พิมพ์ฐดา เผยว่าในความร่วมมือและร่วมลงทุนครั้งนี้ สยาม เอาท์เลตจะนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นเองโดยเฉพาะ รวมถึงเทคโนโลยีระบบซอฟท์แวร์ด้านการบริหารจัดการหลังร้าน ไปดำเนินการปรับใช้กับ Let Me Store ของมาเลเซีย เพื่อตอบโจทย์การให้บริการผู้ค้าและผู้ซื้อทั้งไทยและมาเลเซียอย่างไร้รอยต่อ
"ที่สำคัญคือ ดีลนี้เราตอบสนองนโยบายภาครัฐที่กระทรวงพาณิชย์ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ได้จับมือร่วมกันส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจดิจิตัลให้ผู้ประกอบการ SMEs และ e-Commerce ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถขายสินค้าข้ามแดน (Cross Border) ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ได้เข้ามามีส่วนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้บริการโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรอีกด้วย"
ทั้งนี้ประเทศมาเลเซีย มีมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2560 เฉพาะประเภท B2C (ร้านค้าขายสินค้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรง) มีมูลค่า 2,812,592 ล้านบาท นับว่ามีการขยายตัวจากปี 2559 ถึง 9.86 % เป็นรองเฉพาะประเทศไทยที่คว้ามูลค่าสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
"เราต้องการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs, OTOP และเจ้าของแบรนด์สินค้าไทยได้มีโอกาสเปิดตลาดขายสินค้าไปยังประเทศมาเลเซียสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น และมั่นใจได้เพราะมีเรา ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย คอยช่วยอำนวยความสะดวกบริหารจัดการและดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน" ผู้บริหารสยาม เอาท์เลต กล่าวเสริม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit