สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ องค์กรที่อุทิศตนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของระบบนิเวศ เช่น ป่าชายเลน ทุ่งหญ้าทะเล และที่ราบลุ่มน้ำเค็ม ได้แสดงความคิดเห็นถึงความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนที่จะสามารถรักษาท้องทะเลและชายฝั่ง ณ งานประชุมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมาดร. วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ เน้นถึงความสำคัญของท้องทะเลและชายฝั่งที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยตรงและผ่านทางการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความท้าทายมากมายที่รอความช่วยเหลือจากการร่วมมือกันของหน่วยงานต่าง ๆ
"ระบบนิเวศชายฝั่งมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เฉพาะทางตรงที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ อีกทั้งระบบนิเวศชายฝั่งยังเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลกโดยเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนและช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย" ดร. วิทย์กล่าว
"ซึ่งระบบนิเวศชายฝั่งนั้นต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายฝั่งที่เสื่อมโทรม เช่น การทำวิจัยเพิ่มความความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องมลพิษ การเปลี่ยนแปลงวิธีกำจัดของเสีย การทำลงพื้นที่จริงในการทำความสะอาดและการเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่น ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย"
การประชุมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ปทุมวันในครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับโครงการ Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 80 คนเข้าร่วมงาน ทั้งตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานจากภาคเอกชน เช่น ดร. นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม ดร. เจซิก้า แอลซิเวอร์ (Dr. Jessica Alvsilver) ผู้แทนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) นายสุรพล ดวงแข ประธานกรรการกลั่นกรองโครงการด้านการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม และนายเดชา ศิริภัทร ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิข้าวขวัญ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit