นานมี ร่วมกับ มูลนิธิอารี สุทธิพันธ์ ช่วยครูศิลปะสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ

24 Jan 2018
กลุ่มบริษัท นานมี ร่วมกับ มูลนิธิอารี สุทธิพันธุ์ โดยศาสตราจารย์พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ แก่คณะครูในสังกัด กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านศิลปะอย่างอิสระ ภายใต้แนวคิดการลากและระบาย โดยทำศิลปะให้เป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน เพื่อนำไปสร้างสรรค์และต่อยอดพัฒนาการเรียนการสอนศิลปะให้กับนักเรียน ณ นานมี อาร์ต แกลอรี่
นานมี ร่วมกับ มูลนิธิอารี สุทธิพันธ์ ช่วยครูศิลปะสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ

ศาสตราจารย์พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า ครูด้านศิลปะนั้นนับว่ามีบทบาทสำคัญในการขัดเกลาและปลูกฝังความรู้และจิตใจรักในงานศิลปะแก่เยาวชน ดังนั้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับครูบาอาจารย์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยงานศิลปะเป็นเรื่องของความรู้สึกเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกันตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ในวันนี้เป็นเทคนิคแบบใหม่ที่เรียกว่า "นวการลากและระบาย" ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการลากและระบายผ่านการปาด ลาก เกลี่ย ขูด และสีทับซ้อน โดยไม่ใช้พู่กัน จึงเป็นการทำศิลปะด้วยประสบการณ์ตรง โดยลงมือทำจริงเพื่อนำไปสอนต่อได้

ด้าน นางปรีญาณี สุพุทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทนานมี กล่าวว่า นานมีพร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปะทุกแขนง เพื่อสร้างบุคลากรด้านศิลปะในทุกรูปแบบ ทั้งการจัดเวิร์คชอปสำหรับศิลปิน หรือคณาจารย์ด้านศิลปะ รวมทั้งศิลปะเด็ก ซึ่งมีการจัดการประกวดและเป็นเวทีให้เยาวชนไทยแสดงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ด้านงานศิลป์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มนานมีเป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับภาครัฐในการพัฒนาและกระตุ้นให้วงการศิลปะในบ้านเราเกิดการตื่นตัว และขับเคลื่อนไปสู่ระดับนานาชาติ

นางรัตติกาญจน์ พรมทอง คุณครูจากโรงเรียนวัดบางประทุนนอก สำนักงานเขตจอมทอง กล่าวว่า ศิลปะในเมืองไทยมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา มีศิลปินใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน การประกอบอาชีพด้านศิลปะไม่ได้ไส้แห้งแบบในอดีต แต่สามารถสร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับตนเองได้ เมืองไทยมีแกลลอรี่มากขึ้น คนไทยและเด็กไทยหันมาสนใจงานศิลปะมากขึ้น ซึ่งในฐานะครูศิลปะซึ่งสอนวิชาศิลปะมา 18 ปี รู้สึกดีใจและอยากเห็นวงการศิลปะพัฒนาไปเรื่อยๆ เด็กไทยสมัยนี้บริโภคสื่อและมีความคิดกว้างไกล รู้จักสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แปลกใหม่และไม่ยึดติดกับกรอบเดิมๆ เราเป็นครูจึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และในวันนี้ได้มาเรียนรู้เทคนิคการทำงานศิลปะโดยไม่ใช้พู่กัน ซึ่งมีกระบวนการทำที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป ขณะเดียวกันชิ้นงานออกมามีความน่าสนใจและสวยงามแปลกตา เป็นประสบการณ์ใหม่ๆที่คิดว่าจะนำไปสอนต่อในห้องเรียน และคิดว่าเด็กๆคงจะชอบและทำได้อย่างสนุกสนาน

ศิลปะก็เหมือนศาสตร์แขนงอื่นที่ผู้ใช้จำเป็นต้องแสวงหาความรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ เสริมประสบการณ์ใหม่ๆ สร้างสุนทรียะและจินตนาการเพื่อรังสรรค์ชิ้นงานที่มีคุณค่าต่อไป

HTML::image( HTML::image( HTML::image(