สำหรับกองทุน SCBSE เป็นกองทุนคุณภาพ 5 ดาว ได้ที่รับการจัดอันดับโดย Morningstar Rating (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560) โดยถือเป็นกองทุนที่โดดเด่นสามารถสร้างผลการดำเนินงานงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดัชนี SET TRI โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 24.92% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 22% ซึ่งเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 14.86% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 16.42% (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.พ. 2561) กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนด้วยวิธี Active Approach โดยการคัดเลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดและสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้น โดยจะใส่น้ำหนักการลงทุนมากน้อยตามความน่าสนใจของหุ้นนั้น และกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 ตัว จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงในระดับสูงได้
ส่วนอีก 2 กองทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET ENERGY SECTOR INDEX (SCBENERGY) จ่ายปันผลในอัตรา 1.000 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 7 รวมจ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 2.9200 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 28 มิ.ย. 2554) มีนโยบายการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคของตลาดหุ้นไทยมากที่สุด โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 28.50% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 31.08% ซึ่งสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 25.86% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 26.52% (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.พ. 2561)
และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET BANKING SECTOR INDEX จ่ายปันผลในอัตรา 0.4000 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 7 รวมจ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 3.7500 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 28 มิ.ย.2554) มีนโยบายการลงทุนในหุ้นหมวดธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยจะใช้กลยุทธ์ที่สร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีหมวดธุรกิจธนาคารให้มากที่สุด ซึ่งมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 13.92% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 11.09% สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 13.22% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 8.66% (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.พ. 2561)
นายสมิทธ์ กล่าวถึงมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไทยว่าในปีนี้ยังคงมีความน่าสนใจซึ่งเกิดจากการที่เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยการที่ภาครัฐมีการลงทุนในปีนี้เพิ่มมากขึ้นผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเบิกจ่ายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การลงทุนภาคเอกชนตามมามากขึ้นจากการที่มีพ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อสนับสนุนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้คาดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังมีการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างชาติยังเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับแรกๆ ของการท่องเที่ยวต่างประเทศ อีกทั้งยังมีโอกาสที่นักวิเคราะห์จะปรับประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีนี้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงนั้นส่วนใหญ่จะมาจากต่างประเทศเป็นหลัก ได้แก่ ความเสี่ยงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ความเสี่ยงจากการที่ FED และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มทยอยลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเสี่ยงจากการที่เงินเฟ้อมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามในปีนี้มองว่าตลาดหุ้นยังคงเป็นหลักทรัพย์ที่น่าสนใจ โดยคาดว่าจะยังให้ผลตอบแทนในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนยังคงลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้อยู่