตัวต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่กลับมาฟื้นตัว สำหรับเครื่องยนต์รถยนต์ขยายตัวในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซล ตามความต้องการใช้ที่สอดคล้องกับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ภายในประเทศและปริมาณการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

น้ำตาลทราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.93 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อย และสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้มีผลผลิตมากกว่าปีก่อน

เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ยา เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.43 จากยาแคปซูลและยาเม็ดเป็นหลัก จากการขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับการขยายตลาดที่มีการเปิดตลาดใหม่ (เช่น ฮ่องกง) และตลาดในประเทศ

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 โดยเฉพาะ HDD ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการที่บริษัทแม่ได้เพิ่มการผลิตในไทย รวมถึงความต้องการในตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกสินค้าเช่น PCBA Semiconductor จากความต้องการของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้การคาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมสำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ที่ยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่

อุตสาหกรรมไฟฟ้า จะมีการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าผู้ผลิตและผู้ค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า จะเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ๆ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะมีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.65 จากความต้องการส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Hard Disk Drive จากการได้รับยอดผลิตเพิ่มขึ้นจากบริษัทแม่ของผู้ผลิตบางราย เนื่องจากการปิดฐานที่สิงคโปร์และจีน และย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ส่วน IC คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เริ่มฟื้นตัว

อุตสาหกรรมรถยนต์ จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 530,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.61 โดยเป็นการจำหน่ายในประเทศประมาณ 220,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.40 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว ประกอบกับสิ้นสุดการถือครองรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก ส่วนการส่งออกทรงตัว เนื่องจากการกีดกันการค้าจากประเทศเวียดนาม

อุตสาหกรรมอาหาร จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.6 จากปัจจัยบวกอย่างผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเพิ่มพื้นที่ปลูกและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย อาทิ ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และอ้อย เป็นต้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และ CLMV

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตยางรถยนต์ในประเทศจะขยายตัวร้อยละ 1.66 ในส่วนของการผลิตยางรถจักรยานยนต์/จักรยานคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.10 สำหรับถุงมือยาง/ถุงมือตรวจคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและตลาดส่งออกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวตามทิศทางการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของ คู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืนจากใยสังเคราะห์ ไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มในปัจจุบัน ประกอบกับผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตเส้นใยสมบัติพิเศษหลายชนิด เป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม S-Curve ตามเป้าหมายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน