เกษตรฯ สัญจรกลุ่มอีสานตอนบน แจงนโยบายปฏิรูปเกษตร ขันน็อตกลไกทีมบุ๋น – บู๊ เร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ พร้อมตั้งรองปลัดฯ-อธิบดี-ผู้ตรวจกระทรวงฯ เป็นโค้ชรายจังหวัด ยันไม่มีนโยบายห้ามปลูกยางเพียงให้ทางเลือกเกษตรกรทำการเกษตรอื่นที่มีรายได้ดีกว่า

29 Jan 2018
วันนี้ (29 ม.ค.61) เวลา 09.00 น. นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ร่วมประชุมสัมมนา "การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติ" ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อชี้แจงนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่บูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งหารือร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ในการจัดหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารฝ่ายการเมือง ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดและอำเภอในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ภาคเอกชน ภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 815 คน
เกษตรฯ สัญจรกลุ่มอีสานตอนบน แจงนโยบายปฏิรูปเกษตร ขันน็อตกลไกทีมบุ๋น – บู๊ เร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ พร้อมตั้งรองปลัดฯ-อธิบดี-ผู้ตรวจกระทรวงฯ เป็นโค้ชรายจังหวัด ยันไม่มีนโยบายห้ามปลูกยางเพียงให้ทางเลือกเกษตรกรทำการเกษตรอื่นที่มีรายได้ดีกว่า

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กลไกสำคัญที่จะผลักดันนโยบายในระดับพื้นที่ได้ดีที่สุด คือ บุคลากรในพื้นที่ตั้งแต่ระดับจังหวัด จนถึงตำบล ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับเกษตรกร จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงนโยบายจากส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ดังนั้น การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นจากในพื้นที่ในการขับเคลื่อนนโยบาย ทั้ง 2 ระดับ ได้แก่ ฝ่ายอำนวยการ ได้แก่ คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นเลขานุการ ที่จะต้องนำนโยบายรัฐบาล กระทรวงเกษตรฯ และข้อมูลในพื้นที่มากำหนดยุทธศาสตร์การทำงานทั้งการทำเกษตรกรรมเชิงรุก คือ การสนับสนุนให้ผลิตสินค้าเกษตรใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาดในลักษณะ niche market การแปรรูปเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น โรงคัดแยกที่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ที่ลดการสูญเสียการนำระบบข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมมาใช้ในขั้นตอนการผลิต การแปรรูป และการตลาดเพิ่มขึ้น และการทำเกษตรกรรมเชิงรับ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าที่ทำอยู่เดิม หรือมีความเหมาะสมตามศักยภาพพื้นที่ และกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการเกษตรกรรมพื้นที่อย่างชัดเจน

ขณะที่ฝ่ายปฏิบัติการซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด และคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติการในพื้นที่โดยมีหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯร่วมปฏิบัติงานตามโครงการและแผนงานที่ถูกกำหนดโดยฝ่ายอำนวยการ โดยเฉพาะการลงพื้นที่รับฟังปัญหา สนับสนุน หรือแนะนำการปรับเปลี่ยนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดหรือผลผลิตในแต่ละช่วงเวลา ดูแลปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่มอบ หรือแจกเกษตรกรต้องมีคุณภาพ เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่จำนวนมาก การสร้างความเข้าใจในนโยบายของกระทรวงจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมมือบูรณาการทำงานร่วมกันท่ามกลางความท้าท้าย 3 ด้าน คือ การปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข 2.การพัฒนากลไกตลาดให้เอื้อต่อการผลิตของเกษตรกร 3.การรับมือกับระบบการค้าเสรีของโลก และภัยคุกคาม 3 ประเภท คือ 1.การไม่ใส่ใจดูแลแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร 2.การแก้ไขปัญหาการเกษตรแบบไม่ยั่งยืน หวังเพียงผลคะแนนนิยม ทางการเมืองเท่านั้น 3.การทุจริตคอรัปชั่น และประพฤติมิชอบในวงราชการ

"ปัจจุบันผมได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรฯ ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดี และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ รวม 30 คน ลงมาเป็นผู้แนะนำ(coaching) การทำงานเป็นรายจังหวัดแล้ว จึงขอให้ข้าราชการกระทรวงเกษตรฯในจังหวัดต่างๆได้ติดต่อขอรับคำแนะนำได้ ขณะเดียวกันขอให้ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรฯ ที่รับผิดชอบจังหวัดตามข้อตกลงไว้แล้ว เข้าไปติดตาม รับฟังปัญหาต่างๆในจังหวัดที่ตนเองรับผิดชอบด้วย เพื่อค่อยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้จังหวัดเหล่านั้น หากเป็นปัญหาเชิงนโยบายหรือต้องการขอรับการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบายหรือรัฐบาล ก็ขอให้แจ้งมาที่ผมได้ทันทีและตลอดเวลา"นายกฤษฏา กล่าว

อย่างไรก็ตาม นอกจากการมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตร 12 จังหวัดภาคอีสานตอนบนแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือร่วมกับกยท.และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาในพื้นที่ เช่น การสนับสนุนเงินกู้ จาก ธกส.ที่รัฐบาลได้ปรับหลักเกณฑ์ใหม่หากเกษตรกรไม่มีที่ดินในการค้ำประกัน แต่ถ้ากิจการมีความมั่นคงก็เป็นหลักประกันได้ โดยได้มอบหมายอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเรียกประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด และคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ เพื่อสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป หรือประเด็นการเรียกร้องให้ตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราให้กับกลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร พื้นที่กลุ่มภาคอีสานตอนบนเพื่อให้ครบทั้งวงจรการผลิต โดยได้สั่งการ กยท.รวบรวมข้อมูลโรงงานแปรรูปยางพารา และศักยภาพการผลิตยางที่ กยท.ดูแล ให้กระทรวงเกษตรฯรับทราบด้วย เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการยางให้มีประสิทธิภาพให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น รวมถึงเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ กยท.ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากเกษตรกรชาวสวนยาง และประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด แม้ว่าแนวโน้มราคายางพาราจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น และที่สำคัญได้ถือโอกาสสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรชาวสวนยางว่ากระทรวงเกษตรฯไม่มีนโยบายให้เกษตรกรห้ามปลูกยาง แต่มีนโยบายที่จะส่งเสริมเกษตรกรทำการเกษตรชนิดอื่นที่ได้ผลตอบแทนเท่ากับยางหรือมากกว่า รวมถึงการไม่เน้นใช้นโยบายการซื้อยางมาเก็บไว้ในสต็อคเช่นที่ผ่านมา แต่หากจำเป็นจะทำให้น้อยที่สุด โดยหันไปเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้นตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

เกษตรฯ สัญจรกลุ่มอีสานตอนบน แจงนโยบายปฏิรูปเกษตร ขันน็อตกลไกทีมบุ๋น – บู๊ เร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ พร้อมตั้งรองปลัดฯ-อธิบดี-ผู้ตรวจกระทรวงฯ เป็นโค้ชรายจังหวัด ยันไม่มีนโยบายห้ามปลูกยางเพียงให้ทางเลือกเกษตรกรทำการเกษตรอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เกษตรฯ สัญจรกลุ่มอีสานตอนบน แจงนโยบายปฏิรูปเกษตร ขันน็อตกลไกทีมบุ๋น – บู๊ เร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ พร้อมตั้งรองปลัดฯ-อธิบดี-ผู้ตรวจกระทรวงฯ เป็นโค้ชรายจังหวัด ยันไม่มีนโยบายห้ามปลูกยางเพียงให้ทางเลือกเกษตรกรทำการเกษตรอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เกษตรฯ สัญจรกลุ่มอีสานตอนบน แจงนโยบายปฏิรูปเกษตร ขันน็อตกลไกทีมบุ๋น – บู๊ เร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ พร้อมตั้งรองปลัดฯ-อธิบดี-ผู้ตรวจกระทรวงฯ เป็นโค้ชรายจังหวัด ยันไม่มีนโยบายห้ามปลูกยางเพียงให้ทางเลือกเกษตรกรทำการเกษตรอื่นที่มีรายได้ดีกว่า