นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า กพร.จึงเตรียมให้มีศูนย์ฝึกอบรมในพื้นที่กว่า 10 จังหวัดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชนในพื้นที่ ที่มีความสนใจเข้าฝึกอบรม หรือมีความต้องการที่จะเข้าสู่สายอาชีพด้านคนครัวบนเรือ ได้แก่ สพร. 3 ชลบุรี สพร. 5 นครราชสีมา สพร. 6 ขอนแก่น สพร. 7 อุบลราชธานี สพร. 8 นครสวรรค์ สพร. 9 พิษณุโลก สพร. 11 สุราษฎร์ธานี สพร. 13 กรุงเทพมหานคร สพร. 18 อุดรธานี สพร. 19 เชียงใหม่ สพร. 214 ภูเก็ต สพร. 22 นครศรีธรรมราช สพร. 23 ปัตานี สพร. 24 ยะลา สนพ.ชุมพร สนพ.กระบี่ สนพ.พังงา และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ (เชียงแสน)
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า จังหวัดที่เริ่มดำเนินการแล้วคือ สพร. 13 กรุงเทพมหานคร และสพร. 3 ชลบุรี สำหรับภาคเหนือนั้น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ (เชียงแสน) มีกำหนดเปิดฝึกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2561 สพร.นครสวรรค์ มีกำหนดเปิดในเดือนเมษายนนี้ และสพร.19 เชียงใหม่ อยู่ในช่วงการประชาสัมพันธ์รับสมัคร ซึ่งหากมีจำนวนผู้สนใจครบ 20 คน ก็จะดำเนินการเปิดอบรมทันที จังหวัดในเขตภาคอีสาน อาทิ สพร.อุบลราชนี อยู่ระหว่างการปรับปรุงห้องฝึกอบรม และจะสามารถเปิดฝึกได้ในเดือนกรกฎาคม ส่วน สพร.6 ขอนแก่น อยู่ระหว่างการรับสมัคร และจะเปิดฝึกปลายมีนาคมนี้ ด้านของจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สพร.22 นครศรีธรรมราช กำหนดฝึกในเดือนพฤษภาคม สพร.11 สุราษฎร์ธานี กำหนดฝึกเดือนมิถุนายน และสพร.23 ปัตตานี นั้น ได้ประสานความร่วมมือกับกรมเจ้าท่าแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงปลายปีนี้ โดยกพร.ได้เตรียมสำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่หน่วยงานของ กพร.ทั้ง 20 จังหวัดหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 กด 4 หรือสอบถามที่ กองสื่อสารองค์กร 0 2245 4035
นายณัฐวีร์ ภัทรกาญจนโภคิน ผู้เข้าฝึกอบรมคนหนึ่งที่ทำงานบนเรือขนส่ง ช่วงที่มาอบรมเป็นช่วงพัก เล่าว่า การไปทำงานบนเรือนั้นไม่มีวันหยุด ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร ทำให้มีเงินดูแลครอบครัวได้อย่างเต็มที่ ส่วนนายสมบัติ เปิ่ม(บัติ) เล่าว่าแต่ละบริษัทจ่ายค่าตอบแทนไม่เท่ากัน แล้วแต่ลักษณะของเรือ ถ้าเรือขนส่งระหว่างประเทศที่ไปครั้งหนึ่งนาน 8-9 เดือน ค่าตอบแทนก็จะสูงหน่อย แต่สำหรับตนเองทำงานในเรือขนส่งในประเทศ จะอยู่ในเรือประมาณ 1 เดือน และพัก 2 สัปดาห์ สำหรับเรื่องของรายได้ก็พอรับได้ และคิดว่าดีกว่าการทำงานบนฝั่ง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit