ภายใต้โปรแกรม Agrifuture Insights ผู้เข้าร่วมสัมมนา จะได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการผลิตสินค้าเกษตรที่น่าสนใจสำหรับภาคเกษตรกรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางกระทรวงเกษตรฯ มุ่งมั่นและให้ความสำคัญมากกับหัวข้อสัมมนา พร้อมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับเกษตรกรท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ที่มาของโปรแกรม Agrifuture Insights เกิดจากวิสัยทัศน์ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ซึ่งในขณะนั้น ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนำผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเกษตรจากกระทรวงเกษตรฯ และอัครทูตฝ่ายการเกษตร สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ – อัตรราชทูต ชุมเจตน์ กาญจนเกษร ศึกษาดูงาน AGRITECHNICA 2017 ณ ประเทศเยอรมนี และร่วมหารือกับองค์การเกษตรเยอรมัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและนวัตกรรมด้านเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาคเกษตรกรของไทยให้ก้าวขึ้นไปแข่งขันในระดับสากล มุ่งเน้นการกำหนดมาตรฐานใหม่ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านงานสัมมนาเชิงลึกสำหรับเกษตรกรยุค 4.0 โดยเฉพาะ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้กล่าวคำปราศรัย ภายในงานประชุม AgriMachinery International Conference ในงาน AGRITECHNICA 2017 ภายใต้หัวข้อ "เครื่องจักรกลการเกษตรสัญชาติยุโรปจะตอบโจทย์ต่อการเกษตรในภูมิภาคอาเซียนได้หรือไม่? ว่า "บริษัทชั้นนำจากทวีปฝั่งตะวันตกหลายแบรนด์ ได้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว โดยมีงาน AGRITECHNICA ASIA เป็นตลาดแห่งแรก แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและการลงทุนใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย"
"ความร่วมมือกันในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายการพัฒนาของประเทศไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 โดยกระทรวงฯ มุ่งเน้นการปรับโครงสร้าง เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนด้านการลงทุนในภาคเกษตรกรรมของไทย โดยมีแผนดำเนินงาน และส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกรผ่านศูนย์เรียนรู้ และโครงการริเริ่มต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการพึ่งพาแรงงานในภาคการเกษตร"
อนึ่ง Agrifuture Insights เป็นโปรแกรมนำร่องขององค์กรการเกษตรแห่งเยอรมนี ในการสำรวจความคิดเห็นจากเกษตรกรในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศไทย จะเป็นประเทศแรกที่ได้เข้าร่วมและเปิดตัวโปรแกรม
"ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับทางองค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน นี้ นับเป็นการผลักดันและส่งเสริมให้พันธกิจระหว่างประเทศเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม งานสัมมนาในครั้งนี้จะนำมาซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนการเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกรได้เข้าใจและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยประเทศไทย เป็นประเทศแรกของโลกสำหรับโปรแกรม Agrifuture Insights เพราะเรามีความมั่นใจในการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและเห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรม ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับเกษตรเกษตรอย่างยั่งยืน" เจน เครเมอร์ (Jens Kremer) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีแอลจี เซอร์วิส กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.พันธกิจหลักขององค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน (ดีแอลจี) คือ การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการเกษตรภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรมอาหารมีความปลอดภัยและเป็นการทำเกษตรอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคทั่วโลก พร้อมสนับสนุนการเจรจาระหว่างประเทศ ทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารกับเกษตรกร ตลอดจนส่งเสริมสังคมในภาคปฏิบัติผ่านเครือข่ายระหว่างประเทศที่กว้างขวางและเต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ที่ปรึกษาพิเศษ และผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐบาลและตัวแทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มุ่งเน้นสู่ความท้าทายในอนาคตที่ภาคอุตสาหกรรม
2. องค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน เป็นคู่ค้าด้านการดำเนินงานในโครงการข้ามชาติอีกหลายโครงการ อาทิ ฟาร์มสาธิต Ganhe ของเยอรมัน-จีน ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการด้านการเกษตรที่สำคัญที่สุดในประเทศจีน ซึ่งโครงการนี้ริเริ่มโดยสหพันธ์ด้านอาหารและการเกษตรของประเทศเยอรมัน
3. สำหรับปี พ.ศ. 2561 นี้จะเป็นอีกปีที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรของเอเชีย เพราะงานที่สำคัญอย่างงาน AGRITECHNICA ASIA 2018 จะกลับมาจัดงานระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติ ไบเทค กรุงเทพ ประเทศไทย ผู้ประกอบการชั้นนำที่มีความมุ่งมั่นในการผลักดันผลิตภัณฑ์ของบริษัทเข้าสู่เวทีในระดับภูมิภาคไม่ควรพลาดย่างยิ่ง www.agritechnica-asia.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit