บล.ไทยพาณิชย์ มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ปี 2561 คึกคัก เดินหน้าเต็มสูบ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ มั่นใจ SET index ปลายปีแตะ 1900 จุด

11 Jan 2018
บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ปี 2561 เดินหน้าเต็มสูบผลจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน วัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ที่กำลังเริ่มต้น รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงการที่เกี่ยวเนื่องจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และภาวะเงินฝืดที่กำลังหมดไป มั่นใจตลาดหุ้นไทยปลายปี 2561 ผ่าน 1900 จุด ชูหุ้นที่ได้รับอานิสงส์ ได้แก่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มขนส่ง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
บล.ไทยพาณิชย์ มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ปี 2561 คึกคัก เดินหน้าเต็มสูบ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ มั่นใจ SET index ปลายปีแตะ 1900 จุด

นายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า ในไตรมาส 1 ปี 2561 คาดว่าจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยนโยบายดังกล่าวจะรวมถึงโครงการรับจำนำยุ้งฉาง และการแจกสวัสดิการรอบที่ 2 สำหรับผู้ถือบัตรคนจน นอกจากนี้ การประกาศใช้ พ.ร.บ. พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในช่วงเดียวกันนี้จะช่วยกระตุ้นความต้องการลงทุนใหม่ของภาคเอกชน ทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ต่างประเทศนั้นกฎหมายปฏิรูป (ลด) ภาษีในสหรัฐฯ จะเป็นการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจซึ่งเศรษฐกิจที่ดีและการกู้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นด้วย

ปัจจัยที่นักลงทุนอาจจะไม่ค่อยกล่าวถึงมากนักสำหรับปี 2561 คือ ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และนัยสำคัญต่อผลตอบแทนพันธบัตรโดยรวม เมื่ออิงกับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกล่าสุดโดย IMF พบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการค่อยๆ ปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยระยะยาวในหลายๆ ตลาดสำคัญ ยกเว้นญี่ปุ่นซึ่งยังใช้นโยบายควบคุมผลตอบแทนพันธบัตร ดังนั้น จึงแนะนำให้นักลงทุนจับตาดูความเป็นไปได้ที่จะเห็นอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในปี 2561 โดยปัจจัยระยะสั้นที่มากระตุ้น คือ การผ่านแผนปฏิรูปภาษีในสหรัฐฯ แผนดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 0.5-0.8% ต่อปี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อรวมถึงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ภายใต้กรณีนี้ สินทรัพย์เสี่ยงมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้

"SCBS มองว่า จากปัจจัยสนับสนุนเกือบทุกด้านเปรียบได้กับเครื่องยนต์ที่ส่งกำลังขับเคลื่อนแบบ "เต็มสูบ" การใช้นโยบายการคลังกระตุ้นทั้งการบริโภคและการลงทุนในปีนี้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เพราะนอกจากจะมีกฎหมายใหม่ พ.ร.บ. พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนแล้ว ยังจะมีแรงส่งจากเศรษฐกิจโลกและไทยที่แข็งแกร่ง การใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ภาวะเงินฝืดหมดไปราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวขึ้น จะส่งผลดีต่อการลงทุน เมื่อรวมกับผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นและสภาพคล่องที่ยังล้นเหลือ จะสนับสนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้า SET index ปลายปี 2561 ที่ 1900 จุด"

หุ้น Top Picks ประจำไตรมาส 1 ปี 2561 ที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะประกาศใช้และวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ของประเทศไทย ประกอบด้วยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มขนส่งที่ค่อยๆ ฟื้นตัวและสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

  • บมจ. กรุงเทพ (BBL) : มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่และการส่งออกที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง อัตราการเติบโตของสินเชื่อน่าจะเร่งขึ้นอีกเท่าตัว ส่วน credit cost น่าจะลดลงในปีหน้า
  • บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) : ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าอย่างมาก, ซื้อขายที่มูลค่า EV (ต่ำเกินไปเหมือนกับจะเลิกกิจการ) ผลตอบแทนพันธบัตรที่จะปรับตัวขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้ราคาหุ้น BLA ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
  • บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) : ราคาหุ้นไม่ได้สะท้อนการเติบโตของระยะทางเดินรถและ EBITDA ที่จะเพิ่มขึ้น 4 เท่าภายในปี 2565
  • บมจ.กรุงไทย (KTB) : เป็นหุ้น laggard ในกลุ่มธนาคาร มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการลงทุนภาครัฐ
  • บมจ. แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) : กำไรจะทำจุดต่ำสุดในปี 2560 และฟื้นตัวด้วยอัตราเติบโต 43% ในปี 2561 และ 18% ในปี 2562 เนื่องจากบริษัทหันมารุกตลาดระดับกลางมากขึ้น
  • บมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) : กำไรจะเติบโตที่ CAGR 11% ในระยะ 3 ปีข้างหน้า และหุ้นซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนถึง 19%
  • HTML::image(