นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้จากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล นราธิวาส นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และกระบี่ รวม 101 อำเภอ 649 ตำบล 4,338 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 256,447 ครัวเรือน 805,220 คน เสียชีวิต 5 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 1 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด รวม 96 อำเภอ 637 ตำบล 4,289 หมู่บ้าน 255,519 ครัวเรือน 800,432 คน ประกอบด้วย ลุ่มน้ำปัตตานี 2 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี อำเภอปะนาเระ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอแม่ลาน อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ และอำเภอกะพ้อ รวม 9106 ตำบล 571หมู่บ้าน 20 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,512 ครัวเรือน 55,662 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ยะลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอเบตง รวม 56 ตำบล 299 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29,934 ครัวเรือน 111,301 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอนาหม่อม อำเภอสทิงพระ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอรัตภูมิ อำเภอนาทวี อำเภอนางกล่ำ อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอระโนด อำเภอสะเดา และอำเภอเมืองสงขลา รวม 123 ตำบล 911 หมู่บ้าน 94 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,078 ครัวเรือน 202,828 คน เสียชีวิต 2 ราย พัทลุง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอศรีบรรพต อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าพะยอม อำเภอป่าบอน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอตะโหมด รวม 65 ตำบล 651 หมู่บ้าน 19 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 38,517 ครัวเรือน 119,424 คน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 2 จังหวัด ได้แก่ ตรัง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน อำเภอวังวิเศษ อำเภอกันตัง อำเภอรัษฎา และอำเภอย่านตาขาว รวม 55 ตำบล 384 หมู่บ้าน 12 ชุมชน ประชาชนได้รับ 16,398 ครัวเรือน 50,467 คน สตูล น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละงู และอำเภอมะนัง รวม 6 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 690ครัวเรือน 2,115 คน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุคิริน อำเภอระแงะ อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอตากใบ อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก – ลก และอำเภอแว้ง รวม 75 ตำบล 532 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,936 ครัวเรือน 109,948 คน นครศรีธรรมราช น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอบางขัน อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอทุ่งสง อำเภอปากพนัง อำเภอพิปูน อำเภอสิชล อำเภอเมืองนครศรีธรราช อำเภอนาบอน อำเภอฉวาง อำเภอลานสกา อำเภอนบพิตำ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพรหมคีรี อำเภอพระพรหม และอำเภอทุ่งใหญ่ รวม 128 ตำบล 828 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 43,212 ครัวเรือน 119,291 คน ลุ่มน้ำตาปี 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอเกาะสมุย รวม 23 ตำบล 71 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,565 ครัวเรือน 8,484 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตระดมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยทั้งเต็นท์ที่พัก รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถบรรทุก รถสุขาเคลื่อนที่ เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป