วสท. เชิญออเจ้าจิบน้ำชายามบ่าย “ฟังประวัติศาสตร์ กับงานวิศวกรรมสมัยขุนหลวงนารายณ์”

22 May 2018
ผ่านกาลเวลากว่า 362 ปี ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคที่กรุงศรียุธยารุ่งเรืองเมืองท่าระดับโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านการค้าขาย และด้านวิทยาการที่ก้าวหน้าในการก่อสร้างอาคารและสถาปัตยกรรมต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังน่าศึกษาอย่างยิ่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จึงจัดงานเสวนา "ฟังประวัติศาสตร์ กับงานวิศวกรรมสมัยขุนหลวงนารายณ์"เชิญออเจ้าวิศวกรและประชาชนผู้สนใจมาร่วมจิบน้ำชายามบ่าย ณ อาคาร วสท. โดยมี 4 ผู้เสวนา ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อดีตเลขาธิการ วสท. รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. และ รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก วสท.
วสท. เชิญออเจ้าจิบน้ำชายามบ่าย “ฟังประวัติศาสตร์ กับงานวิศวกรรมสมัยขุนหลวงนารายณ์”

รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อดีตเลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า หนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นนี้คือวัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลายในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 พระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดา ความรุ่งเรืองของอยุธยาในยุคนั้นคือ เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงประมาณศตวรรษที่ 17 ช่วงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27ของไทย ปัญหาใหญ่คือเรื่องการต่างประเทศ มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และต้องการขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก ราชสำนักไทยขัดแย้งกับอังกฤษ เพราะอังกฤษต้องการที่จะยึดครองมะริด รวมถึงเกาะภูเก็ต สมเด็จพระนารายณ์ไม่พอพระทัยในการกระทำของอังกฤษ จึงประกาศสงครามกับ บริษัท East India ที่เป็นตัวแทนของอังกฤษ ในคราวนั้นก็มี คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เป็นฝรั่งเชื้อสายกรีกและอิตาเลียน ที่ช่วยให้มะริดและเกาะภูเก็ตไม่ตกเป็นของอังกฤษ

รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวถึง สถาปัตยกรรมทางวิศวกรรมโครงสร้างระดับโลกในอารยธรรมโบราณเป็นซุ้มประตูที่คาดว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่ประเทศอิรัก สร้างจากวัสดุก่อโดยจะเป็นจำนวนคี่ประกอบเข้าด้วยกันและจะมีชิ้นสุดท้ายเข้าโค้งกันแล้วตอกด้วยลิ่มลงมา และซุ้มโค้งที่โดดเด่นที่สุดอยู่ที่ถนนฌ็องเซลิเซ่นั่นก็คือประตูชัยนโปเลียนที่ฝรั่งเศส และสนามกิฬาโคลิเซียมสมัยอาณาจักรโรมันในอิตาลี สำหรับประเทศไทยนั้นที่ลพบุรีก็จะมีอาคารและสถาปัตยกรรมที่คล้ายๆกันอยู่นั่นคือ ป้อมประตูชัย อยู่ทางมุมกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์ด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะสูงเด่น ช่องประตูโค้งแหลม ประตูนี้อยู่ติดกำแพงเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นกำแพงดิน ขนานคู่กับพระราชวังด้านทิศใต้พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองลพบุรี ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงสง่าโดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอด ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีปยามค่ำตืน มีป้อมปืน 7 ป้อม และประตูโค้งใหญ่ 11 ประตู จะเห็นได้ว่าหลายสิ่งที่น่าทึ่งในงานวิศวกรรมในแผ่นดินขุนหลวงนารายณ์ อาทิ การเรียงก่ออิฐ การทำรูปโค้ง ช่องเปิด ช่องหน้าต่าง ทั้งๆที่ไม่มีคาน ไม่มีเหล็ก รวมไปถึงวิวัฒนาการระบบประปา โดยใช้แรงดันอากาศในการส่งน้ำ เป็นต้น

เขตพระราชฐานชั้นนอก มีสิ่งก่อสร้าง 5 หลัง 1. อ่างเก็บน้ำ หรือถังเก็บน้ำประปา เป็นฝีมือการก่อสร้างของวิศวกรชาวฝรั่งเศสและบาทหลวงชาวอิตาลี 2. สิบสองท้องพระคลัง ลักษณะเป็นอาคารทรงตึกแบบยุโรป ประตู หน้าต่าง และช่องระบายลมใต้หลังคาเป็นรูปโค้งแหลม 3. ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง อาคารทรงตึกแบบยุโรป มีคูน้ำล้อมรอบอาคาร ประตู หน้าต่าง และช่องระบายลมใต้หลังคาเป็นรูปโค้งแหลม 4. ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่า เป็นหอพระประจำพระราชวัง เป็นอาคารทรงตึกแบบยุโรป ผสมผสานไทย ประตู หน้าต่าง ประดับลวดลายปูนปันที่ซุ้มเรือนแก้วและฐานเท้าสิงห์แบบไทย สมเด็จพระเพทราชา ทรงประกาศยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ ตึกนี้เมื่อปี พ.ศ. 2231 5. โรงช้างหลวง ส่วนเขตพระราชฐานชั้นกลาง มีสิ่งก่อสร้าง 2 หลัง ได้แก่ 1. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นที่ประทับออกว่าราชการแผ่นดินและประชุมองคมนตรี ปัจจุบันจัดแสดงเป็นห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2. พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นที่เสด็จออกต้อนรับคณะราชทูตต่างประเทศ ลักษณะเป็นอาคารทรงตึกแบบยุโรป ผสมผสานกับแบบไทย ด้านหน้าเป็นท้องพระโรง ผนังภายในเดิมประดับด้วยกระจกเงาจากประเทศฝรั่งเศส ตามมุมประดับด้วยทองลูกบวบ ดูโอ่อ่าวิจิตรตระการตา ด้านหลังเป็นอาคารทรงสูง หลังคาเป็นทรงมณฑปยอดแหลม เรียกว่า"มหาปราสาท" ตรงกลางมีสีหบัญชรที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เสด็จออกรับคณะราชทูต ส่วนเขตพระราชฐานชั้นใน มีสิ่งก่อสร้าง 1 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นอาคารทรงตึกแบบยุโรป มุงกระเบื้องเคลือบสีเหลือง เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้

รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก วสท. กล่าวว่า คนไทยเรียนรู้การผลิตอิฐมาใช้ในการก่อสร้างมาช้านาน การผลิตอิฐนั้นจะต้องเลือกดินที่ไม่มีวัสดุอย่างอื่นปะปน เช่น ทราย หรือเศษไม้ แล้วจึงนำมานวด เพื่อให้เนื้อดินมีการผสมผสานตัวเข้ากันได้ดี ในระยะแรกของการทำให้อิฐให้มีรูปแบบตามต้องการจะอาศัยใช้การปั้นด้วยมือ ต่อมาจึงอาศัยการอัดเข้าแบบพิมพ์แทน แล้วตากแดดให้แห้งสนิท นำมาตกแต่งส่วนที่ขาดเกิน การเผาอิฐ ถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายในยุคสมัยก่อน โดยการนำดินที่ตากแห้งแล้วมาวางเรียงกัน แล้วใช้แกลบโรยลงในระหว่างแถวเพื่อให้ความร้อนกระจายได้ทั่วถึง และจะมีการเติมแกลบลงไป วิธีการเผาอิฐอีกแบบหนึ่งคือการใช้ท่อนไม้ฟืนมาทำเป็นเชื้อเพลิงในการเผา การนำอิฐมาสร้างโบราณสถานต่างๆในอดีตใช้วัสดุเชื่อมที่ทำมาจากเปลือกหอย น้ำอ้อย กาวหนังสัตว์ อิฐแต่ละก้อนสามารถต่อกันได้อย่างแข็งแรงจะเห็นว่าการก่อสร้างในสมัยก่อน ใช้องค์ความรู้ต่างๆมากมายที่ประกอบกันขึ้นเป็นโบราณสถาน ที่ซ่อนไปด้วยความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมศาสตร์ ภูมิปัญญาของคนในอดีตที่บางทีเราก็ไม่อาจจะเข้าใจในวิธีคิดของพวกเขาได้อย่างแจ่มแจ้ง พระปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดพระอุโบสถ ปัจจุบันเหลือแต่ฐานเท่านั้น

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า หากดูหลายแหล่งท่องเที่ยวและแลนด์มาร์คสำคัญในลพบุรี เป็นศิลปะขอม แบ่งออกเป็น2 ลักษณะคือ ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ. 1553 - 1623) ทับหลังมีลักษณะเป็นการเล่าเรื่อง โดยมีภาพบุคคลผสมผสานกับเทวดาที่นั่งอยู่ในซุ้ม เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทพนมวัน และศิลปะแบบบายน (พ.ศ. 1720-1780) มีภาพจำหลักที่ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ภาพของชีวิตทั่วๆไปเช่น ประสาทเมืองสิงห์ พระปรางค์สามยอด เป็นแลนด์มาร์คสำคัญของลพบุรี มีลักษณะเป็นปราสาทขอม ศิลปะแบบบายนสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เกือบ 800 ปีมาแล้ว โครงสร้างของปราสาททำจากศิลาแลงฉาบปูน เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน เรียกว่า มุขกระสัน ส่วนที่เป็นองค์พระปรางค์ มีรูปทรงสัณฐานคล้ายกับฝักข้าวโพด ตั้งตรงขึ้นไปบนฐานรูป 4 เหลี่ยม ขนาดลดหลั่นซ้อนเทินขึ้นไป แต่เดิมปราสาทประธาน(องค์กลาง) ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ปราสาททิศใต้ (องค์ทางขวา) ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาททิศเหนือ (องค์ทางซ้าย) ประดิษฐานรูปนางปรัชญาปารมิตา ตัวปราสาทมีฐานบัวซ้อนกัน 2 ฐาน รองรับส่วนของเรือนธาตุที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอดเป็นกลศที่มีรูปแบบคล้ายหม้อน้ำเทพมนตร์

อีกวิทยาการเด่นในลพบุรีนับได้ว่าในแผ่นดินสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นกำเนิดของระบบการส่งน้ำด้วยท่อดินเผา เรียกได้ว่าเป็นกิจการประปาครั้งแรกบนแผ่นดินไทยที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง การวางท่อประปาในยุคนั้นจะใช้ท่อดินเผาทรงกระบอกมาต่อกัน จากการศึกษาสำรวจและรายงานพบว่ามีการนำน้ำสะอาดจาก 2 แหล่งมาใช้ในพระราชวัง ได้แก่ น้ำจากทะเลชุบศร โดยต่อท่อผ่านประตูน้ำปากจั่นไหลลงมายังสระแก้ว(เก่า) แห่งที่ 1 ที่อยู่ในบริเวณสวนสัตว์สระแก้ว และมีการต่อท่อมายังสระแก้วแห่งที่ 2 คือวงเวียนสระแก้ว(วงเวียนศรีสุริโยทัย) มีการวางท่อน้ำตรงเข้าสู่ตัวเมืองลพบุรี น้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ โดยไหลลงมาจากซอกเขาที่อยู่ในระดับสูงเนื่องจากระยะทางต้นน้ำค่อนข้างไกลมากจึงแบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็ก จนถึงบริเวณท่าศาลา ช่วงที่ 2 จากท่าศาลาถึงตัวเมืองลพบุรี ระหว่างเส้นแนวท่อน้ำเข้าสู่เมืองลพบุรี มีการสร้างท่อ (ปล่อง) ระบายความดันน้ำไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำจะไหลแรง ป้องกันมิให้แรงดันของน้ำสูงเกินไปจนเกินกำลังของท่อดินเผาจากหลักฐานทางโบราณคดียังพบว่าที่ตำหนักท้ายพิกุล

คำอธิบายภาพ

1.รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อดีตเลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

2.รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

3.รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก วสท.

4. ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ 5.ผู้ร่วมเสวนา "ฟังประวัติศาสตร์ กับงานวิศวกรรมสมัยขุนหลวงนารายณ์"

6. วัดไชยวัฒนาราม ฉายโชนภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

7.ประตูพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ สง่างามยิ่งใหญ่

8- 8.1 พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศส ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์

9 หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง

10.ป้อมประตูชัย ที่ ลพบุรี

11..หอดูดาววัดสันเปาโล

12. แผนที่เส้นทางท่อประปาที่น่าศึกษาในลพบุรี

13. ลักษณะท่อประปาและข้อต่อแบบต่างๆ ทำจากดินเผา

14 ท่อประปาดินเผาโบราณที่ขุดพบในบรเวณพระราชวังในลพบุรี

15.การทำอิฐโบราณ

16.พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระนารายณ์ราชนิเวศน์

17.ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง

18.พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือพระตำหนักทะเลชุบศร

HTML::image( HTML::image( HTML::image(