สนพ. ลุยตรวจระบบก๊าซชีวภาพ กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เผยหากปรับปรุงตามคำแนะนำ จะช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่าปีละ 24 ล้านบาท

08 Dec 2017
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มอบหมายสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดตามการทำงาน ตรวจเยี่ยม และสำรวจระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ในฟาร์มปศุสัตว์จำนวน 310 แห่ง พบว่าระบบก๊าซชีวภาพยังอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ดี
สนพ. ลุยตรวจระบบก๊าซชีวภาพ กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เผยหากปรับปรุงตามคำแนะนำ จะช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่าปีละ 24 ล้านบาท

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สนพ. ได้ให้การสนับสนุนโครงการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน เริ่มตั้งแต่ปี 2538-2556 มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,164 ฟาร์ม ซึ่งบางฟาร์มมีอายุการใช้งานระบบยาวนานกว่า 10 ปี ทำให้มีประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของระบบก๊าซชีวภาพฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ที่เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ทาง สนพ. จึงได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการตรวจเยี่ยม และสำรวจโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก และโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ที่มีอายุการใช้งานของระบบฯ ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 310 แห่ง เพื่อให้คำแนะนำและฝึกอบรม การดูแลแก้ไขปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบให้กับผู้ประกอบการฟาร์ม แบบ Onsite Training โดยเริ่มเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560

จากผลการสำรวจฟาร์มทั้ง 310 แห่ง พบว่าสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้รวมทั้งสิ้น 24,966,810 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยแบ่งเป็น กลุ่มฟาร์มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของระบบสูงกว่า 80% ของกำลังการผลิต จำนวน 194 ฟาร์ม สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 15,704,040 ลูกบาศก์ เมตรต่อปี และกลุ่มฟาร์มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่ำกว่า 80% ของกำลังการผลิต จำนวน 116 ฟาร์ม สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 9,262,770 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

อย่างไรก็ตาม หากฟาร์มที่อยู่ในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของระบบฯ ต่ำกว่า 80% ของกำลังการผลิต สามารถปรับปรุงระบบตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ที่ได้เข้าฝึกอบรมจากโครงการฯ แบบ Onsite Training เพื่อให้ระบบกลับมาใช้งานได้ หรือทำให้ระบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของกำลังการผลิต จะทำให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นอีก 3,089,290 ลูกบาศก์เมตร/ปี เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 6,178,580 หน่วย/ปี หรือคิดเป็น 24,096,462 บาท/ปี (ค่าไฟฟ้า 3.9 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง) เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 531 ตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี

"ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สนพ. ได้มีการส่งเสริมให้มีการนำของเสีย ทั้งจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม มาผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศได้แล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซมีเทนอันเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน ซึ่งผลที่ได้รับถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก ดังนั้นโรงงานหรือผู้ประกอบการ ควรหมั่นดูแลระบบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานขององค์กรของท่านได้อย่างต่อเนื่อง" ผอ.สนพ. กล่าว

สนพ. ลุยตรวจระบบก๊าซชีวภาพ กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เผยหากปรับปรุงตามคำแนะนำ จะช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่าปีละ 24 ล้านบาท สนพ. ลุยตรวจระบบก๊าซชีวภาพ กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เผยหากปรับปรุงตามคำแนะนำ จะช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่าปีละ 24 ล้านบาท