ในครั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้พาคณะอาจารย์มากความสามารถและศิลปิน ร่วมลงพื้นที่พัฒนาชุมชน นำโดยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ชมโรงงานทอผ้าบ้าน 'อุตมะไหมไทย' ผ้าไหมแห่งละครนาคี และผ้าไหมพื้นเมืองจากกลุ่มทอผ้าในชุมชน โดยกล่าวถึงกิจกรรมและความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้ว่า "เราอยากยกระดับชุมชน เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนโดยผ่านการท่องเที่ยวที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งที่ชุมชนตำบลสวายมีความโดดเด่นในเรื่องของผ้าไหม อย่างวันนี้ที่ไปมาคือบ้านอุตมะไหมไทย เป็นบ้านที่ทอผ้าไหมให้กับละครเรื่องนาคี ซึ่งถ้ามาเที่ยวภายในชุมชนท่านจะได้รับความสนุก สบาย อาหารอร่อย นี่แหละค่ะที่เป็นเสน่ห์ของชุมชน ททท.ขอเชิญชวนทุกท่าน ในเมื่อเป็น Village To The Worldแล้วก็อยากเชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาสัมผัสชุมชน เพราะเมืองไทยเป็นต้นตำรับของการท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ดีมากของโลก ซึ่งไม่ใช่แค่ที่ชุมชนตำบลสวายเท่านั้นนะคะ ในกิจกรรม Village Tourism 4.0 มีทั้งหมด 10 ชุมชนด้วยกัน ขอเชิญชวนให้ลองไปเที่ยวกันค่ะ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.tourismthailand.org/villagetourism ค่ะ"
ปัจจุบันชุมชนตำบลสวาย ได้กลายเป็นชุมชนทอผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุรินทร์ เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนผ้าไหมไทย ที่ใหญ่ระดับประเทศ ด้วยการอนุรักษ์วิถีทอผ้าใต้ถุนเรือน ซึ่งผ้าไหมนั้นมีลวดลายที่สวยงามเช่น ลายลูกแก้ว ลายมัดหมี่ ลายรูปช้าง ลายดอกมะเขือ และลายต่าง ๆ ซึ่งการทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ มีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ต้องใช้ความสามารถและอาศัยทักษะความชำนาญอย่างยิ่งในการทอ เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่น ซึ่งมีการทอที่เดียวในประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ การมีมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์นั้นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
นอกจากจะโดดเด่นเรื่องผ้าไหมแล้ว ภายในชุมชนยังมีกิจกรรมอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือเที่ยวชมธรรมชาติในลำน้ำชี นมัสการพระดินปั้นพันปี ซึ่งเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านศรัทธาและนับถือ แม้ว่าสุรินทร์จะเป็นเมืองช้าง แต่ในชุมชนตำบลสวายนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เห็นภาพวัวนับพันตัว ที่ชาวบ้านเลี้ยงด้วยวิถีแบบชาวบ้าน นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีแปลงผัก ที่ปลูกแบบวิถีเกษตรอินทรีย์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถร่วมเก็บผักกับชาวบ้านและนำมาประกอบอาหารทานได้อีกด้วย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit