สำนักงานพลังงานจังหวัดปราจีนบุรี กระทรวงพลังงาน เดินหน้าโครงการเพิ่มสมรรถนะด้านบริหารจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบล โดยนำเตาเศรษฐกิจประยุกต์ มาใช้ในการผลิต กระยาสารท ช่วยชุมชนลดรายจ่ายด้านพลังงานกว่า 50% สร้างรายได้ที่ยั่งยืน สินค้าถูกหลักอนามัย และเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าได้มากยิ่งขึ้น
นายธนาศักดิ์ สระทอง พลังงานจังหวัดปราจีนบุรี กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานพลังงานจังหวัดปราจีนบุรี กระทรวงพลังงาน ได้ส่งเสริมเตาเศรษฐกิจประยุกต์ (แบบร่วมใจ) หรือเตาชีวมวล ภายใต้โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนตำบล และวิสาหกิจชุมชนปีงบประมาณ 2560 จังหวัดปราจีนบุรี โดยเตาเศรษฐกิจประยุกต์ ดังกล่าวได้ช่วยให้ชุมชนสามารถผลิตสินค้ากระยาสารท ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น และช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ต่อเนื่อง ลดรายจ่ายด้านพลังงานลง และสร้างรายได้ที่มั่นคง
ทั้งนี้ กลุ่มกระยาสารทสุวรรณา ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ถือเป็นกลุ่มผลิตกระยาสารทขนมไทย ที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ ได้รับเลือกให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาว ของจังหวัดปราจีนบุรี และได้มาตรฐาน Primary GMP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านอาหาร โดยกลุ่มกระยาสารทสุวรรณา ได้นำเตาเศรษฐกิจประยุกต์(แบบร่วมใจ) หรือเตาชีวมวลดังกล่าว ในขั้นตอนการผลิตการคั่วข้าวเม่า และงา ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ กระยาสารท ซึ่งการใช้เตาเศรษฐกิจประยุกต์ นี้ ได้ช่วยให้ลดการใช้พลังงานลงได้สูงถึง 50% ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่า 7,300 บาท/ปี
ด้านประโยชน์โดยรวมของเตาเศรษฐกิจประยุกต์นี้ จะช่วยให้ประหยัดเงินที่จะซื้อเชื้อเพลิงหุงต้ม โดยสามารถนำวัสดุที่ทิ้งเปล่าประโยชน์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี เช่น เศษหญ้า ฟางข้าว ใบไม้ แกลบ ขี้เลื่อย ต้นปอ ต้นอ้อย ซังข้าวโพด ต้นมันสำปะหลัง ฯลฯ ประหยัดเวลาและแรงงานในการประกอบอาหารอย่างน้อยวันละ 1- 2 ชั่วโมงบริเวณที่ใช้ประกอบอาหารและภาชนะสะอาดเพราะปล่องจะดูดเอา เขม่าต่างๆ ออกทางปล่องซึ่งอยู่พ้นจากหลังคาบ้าน ทำให้ปราศจากเขม่าที่เกิดจากการหุงต้ม ให้ความร้อนสูงกว่าเตาถ่านไม้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเตาถ่านไม้เป็นเตาโปร่งทำให้ความร้อน สูญเสียไปกับอากาศ วิธีการจุดไฟสะดวก ทำได้โดยใช้เศษไม้สับเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเศษกระดาษ ก่อเป็นเชื้อ แล้วเอาวัสดุเชื้อเพลิงวางทับเพื่อให้ไฟลุก เตาจะดูดลมเองผ่านช่องหน้าเตา โดยไม่ต้องใช้พัดหน้าเตาเหมือนเตาถ่าน
"เตาเศรษฐกิจประยุกต์ ถือเป็นเตาหุงต้มประเภทหนึ่งที่ประยุกต์มาจากเตาอั้งโล่และเตาฟืนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในชนบท สามารถใช้ได้ทั้งฟืนและถ่าน จุดเด่นของเตาชนิดนี้อยู่ตรงที่สามารถนำเศษวัสดุ เหลือใช้จากภาคเกษตรที่มีอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น แกลบ ซังข้าวโพดชานอ้อย กะลามะพร้าว ลำต้นมัน สำปะหลังรวมถึงเศษใบไม้ กิ่งไม้ ที่ได้ จากการตัดแต่งกิ่ง ต้นไม้มาใช้ได้ จุดหลักของเตาอยู่ที่การมีปล่องไฟ ทำหน้าที่ช่วยดูดเขม่าควันออกไป ทำให้การเผา ไหม้ระหว่างเชื้อเพลิงผสมกับอากาศได้อย่างต่อเนื่อง" นายธนาศักดิ์ กล่าว
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit