นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า รถล้อเลื่อนไม้หรือฟอร์มูล่าม้ง เป็นกิจกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นอกจากจะก่อให้เกิดความรักในถิ่นฐานแล้วยังกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สามารถต่อยอดไปถึงการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน เจอร์ไฮจึงต้องการร่วมอนุรักษ์ไว้ซึ่งกีฬาการละเล่นที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมนี้ และเป็นที่มาของการจัดการแข่งขัน "รถล้อเลื่อนไม้ ฟอร์มูล่าม้ง 2017" ครั้งที่ 1 (1st Hmong Wooden Cart Formula Racing 2017) ขึ้น ณ ดอยม่อนแจ่ม จ.เชียงใหม่
การแข่งขันดังกล่าวมีผู้เข้าแข่งขันเป็นชาวเขาเผ่าม้งรวม 32 คน จากเครือข่ายชุมชนชาวม้ง 13 หมู่บ้าน โดยมีรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศในหลายประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล ประเภทหมู่บ้าน และประเภทกองเชียร์ รวมเงินรางวัลราว 300,000 บาท และใช้กติกาการแข่งขัน แบบจับสลากแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม และใช้วิธีแข่งแบบประกบคู่ แพ้คัดออกจนได้ผู้ชนะในแต่ละกลุ่มมาประกบคู่กันอีกจนถึงคู่ชิงชนะเลิศ
นอกจากการสนับสนุนรางวัลการแข่งขันแล้ว บริษัทฯยังสนับสนุนการสร้างรายได้เพื่อนำไปพัฒนาชุมชน โดยนำผลิตภัณฑ์คุณภาพจากเครือซีพีเอฟ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ ซีพี เอเอ บีเคพี ซีพีคอนซูเมอร์ เชสเตอร์ ไก่ย่างห้าดาว และซีพีเมจิ มูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท มอบให้กับกลุ่มสมาคมแม่บ้าน โรงเรียน และชมรมการท่องเที่ยว ดอยม่อนแจ่ม จ.เชียงใหม่ นำไปจำหน่ายภายในงาน เพื่อนำรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไปพัฒนาชุมชนต่อไป
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารสุนัข "เจอร์ไฮ" เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารและขนมสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพ และผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าอาหารมนุษย์ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากคนรักน้องสุนัข ดังสโลแกนที่ว่า Feed me with Love ขณะเดียวกัน "เจอร์ไฮ" ยังคงมุ่งมั่นจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมในหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรักในเพื่อนแท้สี่ขา ความรักในเพื่อนมนุษย์ และความรักในสังคมโลก
อนึ่ง "รถล้อเลื่อนไม้" หรือเรียกกันติดปากว่า "ฟอร์มูล่าม้ง" ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวเขาที่ดัดแปลงมาจากรถเข็นผลผลิตทางการเกษตร แต่ปัจจุบันรถล้อเลื่อนไม้นี้ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์และจักรยานยนต์ไปแล้ว เหลือเพียงการละเล่นและแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนานในหมู่เพื่อนฝูงกลุ่มเล็กๆภายในหมู่บ้าน และขยายเป็นการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้าน โดยผู้เข้าแข่งขันหรือนักแข่ง"รถล้อเลื่อนไม้" ต้องอาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การผลิตรถล้อเลื่อนไม้สำหรับการแข่งขันที่จะไม่สามารถใช้เครื่องยนต์ กลไกมอเตอร์ หรือลูกปืนใดๆได้นอกจากไม้ รวมถึงความสามารถในการบังคับรถบนเส้นทางการแข่งที่เป็นทางลงเขาและโค้งลาดชันราว 300 เมตร กิจกรรมนี้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและสร้างสีสันความสนุกสนานท่ามกลางบรรยากาศอันหนาวเย็นของดอยม่อนแจ่มเป็นประจำทุกปี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit