นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ตามแผนการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ในปี 2560 ซึ่งนับเป็นปีแรกของการดำเนินงานภายใต้ แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2560 – 2564 ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน โดยการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ด้วยการสร้างงานสร้างรายได้ พร้อมกับสร้างอาชีพในชุมชน ซึ่งโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาความยากจน ของประชาชนในระดับพื้นที่ เป็นโครงการที่กระตุ้นธุรกิจในท้องถิ่น ให้ชาวบ้านได้พัฒนาภูมิปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดสมัยใหม่
ในการนี้ จังหวัดสมุทรสาคร โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร จึงได้ร่วมกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสมุทรสาคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และผู้ประกอบการผลิตสินค้า OTOP กลุ่ม Quadrant B ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี จึงจัดงาน "OTOP เพชรสมุทรคีรี ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน อัตลักษณ์สู่สากล" ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเพชรสมุทรคีรี กิจกรรมหลักที่ 3 ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกิจกรรมย่อย พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B (เอกลักษณ์) สู่ตลาดสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B ให้มีรูปแบบอัตลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง
ด้านนางสาวนันทนา หวังธงชัยเจริญ พัฒนาการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า "กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทุกระดับ รวมถึงมีธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบจำนวนมาก และมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวนมากถึง 165 ราย หากมีการสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ได้รับการยกระดับในทุกๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และการเพิ่มช่องทางขาย รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B ที่เข้าร่วมโครงการให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้น"
นายอยุทธ์ เตชะสุกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวถึง แนวทางการทำตลาด Premium OTOP ว่า กิจกรรมต่างๆ ของโครงการจะช่วยให้ผู้ผลิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B มีแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยตนเอง และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เมื่อสินค้าได้รับการพัฒนารูปแบบ มีมิติ มีความสร้างสรรค์และมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น กลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป จะมีความชัดเจนและตลาดเป้าหมายมีกำลังซื้อมากขึ้น
การออกแบบ แนวคิด แนวทาง ซึ่งผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมกับเจ้าของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวแต่ละชิ้นงาน "การออกแบบพัฒนาละชิ้นงาน ต้องศึกษาร่วมกันกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ และช่วยมองแนวทางตลาดที่เหมาะสมให้กับสินค้าทั้งหมดมี 25 ผลิตภัณฑ์ แต่ละผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดดเด่น บอกถึง ภูมิปัญญาแนวคิดและวิถีชีวิตของชุมชนที่ผู้ออกแบบตั้งใจแฝงไว้ภายใต้อัตลักษณ์ของแต่ละชิ้นงาน สำหรับงานครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับคุณภาพ และมีชื่อเสียงของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี อาทิ เครื่องประดับไทยประยุกต์ ชุดถาดจิ๊กซอจากไม้ตะบูน เครื่องเบญจรงค์ ดอกไม้จากใบตาล สำเภามหาสมบัติเป่าฉวน ผ้าทอจากบ้านเขาเต่า เครื่องจักสานจากหวาย ผลิตภัณฑ์จากกะลา นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุปโภค บริโภคคุณภาพอื่น ๆ อีกมากมาย จากกลุ่มผู้ประกอบการจังหวัดเพชรสมุทรคีรี
HTML::image(