มานิช ถาอ้าย นายกสมาคมครู และบุคลากรทางการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนต้นแก้วผดุงยุค พิทยาลัย กล่าวว่า "บทบาทของครูปฐมวัยนั้น ควรที่จะฝึกเด็กให้มีคิดเป็น เด็กได้มีโอกาสแสดงทางความคิด โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ดี ๆสำหรับเด็กๆนั้นไม่ ใช่แค่การมีพื้นที่ หรือมุมเรียนรู้เพียงอย่างเดียว ครูต้องคำนึงว่าเด็กได้มีโอกาสแสดงออกหรือไม่ เด็กได้มีโอกาสสร้างสรรค์การเล่น การเรียนรู้ของตัวเอง หรือไม่ เด็กในยุค 4.0 ต้องเป็นเด็กที่มีภูมิดี หมายถึง คิดเป็น เลือกเป็น และรู้จักปฏิเสธ"
นอกจากนี้ นวพรรณ เนตรคำ หัวหน้าส่วนบริหารงานทั่วไปสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่า "เด็กไม่ควรอยู่หน้าจอมากเกินไปจะทำให้พัฒนาการด้อยลงไป เด็กต้องมีกิจกรรมทางกาย และที่สำคัญเด็กไม่ควรต้องเป็นฝ่ายรับฟังอย่างเดียว การอยู่หน้าจอ เด็กเป็นเพียงผู้รับ ในเด็กเล็กนั้นต้องมีการปฏิบัติ และครูเป็นผู้ที่คอยชี้แนะ ส่งเสริม และการจัดการเรียนรู้ของครู ต้องมีเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้"
จากการเสวนา แลกเปลี่ยนและจัดนิทรรศการสื่อสร้างสรรค์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่ จาก 9 อำเภอ กว่า 15 บูธ กิจกรรมที่ได้นำสื่อ กระบวนการกิจกรรมาแลกเปลี่ยนถึงกระบวนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น สื่อส่งเสริมพัฒนาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเอาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน มาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีความสุขสนุกสนานในการเล่นและทำกิจกรรมจริงกับผู้ปกครอง และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำเอาการละเล่นกลับไปเล่นกับเพื่อนในชีวิตประจำวันได้ สื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ ด้านสุขภาพ เช่น การเรียนรู้โภชนาการ การปลูกผักด้วยตัวเอง การที่เด็กได้ลงมือเอง เห็นการเจริญเติบโตของผัก ทำให้เด็กมีระเบียบวินัย รับผิดชอบการทำงาน ที่สำคัญส่งผลต่อการกินผักสดเพิ่มขึ้น
วิไล เจริญเนตร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก IT เฉลิมพระเกียรติฯบ้านล้านตอง อ.สันกำแพง กล่าวถึงการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ว่า "การได้แลกเปลี่ยนสื่อ และการทำงานด้วยกัน รวมถึงการได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายการทำงานของครูปฐมวัย ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน และนำไปสู่วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กๆได้ อย่างหลากหลาย" ซึ่ง การขยายความคิดและการสร้างเครือข่ายสื่อสร้างสุข ซึ่งหมายถึง ความสุขที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ นี้ เยาวลักษณ์ คุณยศยิ่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป้าขุย อ.ดอยสะเก็ด กล่าวว่า "ครูน้อยได้นำแนวคิดเรื่องพื้นที่ 3 ดี ไปจัดกระบวนการ โดยเฉพาะพื้นที่ดี สนามแบบพื้นที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการ และมีกิจกรรมทางกาย โดยจัดประจำทุกวันก่อนเข้าห้องเรียนวันละ 15-20 นาที ให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว กล้มเนื้อในท่วงท่าต่างๆ ทั้ง เดิน มุด ปีน ป่าย วิ่งสลับ ผลไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีกล้ามเนื้อ และสุขภาพแข็งแรง ขึ้นยังส่งผลต่อวินัย และการเข้าสังคมของเด็กอีกด้วย ว่วนกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ นำมาต่อยอดด้วยการจัดอบรมแลกเปลี่ยนการทำสื่อหมุนเวียนกันไปในกลุ่มครูปฐมวัยของเชียงใหม่ เป็นการต่อยอดความรู้ สร้างภูมิดีของเด็กร่วมกัน"
สิ่งที่สำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย ยุค 4.0 นั้น แบบ 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี)มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ การส่งเสริมให้เด็กได้มีความสุข สนุกกับการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทั้งทางความคิด ให้เด็กได้มีความฉลาดรู้ ทั้งอาหาร การบริโภค สุขภาพและมีกิจกรรมทางกาย กิจกรรมเคลื่อนไหวที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของวัย ที่สำคัญเด็ก และผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จึงนับได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของเด็กไทยยุค 4.0
HTML::image(