ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลที่ประชุมกล่าวถึงประเด็นค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมทั้งราคายางที่ผันผวนในกลุ่มประเทศผู้ผลิต และผู้ใช้ยาง ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่ที่ประชุมมองว่า ยังเป็นการสร้างโอกาสและความท้าทายให้กับอุตสาหกรรมยางพารา ที่จำเป็นต้องหาผู้ประกอบการที่สามารถป้อนวัตถุดิบสู่โรงงานอุตสาหกรรมในลักษณะการร่วมทุน เพื่อดำเนินการธุรกิจ มีผลประกอบการร่วมกัน และขณะนี้ ทั่วโลกกำลังการเข้าสู่ในยุคเศรษฐกิจที่มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จำเป็นที่ประเทศต่างๆ จะต้องสร้างกลไกในการแบ่งปันและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศระหว่างกัน พร้อมกับขยายช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและร่วมมือกันหากจะต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตในด้านต่างๆ ทั้งนี้ มากกว่า 80-85% ของยางธรรมชาติทั่วโลก เป็นการผลิตและการนำไปใช้จากหลายประเทศที่อยู่ตามเส้นทางสายไหมของจีนที่มีทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง ซึ่งควรจะเป็นผู้กำหนดราคาได้เอง ดังนั้น ควรมีการต่อต้านหรือยุติการเก็งกำไรและการคาดการณ์ที่ส่งผลต่อราคายาง และสนับสนุนให้มีการสร้างกลไกการกำหนดราคาอย่างเป็นธรรม
ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังมีข้อตกลงร่วมกันในการลงทุนการวิจัยและพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางในทุกๆ ด้าน เช่น การเพิ่มทักษะการกรีดยางของคนกรีดยาง การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตดีที่สุด หรือเหมาะสมในแต่ละพื้นปลูกยาง เทคนิคการแปรรูป การนำวัตถุดิบไปใช้ในรูปแบบใหม่ๆ
"การประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า เวทีนี้ประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบัน และเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงอุตสาหกรรมยางพารา พร้อมจะจัดขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป และต้องการให้ภาครัฐในพื้นที่ที่มีการปลูกยาง หรือ หน่วยงานของรัฐบาลกลางเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม เพื่อหารือระหว่างผู้ประกอบการยางพารา สมาคมยางพารา และองค์กรรัฐบาลของประเทศผู้ปลูกยางพาราเป็นหลัก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และการพัฒนาร่วมกันของผู้ประกอบการ ทั้งในส่วนผู้ผลิต และผู้บริโภค"
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit