นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองใหญ่ และประชาชนในพื้นที่มีความหลากหลายซับซ้อน ดังนั้นการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ กทม.ให้มีประสิทธิภาพ ต้องให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องของข้อมูลและการดำเนินงานด้านต่างๆ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคม นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังได้ตั้งเป้าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ไว้ว่า ภายในปี 2575 คนกรุงเทพฯ จะปลอดโรคยอดฮิตของคนเมือง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ปัญหาสุขภาพจิต ทั้งการฆ่าตัวตาย ความเครียด โรคซึมเศร้า มีอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค และมีความปลอดภัยทางถนน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มีฐานการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นต้นแบบให้กับมหานครแห่งอื่นๆ ทั่วโลกทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว มีการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น จากงานวิจัย "การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร" ของ สวรส. โดยคณะนักวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นข้อมูลสำคัญประกอบการระดมความคิดเห็น ในการออกแบบระบบสุขภาพที่เหมาะสมกับคน กทม.
รศ.ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และนักวิจัย สวรส. กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ในช่วงแรกของการวิจัย พบความซับซ้อนของโครงสร้างประชากร และความหลากหลายของข้อมูลต่างๆ ค่อนข้างสูง ซึ่งได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ความต้องการและความพึงพอใจในระบบบริการสุขภาพ รูปแบบการให้บริการ การบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ระบบข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ ในพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว บางกอกน้อย จอมทอง และดอนเมือง
ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากการสำรวจในพื้นที่ และจากการทำงานของภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้การสังเคราะห์ข้อเสนอฯ นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และตอบสนองความต้องการของคนกรุงเทพฯ ตลอดจนนำไปสู่การส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรต่างๆ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยมีการตัดสินใจ ภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป
ด้าน นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า การพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพฯ จำเป็นต้องมีการวางแผนโดยมีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการด้านสุขภาพ เป็นใครบ้าง ซึ่งพื้นที่กรุงเทพฯ มีความซับซ้อนของประชากรค่อนข้างสูง ทั้งจากปัจจัยสถานที่ทำงาน สถานที่ศึกษา ประชากรต่างด้าว ฯลฯ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมทางด้านสุขภาพตามวิถีชีวิต เช่น การดื่มสุรา การขับรถ การใช้สถานที่ในการออกกำลังกาย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรับบริการสุขภาพในสถานบริการต่างๆ ข้อจำกัดของโครงสร้างการให้บริการภาครัฐ ส่งผลถึงความไม่ครอบคลุมของการให้บริการ กำลังคนด้านสุขภาพ การกำกับดูแลด้วยกลไกต่างๆ และเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นในเวทีดังกล่าว จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit