บริษัทหลักทรัพย์ ยูบีเอส เอเชีย จำกัด (UBS Securities Asia Limited) สถาบันการเงิน การบริหารความมั่งคั่ง และการบริหารจัดการสินทรัพย์ระดับโลกจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้จัดทำรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยปี 2561 ระบุทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีหน้ายอดการลงทุนในประเทศไทยจะโตขึ้น 5.9% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555
ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2561
คาดว่ายอดการลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ซึ่งถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 ในขณะเดียวกันสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไตรมาสสุดท้ายปี2560 ยังคงพุ่งสูงขึ้น ด้านธนาคารพานิชย์ยังคงพร้อมปล่อยสินเชื่อส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น เราให้ความเชื่อมั่นสูงสุดต่อภาคธนาคารของไทยที่จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในปี 2561
อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2561
เราคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25bps ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2561 ด้วยการอ้างอิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี เราเชื่อว่าเวลาจะพิสูจน์ให้เห็นจุดต่ำสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.6 ในปี พ.ศ. 2561 ประเด็นนี้มีความสำคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาตราสารทุนในช่วงสองปีที่ผ่านมาอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นปัจจุบันเทียบกับกำไรต่อหุ้น การเติบโตดังกล่าวมีความเชื่อมโยงในทางตรงข้ามกับผลตอบแทนพันธบัตร ถ้าเราประเมินถูกต้อง ขอบเขตของการเพิ่มขึ้นอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นปัจจุบันเทียบกับกำไรต่อหุ้นในปี พ.ศ. 2561 จะมีจำกัด ซึ่งนับเป็นความท้าทายของตราสารทุน
ตราสารทุนส่งผลให้จีดีพีเติบโตต่ำกว่ามาตรฐานในปี พ.ศ. 2559/2560 ความท้าทายเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2561
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 33 ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเป็นหนึ่งในดัชนีหุ้นที่มีผลงานดีที่สุดในอาเซียน ถึงแม้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยจะต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าแรงหนุนจากปี พ.ศ. 2559/2560 จะกลายเป็นความท้าทายในปี พ.ศ. 2561 การประเมินสถานการณ์แบบกลางๆ ของเราพบว่า "ความท้าทาย"
เหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะไม่ส่งผลรุนแรง การวิเคราะห์ของเราด้วยโครงสร้างบนลงล่างในตลาดหลักทรัพย์คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 9 ตลอดปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 2.6 และส่วนชดเชยความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ทำให้เรากำหนดเป้าหมายที่ 1,755 จุด อย่างไรก็ตาม สมมติฐานนี้มีความเสี่ยงหลายด้าน การมองสถานการณ์แบบกลางๆ ของเราประกอบด้วยสถานการณ์ที่ดีที่สุดและเลวร้ายที่สุด ซึ่งอยู่ที่ 1,842 จุดและ 1,526 จุดตามลำดับ
ปรับการประเมินอัตราดอกเบี้ยธปท. และการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์-บาท
ค่าเงินบาทแข็งขึ้นกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และถึงแม้ธปท. ยืนยันนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (ไม่เหนือความคาดหมายสำหรับเรา) แต่เรามีความเชื่อมั่นน้อยลงในความสามารถของธปท. ในปี พ.ศ. 2561 ที่จะเดินหน้าใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ย "แบบปกติ" เราปรับการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์-บาทของเราเป็น 33.5 และ 34.5 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 และปลายปี พ.ศ. 2561 ตามลำดับ (ปรับจาก 35 และ 36) เรายังคาดการณ์ด้วยว่า ธปท. จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bp เพียงครั้งเดียวในปี พ.ศ. 2561 แทนที่จะเป็นการปรับสองครั้งตามที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ เรามีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์สำหรับประเด็นหลังโดยเสียงส่วนใหญ่มองว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเรามองว่า ธปท. มีความลำเอียงต่อการใช้นโยบายแบบปกติ
เงินบาทแข็งค่ากว่าการคาดการณ์
เราเคยคาดการณ์ว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงในช่วงปลายปีนี้ โดยมีสาเหตุมาจาก i.) การส่งออกจะชะลอตัว และเกิดผลเสียที่เหนือความคาดหมาย (ตารางที่ 1) ii.) งบดุลบัญชีเดินสะพัดจะเริ่มปรับตัวลดลง (ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ถดถอย ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้น) และ iii.) เงื่อนไขทางการเงินจากภายนอกมีความยากลำบากมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบัน ผลลัพธ์เหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น การเติบโตด้านการส่งออกยังไม่เกิดผลเสียจนเกินความคาดหมาย ผนวกกับการลงทุนที่น้อยทำให้บัญชีเดินสะพัดยังคงแข็งแกร่ง (ตารางที่ 2) และเงื่อนไขทางการเงินจากภายนอกยังคงไม่รุนแรง
เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2561
เราคาดการณ์ว่า การเติบโตที่แท้จริงของจีดีพีจะชะลอตัวเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 หลังจากขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเกินความคาดหมายในปี พ.ศ. 2560 เราประเมินการเติบโตที่ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 3.4 ในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 หลังจากเติบโตร้อยละ 3.7 ในปี พ.ศ. 2560 การเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคการค้าและเกษตรกรรมในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 จะลดลงเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2561
ตามแนวโน้มระดับโลกและระดับภูมิภาค เราคาดว่าการส่งออกจะมีอัตราเติบโตปานกลางหลังจากมีความแข็งแกร่งเกินคาดในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม การเติบโตจะอยู่ที่ระดับเลขตัวเดียวช่วง
กลาง – ไม่ใช่การเติบโตเป็นศูนย์หรือติดลบเหมือนการส่งออกดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปีหลังสุด การขยายตัวของภาคการค้าและการลงทุนสาธารณะที่มีความจำเป็นก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รวมถึงวงจรสินเชื่อที่ปรับตัวดีขึ้นจะช่วยให้การเติบโตขององค์กรภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นจากภาวะถดถอยก่อนหน้านี้ (สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าชมรายงานของเรา APAC Economic Comment, Thailand: Green ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561) เราเชื่อว่าความเต็มใจปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธนาคารบางส่วนจะช่วยชดเชยแรงฉุดที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (ดูด้านล่าง) และสนับสนุนวงจรสินเชื่อให้ปรับตัวดีขึ้น ความเสี่ยงสำคัญภายในประเทศที่มีต่อการคาดการณ์ของเราถึงการเติบโตทางการลงทุนที่แท้จริง 5.9 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2561 (สูงสุดในรอบ 6 ปี) คือปัญหาคุณภาพของสินทรัพย์ที่ทำให้วงจรสินเชื่อตกต่ำ
การเติบโตด้านการบริโภคได้แรงกระตุ้นจากรายได้ทางการเกษตรในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 พร้อมกับได้แรงส่งเสริมจากการเต็มใจใช้จ่ายในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการสิ้นสุดช่วงถวายความอาลัย ตลาดแรงงานที่ซบเซาเกิดจากการเติบโตทางการจ้างงานที่ติดลบ และการเติบโตของรายได้ที่เกือบเป็นศูนย์ซึ่งจำกัดการคาดการณ์ด้านบวกของเรา ถึงแม้เราจะตระหนักถึงความเสี่ยงด้านบวกต่อการประเมินของเราเนื่องจากทั้งความเต็มใจที่จะใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลังจากสิ้นสุดช่วงถวายความอาลัยและข้อมูลตลาดแรงงานที่มีอยู่อาจแสดงถึงภาพด้านลบของรายได้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง
เราคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มจากร้อยละ 0.7 ในปี พ.ศ. 2560 เป็นร้อยละ 1.3 ในปี พ.ศ. 2561 ถ้าข้อมูลตลาดแรงงานถูกต้อง ปัจจัยคือการเติบโตของผลิตภาพตามวงจรที่มีความแข็งแกร่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2560 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) และแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่าราคาสินค้าอาหาร (ร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560) จะมีแรงฉุดต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี พ.ศ. 2561 น้อยลง เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560
การกำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อไม่นานนี้พิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายงาน APAC Economic Comment, Thailand: Less baht weakness, less BoT hikes วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเงิน การใช้ทรัพยากรและความเสมอภาคของรายได้ เราคาดคะเนว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. อาจกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้ในอดีตถ้าไม่ใช่เป็นเพราะเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและความกังวลขององค์กรธุรกิจ โดยในอดีตที่ผ่านมา เราคิดว่าธปท. จะอ้างว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุของการกำหนดนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินบาทที่อ่อนค่าลงหรือความกังวลต่อค่าเงินบาทอาจถูกใช้เป็นสาเหตุในการใช้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เรามองว่าในปี พ.ศ. 2561 นโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเฟด ฟันด์ (Fed Funds) อยู่เหนือกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของธปท. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่คือการคาดการณ์เป็นส่วนใหญ่และการมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่แข็งแกร่ง (แต่หดตัว) อยู่ที่ ร้อยละ 8.5 ของจีดีพีในปี พ.ศ. 2561 เราคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยไปอยู่ที่ 34.5 บาทภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2561 อย่างไรก็ตาม นั่นเพียงพอแล้วที่ธปท. จะใช้โอกาสนี้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps เป็นร้อยละ 1.75 ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2561 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของไทยจะถูกดึงรั้งขึ้นโดยผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ แต่ยังคงสะท้อนถึงวงจรการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยธปท. มากกว่าเฟด ดังนั้นจึงยังคงต่ำกว่าผลตอบแทนของดอลลาร์สหรัฐ การประเมินภาพรวมมีความหลากหลาย รัฐบาลกลางคาดว่าภาวะขาดดุลจะหดแคบลงในปี พ.ศ. 2561 แต่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ชี้ว่าค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคจะผลักดันให้ระดับหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นกว่างบประมาณของรัฐบาลกลางแห่งเดียว