นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรายงานเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ระหว่างปีงบฯ 2562-2564 ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่ 1.พัฒนาถ่ายทอด เผยแพร่องค์ความรู้ด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์สู่ประชาชน 2.ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน 3.สร้างสรรค์ต่อยอด เพิ่มคุณค่าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้และข้อมูล และ 4.พัฒนาศักยภาพและคุณภาพมาตรฐานในการอนุรักษ์และจัดแสดงโบราณวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์ ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้กรมศิลปากร กลับไปเร่งจัดทำแผนพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ โดยให้มีรูปแบบหลากหลาย มีความทันสมัยและเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการ เข้าชม อาทิ ติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศระบบนำชมที่ทันสมัยและประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ไปรวบรวมข้อมูล สำรวจพื้นที่และความคิดเห็นของประชาชนในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดที่ยังไม่มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โดยให้เป็นไปตามความเหมาะสมและได้รับการสนับสนุนจากชุมชน
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นที่ประชุมให้ กรมศิลปากร สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บริเวณพื้นที่ด้านล่างปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับปราสาทหินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านที่มีความเป็นมาเชื่อมโยง อาทิ ปราสาทนครวัด ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น รวมถึงศึกษาการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใน จ.ชัยภูมิด้วย นอกจากนี้ ได้ให้ กรมศิลปากร ไปวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติมในพื้นที่ ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี อาทิ พิพิธภัณฑ์มรดกโลก พิพิธภัณฑ์ช่างสิบหมู่พิพิธภัณฑ์ผังเมืองทั่วโลกและผังเมืองในประเทศไทย เป็นต้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมระดับโลก และร่วมมือกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในการวิเคราะห์และจัดทำแผนปรับปรุงหออัครศิลปินด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit