มร.โทมี่ ลัทวา-คิสโคลา ประธานกลุ่ม เอไอจี ประเทศไทย เปิดเผยว่า "เอไอจีดำเนินการในเชิงรุก โดย เราเป็นเอกชนรายแรกที่ร่วมคิด และลงมือสนับสนุน ร่วมกับชมรมคนห่วงหัว ในมูลนิธิเมาไม่ขับ เพื่อรณรงค์ในเรื่องของการสวมหมวกกันน็อคในเด็กอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 เราเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่เยาวชน เพราะจากสถิติมีเด็กเพียง 7% เท่านั้นที่สวมหมวกกันน็อค การรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นถึงความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อค และต้องยอมรับว่าเด็กที่ไม่สวมหมวกกันน็อค และโชคดีจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีแนวโน้มสูงที่จะไม่สวมหมวกกันน็อคต่อไป"
เอไอจีประเทศไทยเล็งเห็นว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการรณรงค์ และให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน เพราะเมื่อมีความรู้ และเล็งเห็นถึงปัญหาแล้ว ทุกคนจะปฏิบัติในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง ไม่ใช่ปฏิบัติเพราะเกรงกลัวกฏข้อบังคับ เพราะไม่ว่าจะมีกฏข้อบังคับ หรือกฏหมายที่รุนแรงอย่างไร แต่คนไม่คำนึงถึงประโยชน์ หรือโทษของมัน สิ่งนั้นก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
นายชัยฤกษ์ จิตต์แก้ว COO & Head of Personal Insurance Claims ได้กล่าวเสริมว่า เอไอจีได้ดำเนินการรณรงค์ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเราแบ่งกลุ่มการรณรงค์เป็น 2 กลุ่ม คือภายใน และภายนอกองค์กร สำหรับภายในองค์กร เอไอจีเห็นว่า พนักงานภายในองค์กรเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่องค์กรจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด มีการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านกิจกรรมมากมายมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรณรงค์ในเรื่องการการสวมหมวกกันน็อค 100%, การรณรงค์ในเรื่องของเมาไม่ขับ และ การกำหนดกฏข้อบังคับ และบทลงโทษที่เข้มงวดและจริงจัง ส่วนภายนอกองค์กร หรือการออกรณรงค์ในชุมชน เอไอจีดำเนินกิจกรรมมากมายร่วมกับชมรมคนห่วงหัว ในมูลนิธิเมาไม่ขับ ในการรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักและคำนึงถึงความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเน้นไปที่การสวมหมวกกันน็อคในเยาวชน อาทิ โครงการ 30 บาทรักษาทุกหัว, โครงการผู้ว่าห่วงหัว, โครงการกันน็อคให้น้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราได้ลงพื้นที่และรณรงค์อย่างต่อเนื่องจริงจังทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
โดยในปีล่าสุดนี้ เอไอจีได้เริ่มร่วมงานกับคนพิการที่เป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อเป็นฑูตห่วงหัว ออกรณรงค์ในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนนให้กับชุมชน พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน การป้องกัน และการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง รวมไปถึงความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ และมอบหมวกกันน็อคให้กับเด็กๆ ในชุมชน ฑูตห่วงหัวเป็นบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จนเกิดภาวะพิการตลอดชีวิต ซึ่งนี่จะสามารถบอกกล่าวกับชุมชนให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่า หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร จนถึงวันนี้ฑูตห่วงหัวได้ส่งมอบความปลอดภัยไปสู่เด็กในชุมชนแล้วกว่า 2,500 คน
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เอไอจีมุ่งมั่นมาอย่างต่อเนื่อง และจะยังคงมุ่งมั่นต่อไป เพราะนี่ถือเป็นภัยเงียบในสังคม และอาจถือได้ว่าเป็นภัยในระดับนานาชาติ ที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ เห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน นอกจากนั้นในปี พ.ศ.2558 ผู้นำรัฐบาลของหลายประเทศได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และได้ให้การรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 (2030 Agenda for Sustainable Development) หนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) คือ ลดอัตราการเสียชีวิต และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน ปี 2563 สิ่งเหล่านี้ชี้ชัดว่า อัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนนั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกล้วนเล็งเห็น เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลกแล้ว ยังเป็นภาระหนักทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอีกด้วย
สำหรับประเทศไทย รายงาน Global Status Report On Road Safety จากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ชัดว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก นับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีถนนที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และจากจำนวนนี้สัดส่วนของผู้เสียชีวิตเป็นคนขับขี่จักรยานยนต์ สูงถึง 83% เทียบกับประเทศในกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน ประเทศไทยนับว่าสูงที่สุด แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฏหมายให้สวมหมวกกันน็อคทั้งผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนท้าย แต่สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการขับขี่จักรยานยนต์ก็ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลวิจัยชี้ชัดว่ามีเด็กๆ ที่ไม่สวมหมวกกันน็อคสูงถึง 93% ซึ่งทำให้เด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงอันตรายมากที่สุด
ทั้งนี้ เอไอจี เป็นบริษัทประกันภัยเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ โดยได้มีการคัดเลือกจากกว่า 100 ผลงานจาก บุคคล, บริษัท, องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยที่ผ่านมา เอไอจีได้มอบหมวกกันน็อคแก่ชุมชนไปแล้วกว่า 20 จังหวัด จำนวนมากกว่า 25,000 ใบ
"เอไอจีคาดหวังว่าจะมีผู้เห็นความสำคัญโครงการนี้และมาร่วมกันสนับสนุนชมรมคนห่วงหัวอย่างต่อเนื่อง เอไอจียังคงมุ่งมั่นที่จะรณรงค์ บอกต่อ และเล่าเรื่องราวเหล่านี้ออกไปสู่ชุมชน สร้างความตระหนักรู้ ต่อภัยเงียบที่ไม่มีใครคาดถึงนี้ เอไอจี หรือชมรมคนห่วงหัวอาจเป็นเพียงเสียงเล็กๆ ที่ยังไม่เพียงพอ เราต้องการให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ได้เล็งเห็นภัยเงียบเหล่านี้ และมาร่วมรณรงค์ กระตุ้น อย่างต่อเนื่อง และมากพอ การขยายโครงการเช่นนี้ไปยังหน่วยงานอื่นๆ โดยทำไปในทิศทางเดียวกัน และเวลาเดียวกัน สร้างให้เรื่องเหล่านี้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนจะพูดถึง และกระตุ้นเตือนกันเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และเราเอไอจีแม้เป็นเพียงเสียงเล็กๆ แต่เรายังพยายามอย่างมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างกระแสเหล่านี้ให้จงได้" มร.โทมี่ กล่าวปิดท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit