หลังจาก เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook นำเสนอสกู๊ป กระตุ้นเตือนแนวทางการรณรงค์การเลิกสูหรี่มวนในไทยเพราะมองว่าการรณรงค์ที่ผ่านมามีข้อบกพร่องหลายจุด แต่สิ่งที่ กระทรวงสาธารณสุข เพิกเฉยต่อประเด็นสำคัญนี้ นับจากผลงานวิจัยต่างๆ ได้ถูกปรู๊ฟ ( Proof ) จากหน่วยงานระดับโลกซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ไม่มีใครที่จะกล้านำมาดีเบต แม้จะขอท้ากระทรวงสาธารณสุข ที่จะออกมาดีเบตด้วยข้อเท็จจริง
โดย เราเน้นย้ำว่า องค์การอนามัยโลก ได้ให้นโยบายทุกประเทศไปดำเนิน คือ "การใช้มาตรการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ สุขภาพที่เกิดจากยาสูบ" ในแคมเปญ World No Tobacco Day ปี 2561 นี้
WHO ให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกว่า Tobacco Break Heart หรือ หยุดโรคหัวใจด้วยการงดเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยระหว่างที่เราลงพื้นที่ศึกษา เก็บข้อมูล เรื่องของสุขภาพ หัวข้อ "สาเหตุการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในไทยประสบความล้มเหลวอย่างมีนัยยะ" ซึ่งหลังจากทราบว่า ประเทศไทยรณรงค์แบบผิดเป้าหมายมาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นเน้นเรื่องการสูบบุหรี่ การออกกฎหมายควบคุมยาสูบที่ไม่ได้ผล การใช้ภาพหวังสร้างความน่ากลัว การไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ให้คนไทยมาใช้โดยอ้างเยาวชน ฯลฯ
สื่งต่างๆ เหล่านี้อนาคตข้างหน้า การบ้านการเมืองไม่มีอะไรแน่นอน จะต้องมีคนรับผิดชอบ เช็คบิลย้อนหลังแน่ๆ โทษฐานกีดกันการเข้าถึง "ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ" การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ดำเนินการมาแล้วกว่า 10 ปี มีการบินไปประชุมต่างประเทศ มีการใช้เงินผลิตสื่อรณรงค์ การงดสูบบุหรี่ ทั้งแผ่นพับ สติ๊กเกอร์ ป้ายขนาดใหญ่ เสื้อ จำนวนมหาศาล และมี กิจกรรมประกวดสื่อรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ใช้จ่ายเงินอีกมากมาย
แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้สูบบุหรี่ไม่ได้ลดน้อยลงอย่างมีนัยยะเลย ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานหลักคือ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สำนักงานตั้งอยู่ถนนประดิพัทธ์ มารับงานดำเนินการด้านนี้แบบผูกขาด ซึ่งมีการรับเงินมาจาก กองทุน สสส.ที่ได้มาจากภาษีเหล้า และ บุหรี่ หากจะตีความตรงๆ ว่า เงินที่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่ดำเนินการใช้จ่ายมาจากไหน ก็มาจากภาษีเหล้า และ บุหรี่ นั่นเอง ต้องบอกว่าตัวผู้เขียนเองได้สัมผัสงานวันงดสูบบุหรี่โลกมากว่า 10 ปี เช่นกัน ตั้งแต่สมัย นายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ เป็น อธิบดีกรมควบคุมโรค และ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง
ช่วงนั้นดูเหมือนจะได้ผลดีกว่าตอนนี้ด้วยซ้ำ แต่ระยะยาวมาตรการที่ออกมากลับกลายไม่ได้ผล ทำงานย้ำอยู่กับที่ เหตุจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้เราอยู่ในโลกยุคใหม่ ดังนั้นการรณรงค์จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ ทำงานเชิงรุกมากกว่าทุกวันนี้ แม้ว่าจะทำงานไม่ได้ผล แทนที่จะยุบหน่วยงานนี้ไป แต่กลับมีหน่วยงาน "รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน โดยจากการตรวจสอบพบว่ามีแพทย์จากกลุ่มเอ็นจีโอ , แพทย์จากหน่วยงานแพทยหน่วยงานหนึ่ง , อดีตอธิบดีกระทรวงสาธารณสุข เข้ามารับงาน โดยใช้งบของ สปสช.และ กองทุน สสส.ไปบริหารจัดการแบบไร้การตรวจสอบ เช่น หน่วยงานที่จัดตั้งบนตึก "เอสเอ็มทาวเวอร์" ซึ่งหลายๆ คนอยากจะทราบผลการดำเนินงานว่าได้ผลแค่ไหน
ล่าสุด มีข่าวออกมาจากเว็บไซต์หนึ่งว่า "มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" แนะรัฐปรับโครงสร้างภาษียาเส้นเทียบเท่าบุหรี่ หลังคนหันมาสูบยาเส้นแทนเพิ่มขึ้น ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ระบุว่า จะขึ้นภาษีสรรพสามิตยาเส้น ยาสูบ
ทั้งนี้ เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม เราพบว่ามีการขายกันแบบไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ใส่ถาดวางขายกันราวกับสินค้าโอท็อป มีการผลิตแบบไร้การบังคับใช้ ก.ม.เราพบยาเส้นตามร้านโชห่วยมากที่สุด ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ บางยี่ห้อก็แปลกๆ ผลิตแบบง่ายๆ ยัดใส่ถุงพลาสติกขายแบบสบายใจ อันนี้ก็สอดคล้องกับที่เราลงพื้นที่ศึกษา เก็บข้อมูล เรื่องของสุขภาพ หัวข้อ "สาเหตุการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในไทยประสบความล้มเหลวอย่างมีนัยยะ" ที่งงคือทำไม ก่อนหน้านี้ไม่พุ่งเป้าไปที่ "ยาสูบ ยาเส้น" ในเมื่อรู้ทั้งรู้ว่า "เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูบยาเส้นมวนเอง" แต่หมอกลับมารณรงค์บุหรี่มวน แถมยังให้ข้อมูลผิดๆ เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้คนไทยมองบุหรี่ไฟฟ้าผิด มีทัศคติไม่ดี ทั้งๆ ที่ผ่านการได้ศึกษาวิจัยซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นผลงานวิจัยเชิงประจักษ์ ไทยกลับสร้างภาพที่น่าหวาดกลัว ออกข่าวเท็จเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า จนทำให้กระบวนการยุติธรรมผิดเพี้ยนไปด้วย เพราะกฎหมายที่มีตอนนี้คือ กฎหมายศุลากร ไม่เกี่ยวกับการตรวจเจอบุหรี่ไฟฟ้าแล้วจะต้องเป็นข่าวใหญ่โต ให้ฝรั่งหัวเราะเยาะว่าไทยเกิดอะไรขึ้น ที่นี่หันมาดูว่า ทำไมเราจึงอยากให้เปลี่ยน "แนวทางการรณรงค์การเลิกสูหรี่มวนในไทย"
จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรในประเทศไทยปีล่าสุด (พ.ศ.2560) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นมีจำนวน 10.7 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้สูบประจำ 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 19.1% ของประชากรซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่ลดลงไม่มาก มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ควันบุหรี่ เป็นอันตรายต่อร่างกาย และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรคที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ อาทิ โรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง โรคถุงลมปอดพอง เป็นต้น ในแต่ละปีคนไทยเสียชีวิตปีละ 50,710 คนจากโรคที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และมีผู้ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองประมาณ 17.3ล้านคน การศึกษาภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพประชากรไทย พบว่าประเทศไทยสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในปี พ.ศ.2552 เป็นเงิน 74,000 ล้านบาท หรือ 0.78 % ของ GDP ของประเทศ ความสูญเสียจากโรคอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่และการสัมผัสควันบุหรี่ และภาระที่ผู้ป่วยและรัฐบาลต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากงบประมาณด้านสาธารณสุขไทยมีจำกัด สิ่งที่ต้องนำมาเป็นหัวข้อสาเหตุ และ ทางแก้ คือนำประเด็นสำคัญๆ เช่น "ควันบุหรี่" เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่ คือ สารประกอบอันตรายที่อยู่ในควันซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของมวนบุหรี่ เมื่อบุหรี่เกิดการเผาไหม้ ผู้สูบบุหรี่ จะได้รับสารอันตรายกว่า 7 พันชนิดที่อยู่ในควันบุหรี่ ซึ่งสารอันตรายเหล่านั้น กว่า 70 ชนิด เช่น ฟอร์มัลดีไฮน์ สารตะกั่ว อาร์ซีนิค ( สารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ) เป็นสารอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งโดยต้องเข้าใจว่า "นิโคติน" เป็นสารที่ก่อให้เกิดการเสพติด แต่ไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการเกิดโรค อย่างไรก็ตาม นิโคตินก็มีความเสี่ยง แต่ควรให้ข้อมูลอย่างตรงไป ตรงมา เพราะที่ผ่านมา "นิโคติน" กลายเป็นสารที่เหมือน แพะรับบาป อยู่ฝ่ายเดียว
สิ่งที่ต้องแนะนำคือ เยาวชน สตรีมีครรภ์ และบุคคลบางกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคติน การใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนเพื่อเป็น ตัวช่วยสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่โดยทำให้ร่างกายได้รับนิโคติน แต่ไม่มีสารพิษจากการเผาไหม้ เป็นหนึ่งในวิธีการเลิกบุหรี่ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป วิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอันตรายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่สำหรับผู้สูบบุหรี่ คือ การเลิกบุหรี่ และสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ คือ การไม่ริเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ต้น
ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ ตระหนักดีว่า "การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้" กลุ่มนี้คือผู้ที่ยังเสพติดบุหรี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเสพติด ทั้งพฤติกรรมการสูบ และนิโคติน จึงมีความต้องการนิโคตินเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายและจิตใจวิธีการเลิกบุหรี่ที่ใช้กันทั่วไปยังได้ผลสำเร็จจริงหรือ ? อันนี้ต้องบอกว่าเมืองไทยยังทำงานลักษณะ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" เพราะเป็นการทำงานแบบเทศกาล เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ เนื่องจากวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม ทุกๆ ปี ยังยำข่าวแจก ออกมาให้สื่อมวลชนก็อปปี้ไปวาง ขาดการอัพเดท วิเคราะห์ นักข่าวถูกควบคุมด้วยข่าวแจก
โดยการเลิกสูบบุหรี่มีหลายวิธี ทั้งการหักดิบด้วยตัวเอง การเข้ารับบริการในคลินิกอดบุหรี่ การใช้ยาอดบุหรี่ และการใช้สารทดแทนนิโคติน เช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะ หรือ ยาสูดพ่น ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับนิโคตินตามที่ร่างกายต้องการ แต่ไม่มีสารพิษจากควันบุหรี่รวมทั้งการรับคำปรึกษาจากคลินิกเลิกบุหรี่
สถาบันมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร ( Cancer Research UK : CRUK) ระบุว่าวิธีการเลิกบุหรี่ที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด คือ การใช้ยาร่วมกับการได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ในขณะที่การใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ก็ยังมีโอกาสเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่าการหักดิบเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าต้องมีเสียงบอกว่า "คนเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยการหักดิบ" มีหลายคน แต่หากเทียบกับคนที่กำลังเลิกสูบบุหรี่ มันคุ้มหรือไม่ กับการต้องรอให้ "คนเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยการหักดิบ" ปีละไม่กี่คน นำมาอ้าง หรือ นำมาเป็นเคสตัวอย่างขึ้นเวทีเสวนาเล่าให้ฟัง ซึ่งปีนี้ก็เช่นเดียวกัน ต้องทนกับสิ่งที่เสียเวลาเหล่านี้อีกสองหน่วยงานที่สำคัญ กรมควบคุมโรค และ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่มีงบประมาณจำนวนมาก หลายประเด็นทำงานซ้ำซ้อนกัน และ หากปีนี้รณรงค์แล้วยังไม่ได้ผล กรมควบคุมโรค และ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จะรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้สูบบุหรี่ และเสียชีวิตอย่างไรบ้าง ปีนี้คือปีสุดท้ายในการให้โอกาสการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพราะหากทำแล้วล้มเหลว ขอให้ถอนตัวออกมา ยังมีอีกหลายๆ คน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ คนเก่ง ทำงานด้านนี้ได้ โปรดถอนตัวออกมาเถอะครับ เพราะท่านๆ ก็ชราภาพกันมากแล้ว สงสารเวลาต้องออกงาน หรือ นั่งเครื่องบินไปเที่ยว หรือ ประชุมต่างประเทศจริงๆ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit